รู้จักวัคซีนสักนิด ก่อนต้องฉีดวัคซีน เพื่อรับมือโควิด-19
รู้จักวัคซีนสักนิด น่าจะดี เพราะอีกไม่นาน หลายคนคงจะได้ ฉีดวัคซีน กันแล้ว ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับวัคซีนกันสักหน่อยจะดีกว่า
มนุษยชาติมีความพยายามที่จะป้องกันตัวเองจากการเจ็บป่วยต่าง ๆ มาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีการสังเกตเห็นว่าเมื่อมีการระบาดของโรคใดๆ ผู้ที่เคยเป็นโรคนั้นแล้วหาย มักจะไม่ป่วยเป็นโรคเดิมซ้ำอีก!!
นั้นคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตัวเองด้วยหลากหลาย ในอดีตเคยพิศดารไปถึงขั้น กินงูพิษ เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันจากพิษงู การดื่มเลือดเป็ดที่เคยกินยาพิษมาก่อน เพราะเชื่อว่าจะป้องกันพิษได้หากถูกวางยาพิษ…โอ้โน!!
ราวศตวรรษที่ 10 พบบันทึกว่า ประเทศจีนเริ่มมีการพยายามหาวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไข้ทรพิษ ด้วยวิธีหลากหลาย เช่น นำเอาสะเก็ดแผลจากผื่นที่เกิดจากผื่นของโรคไปบดแล้วเอาไปใส่ในจมูกของผู้ไม่เคยเป็นไข้ทรพิษดังกล่าวมาก่อน นอกจากนี้ ยังมีวิธีเอาเข็มสะกิดตุ่มหนองของผู้ป่วยแล้วนำไปสะกิดที่ผิวหนังของผู้ยังไม่เคยติดโรค ซึ่งภายหลังเรียกวิธีการนี้ว่า การปลูกฝี วิธีการดังกล่าวถูกเผยแพร่และนำไปปฏิบัติในหลายๆ ประเทศ ทั้งในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
ศตวรรษที่ 17 ดร.เอดเวิร์ด เจนเนอร์ สกัดนำเชื้อไข้ทรพิษหรือ cowpox จากหญิงเลี้ยงวัวที่ติดเชื้อดังกล่าวจากวัวที่เธอเลี้ยง ไปให้เด็กชายวัย 8 ปี ซึ่งหลังจากให้เชื้อฝีดาษดังกล่าวแก่เด็กชายผู้นั้น 6 สัปดาห์ พบว่า เด็กชายไม่ป่วยหรือมีอาการสำแดงถึงโรคฝีดาษ ดร.เจนเนอร์ จึงเรียกหนองฝีวัวนั้นว่า “VACCINE” มาจากภาษาละตินคำว่า “vacca” ที่แปลว่าวัว และเรียกวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวว่า vaccination ซึ่งกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนปัจจุบัน
ปี 1840 ดร.หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้นำแนวความคิดของเจนเนอร์ไปประยุกต์กับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคจากสัตว์ปีกจำพวกเป็ดและไก่ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานต่อการผลิตวัคซีนในระยะหลัง
ต่อมา ดร.โจเซฟ ลิสเตอร์ เป็นผู้ที่นำแอนติเซปติก (Antiseptic) หรือ สารซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียก่อโรค(น้ำยาฆ่าเชื้อ) มาใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งนำไปสู่การผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายในระยะเวลาต่อมา
ว่ากันง่ายๆ วัคซีน ก็คือเชื้อโรคที่ถูกทำให้ตายหรืออ่อนแอลงโดยวิธีต่างๆ แล้วนำเข้าสู่ร่างกายทางใดทางหนึ่ง เช่น ฉีด หรือหยอด เพื่อให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ที่เรียกรวมว่า แอนติเจน (Antigen) เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย การฉีดวัคซีนจึงเป็นเหมือนการเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายรู้จักเชื้อโรคและสร้างแอนติบอดี (Antibody) ที่สามารถรับมือกับเชื้อโรคนั้นๆ ได้ทันท่วงที