ภูมิแพ้

ประสบการณ์สุขภาพ รำกระบองแบบชีวจิต พิชิต ภูมิแพ้ ราบคาบ

รำกระบองแบบชีวจิต พิชิต ภูมิแพ้ ราบคาบ

 

ภูมิแพ้ โรคฮิตของคนเมือง ประสบการณ์สุขภาพ เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของคุณธนิต นามเสถียร ผู้บริหารวัย 46 ปี (ในขณะนั้น) ของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในธุรกิจการเงิน เงินเดือนสูงและมีอนาคตสดใส

แน่นอนละ จะว่าเขาเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองคนหนึ่งของเมืองไทยก็ว่าได้

การใช้ชีวิตของเขาน่าจะขลุกอยู่กับการชิมไวน์ตามคลับที่ค่าเป็นสามชิกแสนแพงแต่งตัวหรู นั่งรถเก่งคันโก้ เล่นกอล์ฟกับนักการเมืองและเถ้าแก่ในวงการเงินทั้งหลาย

แต่เขากลับหันหลังให้วงการสังคมเหล่านั้น เช้ามืดวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุด เขาจะตื่นตีสี่ แบกตะบองพีวีซียาวห้าฟุตคึ่ง เดินท่อมๆ ไปตามสนามจตุจักร สนามสวนรถไฟ สนามพุทธมณฑลและสนามอื่นๆ สุดแต่จะมีคนเรียกร้องให้ไป

เขาจะชักชวนคนต่างรุ่นต่างวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงคุณตาคุณยายมาออกกำลังกายดัดตน และรำตะบองด้วยกัน เสร็จจากการออกกำลังกาย เขาจะรวมกลุ่มกันนั่งคุยและถกเถียงใต้เงาไม้ จนตกสายบ่ายคล้อยจึงจะแยกย้ายกลับบ้านช่องของตน

เขาทำอย่างนี้เป็นประจำมากกว่า 3 ปีแล้ว

ทำไมนักธุรกิจอย่างเขาจึงมาเลือกถือตะบองแทนถือไม้กอล์ฟ

“เราออกกำลังกายกันแบบชีวจิตครับ ตอนแรกผมก็เพียงแต่อยากทดลองดูเล่นๆ แต่เมื่อปฏิบัติชีวจิตกันอย่างจริงๆ จังๆ พักเดียว ผมก็รู้สึกว่าได้ประโยชน์ สุขภาพแข็งแรงขึ้น หายจากโรคภูมิแพ้ เพื่อนๆ หลายคนที่มาปฏิบัติเขาก็ดีขึ้นทั้งนั้น”

ทำไมคุณจึงได้มาสนใจชีวจิต

“แรกทีเดียวผมไม่รู้เรื่องชีวจิต แต่ตอนนั้นผมกำลังมีคำถามหนักหน่วงอย่างเหลือเกินเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของโรงพยาบาล”

โรคของคุณเอง?

“ไม่ใช่ครับ แต่เป็นการเจ็บป่วยของคุณแม่ผมเอง ก่อนจะเสียชีวิต คุณแม่ผมเป็นคนแข็งแรง” สีหน้าของเขาหม่นหมองลงเห็นได้ชัดเมื่อพูดถึงคุณแม่

“คุณแม่ผมอายุ 63 แต่ก็ดูยังสาวและสวย เวลาไปไหนด้วยกัน ใครๆ จะนึกว่าเป็นพี่สาวมากกว่าจะเป็นคุณแม่

“แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่ง คุณแม่ผมก็ล้มเจ็บลงโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ มีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร ผมพาส่งโรงพยาบาล (โรงพยาบาลชั้นนำ) ตรวจกันอย่างละเอียด ตอนแรกแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะ ทำการรักษาอยู่ประมาณ 1 เดือน อาการก็ไม่ดีขึ้น ตรวจไปตรวจมาในช่วงเดือนที่ 2 วินิจฉัยใหม่ว่าอาจจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดี แนะนำให้ผ่าตัด

