ดูแลสุขภาพช่องปาก, วิธีดูแลช่องปาก, สุขภาพช่องปาก, ช่องปาก, ฟัน, สุขภาพฟัน

วิธีดูแลช่องปาก เพิ่มปากสะอาด ลดปากเหม็น ห่างไกลโรค

วิธีดูแลช่องปาก

มาเรียนรู้ วิธีดูแลช่องปาก กันเถอะ เพราะกลิ่นปากมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือโรคต่างๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบ และหลายต่อหลายครั้งที่กลิ่น ปาก อันไม่พึงประสงค์ มักจะปรากฏออกมาบั่นทอนความมั่นใจของเรา ดังนั้น…ต้องรีบหาสาเหตุและกำจัดมันออกไปโดยเร็วค่ะ

สาเหตุทำปากเหม็น

ทันตแพทย์หญิงโฉมไฉไล เอกจิตต์ หัวหน้างานทันตกรรม ศิริราชพยาบาล เล่าให้ฟังดังนี้

  • อาหาร ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดกลิ่นปากก็คืออาหาร
  • ยาบางตัว เครื่องดื่มบางชนิด โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการ
  • สูบบุหรี่
  • โรคฟันผุ คนที่เป็นโรคฟันผุอาจมีกลิ่นปากได้ง่าย เนื่องจากฟันที่ผุเป็นรู (cavity) จะกลายเป็นที่
  • หมักหมมของเศษอาหาร และเมื่อทับถมกันนานเข้าก็ย่อมจะเกิดการบูดเน่าและส่งกลิ่นเหม็นออกมาได้
  • โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์อักเสบ คนที่มีอาการเหงือกอักเสบมากๆจะมีโอกาสเกิดกลิ่นปากสูง
  • ความผิดปกติของต่อมน้ำลายหลัก (Major Salivary Glands) กลิ่นปากสัมพันธ์กับปริมาณของ
  • น้ำลายที่ผลิตออกมาเหมือนกัน บางคนมีปริมาณน้ำลายน้อยก็มีโอกาสเกิดอาการปากแห้งได้ เมื่อ
  • ปากแห้ง ความชุ่มชื่นในช่องปากไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้มีกลิ่นปากได้
  • ไซนัสอักเสบ คนที่มีอาการไซนัสอักเสบมักจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นปากและลมหายใจเหม็นอยู่เสมอ
  • ทอนซิลอักเสบ คนที่เป็นโรคทอนซิลอักเสบเรื้อรังนานๆอาจจะมีปัญหากลิ่นปากได้ จึงควรรีบหาทางรักษาให้หายขาดโดยเร็วที่สุด
  • โรคเกี่ยวกับปอด คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับปอด เช่น วัณโรคปอด หรือมะเร็งปอด มีโอกาสเกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน นอกจากนี้คนที่สูบบุหรี่จัดจะมีโอกาสเกิดกลิ่นปากจากทางเดินหายใจสูงกว่าคนปกติ
  • ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ กระเพาะอาหารเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ซึ่งผู้ที่มีระบบ
  • ย่อยอาหารไม่ปกติ ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว มักมีปัญหากลิ่นปากได้ง่าย
  • ระบบขับถ่ายไม่ปกติ สำหรับคนที่ท้องผูกบ่อยๆ โอกาสเกิดก๊าซไม่พึงประสงค์ย่อมมีสูงนอกจากก๊าซดังกล่าวจะออกมาในรูปของการผายลมแล้ว ยังมีโอกาสเกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน

