ยาอายุวัฒนะ

ยาอายุวัฒนะ คืออะไร ? ทำไมขาดไม่ได้ !

ยาอายุวัฒนะ คืออะไร ? ทำไมขาดไม่ได้ !

ยาอายุวัฒนะ ขาดไม่ได้ แล้วอะไร คือยาอายุวัฒนะ ที่จริงแล้วทุกสิ่งคืออยู่รอบตัวตัวเรา เพียงแต่เราไม่รู้คุณค่า คุณประโยชน์ เดี๋ยวเรามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะ

  1. แอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์
    อุดมไปด้วยโพแทสเซียมที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายได้จากภายใน ด้วยการสร้างจุลินทรีย์ที่ดีต่อ
    ร่างกาย แถมยังช่วยสร้างสมดุล กรด – ด่าง ให้ร่างกาย นอกจากนี้ ยังมีแอนตี้เซปติกช่วย
    ล้างพิษในระบบขับถ่าย แถมยังช่วยหยุดยั้งการเกาะตัวของแคลเซียม ตามข้อต่อและหลอดเลือด โดยไม่มีผลต่อแคลเซียมที่อยู่ในกระดูกและฟัน เพคตินในแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของลำไส้ นอกจากนี้ โพแทสเซียม ยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ (จึงดีต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง) เติมน้ำให้เซลล์ และช่วยสร้างสมดุลโซเดียมในร่างกาย
  2. เกลือทะเล
    อุดมไปด้วยเกลือแร่ ที่มีคุณค่าทางยาช่วยระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบย่อยอาหารให้ทำงานเป็นปกติ ความจริงทางการแพทย์แผนปัจจุบันในยุคเดิม แนะนำให้ผู้คน
    หลีกเลี่ยงการกินเกลือ เนื่องจากเกลือจะเข้าไปทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นเช่นนั้น
    ในเบื้องต้น แต่ในงานวิจัยใหม่ ๆ เมื่อศึกษาลึกลงไปกลับพบว่า เกลือคุณภาพ เช่น เกลือทะเลไม่ได้เพิ่มระดับความดันโลหิต เนื่องจาก เกลือทะเลมีค่าความเป็นด่าง ซึ่งช่วยสร้าง
    สมดุลกรด – ด่างในร่างกายเมื่อบริโภคอาหารที่เป็นกรดเช่น เนื้อสัตว์ เข้าไป
    คุณดอนน่าแนะนำมื้อเย็นง่าย ๆ เพื่อสุขภาพ ได้แก่ ธัญพืชอย่างคีนัว ผักใบเขียวเข้มอย่างเคล ผักทะเลอย่างสาหร่าย โรยด้วยเกลือทะเลและออริกาโนหรือพริกไทย กินคู่กับโพรไบโอติกชนิดน้ำ เช่น เอเนอร์จี้ไบโอติก รสชาติอาจแปลกใหม่ แต่คุณดอนน่าบอกว่า “อร่อยมากค่ะ เมื่อเรารู้ว่าทั้งหมดนี้มีสรรพคุณเป็นยา” โดยเฉพาะการเสริมเกลือทะเลเล็กน้อยในมื้ออาหารช่วยให้ร่างกายได้รับเกลือแร่เพิ่มขึ้นอีกมหาศาล

3. สมุนไพรรสเผ็ดร้อน
เนื่องจากอาหารเป็นยา และผลงานวิจัยใหม่ ๆ ก็ยืนยันว่า อาหารหลายอย่างที่มีส่วนผสมของสมุนไพร รสเผ็ดร้อนออกฤทธิ์เป็นยา ซึ่งช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เบาหวาน ภูมิแพ้ ข้ออักเสบ อัลไซเมอร์ได้ สมุนไพรรสเผ็ดร้อน เช่น ขิง กะเพรา กระเทียม โรสแมรี่ พริกไทย รวมทั้งมัสตาร์ด ออริกาโน เสจ ไทม์ และชินนามอน