“ผมถามหมอว่า แน่ใจหรือไม่ว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี และก็เรื่องที่วินิจฉัยตอนแรกว่าเป็นโรคกระเพาะนั้นว่าอย่างไร เป็นอะไรกันแน่

“เขาก็บอกว่าถ้าผ่าตัดดูแล้วก็จะทราบแน่ชัด ผมก็ถามว่า ถ้าอย่างนั้นจะรอผ่าตัดไว้ก่อน แต่ให้รักษาทางยาไปก่อนจะได้หรือไม่ หมอก็ตกลงรักษาทางยาให้

“ผมจึงตัดสินใจเปลี่ยนโรงพยาบาลพาไปโรงพยาบาลใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งตอนนั้นคุณมีอาการตัวเหลืองและท้องบวมแล้ว

คุณแม่

“คุณแม่รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลใหญ่แห่งนี้เดือนหนึ่ง ก็ยังไม่ทราบว่าคุณแม่เป็นอะไร ผมเห็นแต่ทางโรงพยาบาลให้อาหารทางสายยาง ผมจึงขอเข้าพบแพทย์ที่รักษาคุณแม่ผมอยู่”

“คุณแม่คุณคุณเป็นโรคตับและอาการหนักมาก” แพทย์ผู้นั้นบอกกับผม

“แล้วการให้อาหารสูตร…(ยี่ห้ออาหาร) และให้โปรตีนไข่ขาวมากๆ อย่างนี้ คุณแม่จะหายหรือครับ” ผมถาม

“คุณเป็นหมอหรือเปล่า” เขาถามผมเสียงเครียด

ผมงงงันกับคำถามเช่นนั้น แต่ยิ่งงงงันเหมือนถูกค้อนทุบหัวเมื่อได้ยินหมอบอกว่า “คุณแม่ของคุณอาการหนักเกินกว่าจะช่วยได้แล้ว จะอยู่ได้ไม่เกินหนึ่งอาทิตย์”

ผมไม่เชื่อหูตนเอง ไม่เชื่อหมอขณะที่เขาพูดกับผมด้วยสีหน้าที่เฉยเมยเหมือนกับเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาต้องเจอทุกวี่ทุกวัน

เป็นไปได้อย่างไรที่แม่ซึ่งยังแข็งแรงอยู่แท้ๆ แต่เมื่อเข้าโรงพยาบาลแห่งแรกเพียง 2 เดือน โรงพยาบาลที่สองเพียง 1 เดือน หมอก็กลับมาบอกว่าอีก 1 อาทิตย์แม่จะตาย

อ่านต่อหน้าที่ 2

 

ผมต้องดิ้นรนเพื่อหาทางช่วยชีวิตคุณแม่ให้ได้ หมออาจจะบอกผิด วินิจฉัยผิด ผมตัดสินใจเอาผลไปให้หมอที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งดู และแน่นอน เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทยเหมือนกัน

“หมอที่นั้นวินิจฉัยถูแกล้ว คุณแม่คุณเป็นโรคตับ และคงจะอยู่ได้ไม่เกิน 1 อาทิตย์” คุณหมอโรงพยาบาลสุดท้ายบอกแก่ผมแพทย์คนสุดท้ายบอกับผมอีกว่า ต้องรักษาตามอาการ คือ เจาะเอาน้ำออกจากท้อง ให้น้ำเกลือ ให้ยา ให้อาหารทางสายยาง และต้องให้โปรตีนสูงประกอบด้วยไข่ขาวทางสายยางอีกเหมือนกัน ให้ทานน้ำหวานมากๆ เมื่อเจาะเอาน้ำออกจากท้องแล้ว อีกไม่ช้าก็ต้องเจาอีกเพราะท้องจะบวมอีกคามเดิม และก็จะต้องเจาะไปอย่างนี้อยู่เรื่องๆ

ผมถามหมอว่า “มีทางเลือกอื่นที่จะรักษาชีวิตคุณแม่ผมไว้มั้ย”