ฉะนั้น การจะรักษากลิ่นปาก จำเป็นต้องรักษาโรในช่องปากไปด้วย

ระวังโรคของช่องปาก

  • ปริทันต์ (รำมะนาด) คืออาการที่เหงือกเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและมีเลือดออกบ่อยๆ รู้สึกเจ็บหรือเสียวที่คอฟัน เป็นตุ่มหนองที่เหงือก ทำให้ฟันไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้และเกิดอาการโยกไปมา
  • หรือเคลื่อนห่างออกจากกัน ซึ่งสร้างความรำคาญและเจ็บปวดแก่ผู้ที่มีอาการเป็นอย่างมาก แถมยังก่อให้เกิดกลิ่นปากเหม็นอย่างรุนแรง
  • ร้อนใน คือ อาการแผลเปื่อยในช่องปาก ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีอันตราย แต่เมื่อเป็นแล้วจะสร้างความรำคาญ เพราะมักเป็นๆหายๆ พบมากในวัยรุ่น และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ใกล้มีประจำเดือนและช่วงที่ภูมิชีวิตอ่อนแอ
  • สาเหตุ เกิดจากภูมิต้านทานในร่างกายต่ำส่งผลให้เยื่อบุผิวหนังในช่องปากเป็นแผล โรคนี้มักเกิดขณะที่มีความเครียด นอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอนอกจากนี้ยังเกิดจากการที่อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นไข้เรื้อรัง หรือช่วงที่มีประจำเดือน เป็นต้น
  • ผู้ที่มีอาการร้อนในจะรู้สึกเจ็บแผลในช่องปากโดยแผลร้อนในจะมีลักษณะตื้น ขอบแผลมีสีแดง และกลางแผลจะเป็นสีขาวปนเหลือง ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ ริมฝีปาก กระพุ้งแก้ม ลิ้น ซึ่งอาจ
  • ขึ้นแผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ ส่วนมากแผลจะหายเองภายในไม่กี่วัน
  • มะเร็งช่องปาก ได้แก่ มะเร็งที่กระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดาน มักพบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการเริ่มต้นของโรคนี้คือ จะมีแผลในช่องปาก รักษาไม่หายเป็นเวลานานเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป แต่ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด มีฝ้าขาวในช่องปากร่วมกับตุ่มนูนบนเยื่อบุช่องปากและลิ้นซึ่งโตขึ้นอย่างรวดเร็ว กดไม่เจ็บ บวมโตขึ้นเรื่อยๆจนแตกออกเป็นแผล
  • สาเหตุ มะเร็งช่องปากเกิดจากการอักเสบเรื้อรังร่วมกับการระคายเคืองที่เกิดขึ้นซ้ำๆเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากฟันแหลมคม ฟันผุ เหงือกเป็นหนอง จนมีการอักเสบเรื้อรัง นอกจากนี้การกินหมากพลู อมยาฉุน สูบบุหรี่ และดื่มเหล้า ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งช่องปากได้
วิธีดูแลช่องปาก, ช่องปาก, สุขภาพฟัน, ฟัน, ดูแลช่องปาก, ปากเหม็น
สุขภาพช่องปากที่ไม่ดี จะทำให้เกิดกลิ่นปาก ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจ

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

ช่องปาก, วิธีดูแลช่องปาก, ฟัน, ดูแลฟัน, ปาก
ช่องปากสะอาด สุขภาพฟันดี สามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจ

วิธีดูแลช่องปาก

อาการดังกล่าวข้างต้นสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. แปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ3 – 5 นาที หรือบ้วนปากหลังกินอาหารทันที
  2. ล้างฟันปลอมชนิดถอดได้หลังอาหารทุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณตะขอ และควรถอดออกเวลากลางคืน
  3. กินอาหารเนื้อหยาบบ้าง เพื่อช่วยในการทำความสะอาดฟัน ได้แก่ผักผลไม้ต่างๆ เช่น ก้านผัก ฝรั่ง มันแกว
  4. ควรใช้ฟันทุกซี่เคี้ยวอาหาร ไม่ควรถนัดเคี้ยวข้างเดียว เพื่อบริหารให้เหงือกและฟันแข็งแรง
  5. งดสิ่งเสพติดจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ ยาฉุน และหมากพลู
  6. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับผู้ที่มีอาการร้อนใน หากแผลไม่หายภายในสามสัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์
  7. ควรไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

ผลิตภัณฑ์ช่วยดูแลช่องปาก    

นอกจากการดูแลตัวเองด้วยวิธีต่างๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาแล้วนั้น การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับแต่ละคนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีสุขภาพช่องปากที่ดีได้