4. ไฟเบอร์
ไฟเบอร์ เป็นสารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ตั้งแต่ปากไปจนถึงลำไส้ใหญ่เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพิ่มแบคทีเรียชนิดดี และช่วยนำพาอาหารไปสู่ระบบการย่อยอาหาร และกวาดพิษตลอดการเคลื่อนตัวของอาหารในระบบย่อย
นอกจากนี้ ไฟเบอร์ ยังช่วยให้ลำไส้ใหญ่รักษาน้ำได้นานพอ ไฟเบอร์มีทั้งประเภทที่ละลายในน้ำและไม่ละลายในน้ำ ประเภทละลายในน้ำช่วยชะลอการดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก และมีคุณสมบัติเหมือนอาหารที่มีกรดไขมันสายสั้น ซึ่งช่วยรักษาระดับพลังงานให้เซลล์ในลำไส้ ที่ทำหน้าที่ขับสารพิษตกค้าง
ส่วนประเภทไม่ละลายน้ำ มีบทบาทสำคัญในการช่วยย่อยอาหาร เช่น ช่วยการเคลื่อนตัวของเศษอาหารในลำไส้ มิเช่นนั้นลำไส้จะเล็กลง ทำให้การเคลื่อนตัวของอาหารเป็นไปได้ยาก ในระยะยาวก็จะเกิดการติดเชื้อและการอักเสบ
ไฟเบอร์ทั้งสองประเภทมีอยู่ในอาหารจำพวกผักผลไม้ ฉะนั้นหากคุณเป็นคนรักสุขภาพและกินอาหารสุขภาพอยู่แล้ว เชื่อว่าร่างกายจะไม่ขาดไฟเบอร์แน่นอน

5. เมล็ดเจีย
แม้จะเพิ่งฮิตเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แต่ในประวัติศาสตร์สุขภาพ ชาวอเมริกันพื้นเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ใช้ประโยชน์ทางยา และสารอาหารจากเมล็ดเจียมานานแล้ว
เนื่องจากอุดมไปด้วย โอเมก้า – 3 และ 6 รวมทั้งแอนติออกซิแดนต์ เมล็ดเจีย เป็นแหล่งไฟเบอร์ละลายน้ำที่ให้พลังงาน โดยจะค่อย ๆ ปล่อยกลูโคสเข้ากระแสเลือด เมล็ดเจียจึงเป็นซูเปอร์ฟู้ด ประเภทให้พลังงาน

6. เมล็ดแฟลกซ์และไซเลียม (psyllium)
คุณดอนน่า กล่าวว่า ไซเลียมหรือเทียนเกล็ดหอย ช่วยล้างพิษในลำไส้ใหญ่ ช่วยล้างพิษที่ติดค้างอยู่ที่ผนังลำไส้ออกมา หากคุณเลือกกินเทียนเกล็ดหอย ซึ่งมีทั้งแบบผงและแบบแคปซูล จำเป็นต้องดื่มน้ำตามมาก ๆ มิเช่นนั้นอาจเกิดอาการท้องผูกได้
อย่างไรก็ดี เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของเทียนเกล็ดหอย เราสามารถกินเมล็ดแฟลกซ์ ซึ่งเข้าไปล้างพิษในลำไส้ในลักษณะเดียวกัน แถมยังมีสรรพคุณการต้านไวรัส แบคทีเรีย และ
เชื้อราอีกด้วย ทั้งนี้การปรุงเมล็ดแฟลกซ์นั้น ควรหุงสุกเหมือนการหุงข้าว หรือข้าวต้ม

7. ไขมันดี
เราไม่สามารถงดไขมันได้ ฉะนั้นจงเลือกบริโภคเฉพาะไขมันดี ได้แก่ น้ำมันโอลีฟ น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันแมคาเดเมีย น้ำมันวอลนัท ทั้งนี้เพื่อเพิ่มรสชาติอาหารและยังได้ประโยชน์ในการชะลอวัย

เรื่อง สาทิส อินทรกำแหง ภาพ iStock เขียนลงเว็บ เนื้อทอง ทรงสละบุญ

ชีวจิต 454 – FREE 84 TIPS FOR NEW AGINGนิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 20 : 1 กันยายน 2560

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

2 ตำรับยาอายุวัฒนะ กับคำถามช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายได้จริงหรือ ?

รู้หรือไม่ “น้ำผึ้ง” ยาอายุวัฒนะจากธรรมชาติ ที่ช่วยชะลอวัย

กระถิน ผักสมุนไพรริมรั้ว ยาอายุวัฒนะชั้นดี กับประโยชน์และโทษที่คุณควรรู้! – A Cuisine

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.