หมอบอกว่าไม่มีทาง เมื่อตับไม่ทำงานอีกหน่อยไตก็จะล้ม หัวใจก็ไม่ทำงานแล้วก็ถึงที่สุด

“ถ้าอย่างนั้น ถ้าผมเอาคุณแม่กลับบ้านคุณหมอเห็นเป็นอย่างไร แล้วการรักษาแบบนี้ คุณแม่ผมทรมานมั้ย ผมว่าถ้าคุณแม่คุณอยู่ที่โรงพยาบาล คุณแม่ก็จะดูดี แต่ท่านจะทรมานมาก แต่ถ้าเอากลับบ้าน คุณแม่คุณจะดูไม่ดี แต่จะไม่ทรมาน”

ผมมองหน้าหมออย่างขอบคุณ เป็นหมอคนแรกที่ผมรู้สึกว่าให้คำแนะนำดี ดูดีโรงพยาบาลหมายความว่า มีหมอ มีพยาบาลดูแลให้เรียบร้อย แต่คุณแม่ทรมานหมายความว่า มีเข็ม มีสายยาง มีท่อออกซิเจนทั้งแทงทั้งเข่าหลอดคอ อย่างนั้นย่อมทรมานแน่ แต่ดูไม่ดีเมื่อนำกลับบ้าน คือเหมือนเราไม่ให้การรักษาใดๆ กับท่าน แต่กลับกัน ท่านจะไม่ทรมานโดยจะจากไปอย่างสงบท่ามกลางความอบอุ่นของลูกหลานที่อยู่เคียงข้าง

ผมตัดสินใจพาคุณแม่กลับบ้าน ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ยากและทรมานจิตใจอย่างที่สุด อีก 3 วันท่านก็จากไป แต่เป็นการตายที่สบาย คุณแม่ค่อยๆ หายใจอ่อนลงๆ แต่ก็หายใจเฮือกสุดท้ายไปอย่างสงบอย่าเป็นธรรมชาติ

“แม่จากผมไปด้วยความเศร้าเสียใจอย่างที่สุดของผม ไม่มีใครรู้หรอกว่าผมเสียใจเพียงไร นอกจากคนนั้นจะเสียแม่เหมือนที่ผมเสียไป

“ผมเสียงใจกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผมด้วย ผมไม่มีความรู้เรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยและที่ผมทั้งเสียใจและสูญความศรัทธาในการวินิจฉัยที่ผิดพลาดในช่วงแรกที่ท่านป่วยซึ่งเป้นหัวเลี้ยวหัวต่อ และหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ท่านอาจยังมีชีวิตอยู่ต่อก็ได้ ผมจึงเริ่มสงสัยว่าทำไมเราต้องฝากชีวิตและสุขภาพของเราไว้ที่แพทย์ด้วย

“ตอนที่คุณแม่ป่วย ผมยังไม่รู้จักชีวจิต จนกระทั่งคุณแม่ผมเสียไปแล้ว เพื่อนคนหนึ่งเอาหนังสือของอาจารย์สาทิสมาให้ผมอ่าน ผมเกิดความมั่นใจว่าวิถีชีวจิตและการรักษาดูแลสุขภาพของตัวเองแบบชีวจิตน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตผมได้ในอนาคต ผมได้เริ่มปฏิบัติตนเองตามที่หนังสือแนะนำ โดยเริ่มต้นจาก 40 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ก็รู้สึกได้ว่าตัวเองเริ่มดีขึ้น

“ผมป่วยเป็นโรคภูมิแพ้มาตั้งแต่เล็กๆ และโรคภูมิแพ้ของผมเลวลงๆ เรื่อยๆ จนกระทั่งบางครั้งผมนึกว่ากำลังจะตาย เมื่อเด็กๆ หมอให้ผมกินบาตั้งแต่ครึ่งเม็ด จนกระทั่งสูงถึงวันละ 10 เม็ด แต่ก็เอาโรคภูมิแพ้ของผมไม่อยู่ ทั้งจาม เป็นผื่นขึ้นตามตัว ตาแดงหน้าแดงจนบางครั้งหน้าตาเห่อ ผมเปลี่ยนหมออีกไม่ทราบว่ากี่หมอต่อกี่หมอ แต่ผมก็เป็นอย่างเดิม เป็นน้อยบ้างมากบ้าง บางครั้งก็จามทั้งวันเสียจนหมดแรง ไม่เป็นอันทำงาน