  • แปรงสีฟัน ต้องเลือกขนาดที่พอเหมาะ มีส่วนโค้งงอที่สามารถเข้าไปทำความสะอาดถึงฟันกรามซี่ในสุดด้านบนได้ นอกจากตัวแปรงแล้วขนแปรงŽก็เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งขนแปรงที่ดีต้องไม่นุ่มเกินไป เพราะจะแปรงแผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่ออก หรือไม่แข็งเกินไป เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อเหงือกและทำให้คอฟันสึกได้
  • ที่สำคัญคือ แปรงสีฟันต้องไม่เก่าเกินไป เพราะปลายจะแหลมขึ้นและบานออก ทำอันตรายต่อเหงือกได้เช่นกัน หากเลือกแปรงสีฟันที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้คุณเป็นโรคเหงือกร่น เหงือกอักเสบ และทำให้คอฟันของฟันกรามสึกได้
  • ยาสีฟัน ตามทฤษฎีแล้ว ยาสีฟันไม่ใช่ปัจจัยสำคัญเท่าการแปรงฟันที่ถูกวิธี มีงานวิจัยระบุว่า
  • กลุ่มคนที่แปรงฟันโดยไม่ใช้ยาสีฟันเลย กับกลุ่มที่แปรงฟันด้วยยาสีฟันชนิดต่างๆ ไม่มีผลแตกต่างกันในการกำจัดคราบจุลินทรีย์แต่อย่างใด
  • อย่างไรก็ตาม แม้ยาสีฟันจะไม่มีความสำคัญเท่าวิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง แต่ยาสีฟันก็มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ที่ช่วยลดการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ และช่วยทำให้ลมปากหอมสดชื่น เสริมสร้างความมั่นใจในการสนทนากับคนอื่นได้ค่ะ
  • น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ มีงานวิจัยพบว่า ฟลูออไรด์ช่วยให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรงและ
  • ต่อต้านการเกิดคราบแบคทีเรียได้ โดยเฉพาะซี่ฟันแท้ที่เพิ่งพ้นเหงือกขึ้นมา แต่การใช้น้ำยาบ้วนปากต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะน้ำยาบ้วนปากชนิดที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งข้างขวดมักจะเขียนคำว่า Antiseptics น้ำยาชนิดนี้ควรจะใช้เฉพาะเวลาที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ และมีแผลในช่องปากหรือลำคอเท่านั้น
  • โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายแสงมา เนื่องจากคนเหล่านี้จะมีอาการคอแห้ง การหลั่งของน้ำลายจะน้อยกว่าคนอื่นและอัตราการเกิดโรคฟันผุก็จะมีมากกว่าคนปกติดังนั้นการใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมสารฟลูออไรด์จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้ฟันมากขึ้น
  • สำหรับคนปกติที่ใช้น้ำยาชนิดนี้บ้วนปากเป็นเวลานานๆ จะทำให้น้ำยาเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียในปากทั้งหมด เพราะในช่องปากมีเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ทำให้เกิดโรค หรือที่เรียกว่า Normal  Flora อยู่มากกว่า 20 ชนิด เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อาศัยอยู่ในปากเพื่อทำให้เกิดสมดุลต่อเชื้อรา (นิเวศของช่องปาก) ซึ่งต่างก็ควบคุมการแพร่ขยายของกันและกัน
  • ไหมขัดฟัน แม้ว่าคุณจะเลือกแปรงสีฟัน ยาสีฟันที่มีคุณภาพดี และมีวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง
  • เพียงใด แต่ซอกฟันก็ยังเป็นบริเวณที่ขนแปรงเข้าไปไม่ถึง จึงจำเป็นต้องอาศัยไหมขัดฟันช่วยด้วย ดังนั้นหากคุณต้องการให้ฟันสะอาด ช่องปากปราศจากเชื้อโรคอย่างแท้จริง ควรใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง
  • ไม้จิ้มฟัน ไม้จิ้มฟันจะช่วยได้ในกรณีที่ไม่มีไหมขัดฟัน ควรใช้วิธีเขี่ยเศษอาหารออก ไม่ควรจิ้ม
  • แบบแทงทะลุ เพราะจะทำให้ยอดเหงือกร่นลง ส่งผลให้เหงือกเป็นร่อง และเศษอาหารก็จะเข้าไปสะสมอีก

 

อ้างอิง คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.