อ่านหนังสือ

“หลังจากอ่านหนังสือของอาจารย์สาทิสได้วิเคราะห์และพิจารณาตามทีละหน้าด้วยเหตุด้วยผลและเริ่มปฏิบัติตาม ผมก็บอกตัวเองว่า ‘ใช่เลย’ พอทราบว่ามีคนจัดคอร์สที่กาญจนบุรี และเชิญอาจารย์สาทิสมาบรรยาย ผมก็ไปเข้าคอร์สทันที ผมได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของอาหาร เรียนรู้ถึงการปฏิบัติตัวตามธรรมชาติ การใช้วิตามินและแร่ธาตุ รวมทั้งการออกกำลังกายและบริหารร่างกายด้วยวิธีง่ายๆ อย่างรำตะบองและดัดตน

อ่านต่อหน้าที่ 3

 

“ภายในเดือนแรกที่ผมเริ่มเคร่งครัดก็สามารถเปลี่ยนตัวเองได้ ไม่น่าเชื่อว่ากินยามาเป็นเวลาเกือบ 40 ปี อาการไมเคยดีขึ้น แต่มาปฏิบัติตัวแบบชีวจิตเพียงเดือนเดียว ผมสุขภาพดีขึ้นเกือบเป็นคนละคน ยังพูดไมได้เต็มปากว่าหายร้อยเปอร์เซ็นต์ ให้สัก 90 เปอร์เซ็นต์ เพราะชีวิตของนักธุรกิจสมัย IMF มันหนักหนาสาหัสเหลือประมาณ บางครั้งผมเครียดมาก อาการภูมิแพ้ก็จะกลับมาอีก แค่ก็เล็กน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยก่อนเพราะเราจะรู้สาเหตุและแนวทางแก้ไขด้วยตัวเองแล้ว ผมชอบรำตะบองมากทั้งที่เคยหัดคาราเต้และเทควันโดมาก่อน ทำเตะรำตะบองของชีวจิตนั้น เมื่อหัดทุกท่าจนคล่องแคล่วแล้ว ก็พบว่าเราสามารถบริหารทุกส่วนของร่างกายได้หมดและมีประโยชน์มากมาย รักษาและแก้โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อข้อต่อและระบบประสาทก็ยังได้ ผมจึงออกกำลังท่าต่างๆ นี้มาเรื่อยเป็นเวลาหลายปีแล้ว

“ผมเห็นอาจารย์สาทิสท่านต้องวิ่งไปทำโน่นทำนี่ให้กลุ่มชีวจิตตลอดเวลา บางเวลาท่านก็ยุ่งมากจนไปไหนไม่ได้ ท่านไม่เคยย่อท้อ ชีวิตของท่านทุ่มเทให้กับการช่วยเหลือผู้อื่นให้มีสุขภาพดีขึ้นโดยไม่เคยเรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งในสังคมไทยสมัยนี้หาได้ยากเหลือเกิน จากความศรัทธาที่ท่านรู้จริงในเรื่องสุขภาพและการมีน้ำใจช่วยเหลือผุ้อื่นของท่านประกอบกับสุขภาพของตัวเองดีขึ้นหลังจากใช้แนวทางชีวจิต จึงอยากมีส่วนช่วยท่านอาจารย์เผยแพร่แนวทางชีวจิตให้คนไทยรู้จักวิธีรักษาสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง ผมก็เลยอาสามาช่วยท่านในกลุ่มออกกำลังกายรำตะบอง ปรากฏว่าไปๆ ก็เกิดรักกลุ่มติดกลุ่มขึ้นมา”

ทำไมถึงติดกลุ่มเล่าครับ

“คุณเคยรู้สึกไหมว่า ในระบบชีวิตและสังคมที่รีบเร่งอย่างนี้ เราหาเพื่อนได้ยากเหลือเกิน ผมมาช่วยฝึกรำตะบองให้กลุ่มนอกจากจะได้ออกกำกลังกายด้วยตัวเองแล้ว ผมยังได้เพื่อนอีกมากมาย เพื่อนๆ แต่ละคนไม่รู้จักกันมาก่อนทั้งนั้น แต่เมื่อได้มารู้จักกันแล้ว เราก็รักกัน ช่วยเหลือกัน

รำกระบอง

“คุณเห็นห่ออาหารต่างๆ ที่วางอยู่โน่นไหม นั้นคือของกินที่เราเอามาแบ่งกันกิน หลังจากรำตะบองแล้ว เรานั่งคุย ปรึกษาหารือกันเรื่องสุขภาพแล้วเราก็เอาของมาแบ่งกันกิน บางคนมีน้ำสมุนไพร บางคนมีกล้วย มีส้ม บางคนทำข้าวหลามจากข้าวเหนียวซ้อมมือมาแจกก็ยังมี ผมเพิ่งมาพบเพื่อนดีๆ จากกลุ่มที่มารำตะบองนี่เอง เราใช้ชีวิตแบบง่ายๆ จริงใจต่อกัน และก็ช่วยเหลือกันเท่าที่เราจะช่วยได้ คุณจะไปหาเพื่อนดีๆ อย่างนี้ได้ที่ไหน”

คุณมีเวลาว่างมากหรือ

“ตรงกันข้ามครับ วันทำงานผมยุ่งเหลือเกิน ทำงานตั้งแต่เช้ายันค่ำ บางวันถึงสองยามก็ยังมี แต่วันเสาร์-อาทิตย์ ผมทิ้งงานเด็ดขาด ผมถือว่าเป็นวันสำคัญของผม วันที่ผมจะออกกำลังกายด้วยการรำตะบอง คุยกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามมีตามเกิด”

ไม่อยากไปตีกอล์ฟบ้างหรือ

“ไม่ละครับ ชีวิตอย่างนั้นไม่เหมาะสำหรับผม ตีกอล์ฟ งานเลี้ยง ออกงานสังคมหรูๆ สงสัยว่าชีวิตผมจะสั้นแน่ๆ ชีวิตแบบนั้น”

ลมพัดมาเรื่องๆ สมามหญ้าแบะเนินบนสวนรถไฟมีดอกเฟื่องฟ้าโปรยปรายอยู่เต็ม หนุ่มใหญ่วัย 46 ของเรานอนหงายลงพื้นหญ้า เท้าไขว่ห้างอย่างสบายอารมณ์

“คุณรู้ไหม เวลาคุณเริ่มหัดตีกอล์ฟ คุณหมดเงินไปกี่แสน รำตะบองคุณไม่ต้องเสียอะไรแม้แต่แดงเดียว ถ้าใช้ท่อพีวีซี ก็จ่ายสัก 30 บาท ก็พอใช้ไปได้ตลอดชีวิต ได้สุขภาพ ได้เพื่อน ได้คนที่รัก ต้นไม้สวย ฟ้าสวย ชีวิตมีค่าอย่างนี้ คุณหาได้รึจากสนามกอล์ฟ”

ยิ้มของเขาบอกให้รู้ว่าไคลแม็กซ์ของการรำตะบองได้มาถึงแล้ว นี่คือไคลแม็กซ์ที่ชอบเตะสุดชีวิต ไม่ใช่เตะคนอื่น แต่เตะตัวเขาเอง

จากคอลัมน์เตะสุดชีวิต นิตยสารชีวจิต ฉบับ 37 (16 เมษายน 2543)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ประสบการณ์สุขภาพ หายขาด มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ด้วยชีวจิต 100 %

ประสบการณ์สุขภาพ เยียวยา ไซนัส ขั้นรุนแรงด้วยน้ำอาร์ซีชีวจิต

ประสบการณ์สุขภาพ ชีวจิตช่วยสร้างสมดุลชีวิต สยบก้อน เนื้องอก

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.