สาวโสด, ป้องกันโรคร้าย, โรคในผู้หญิง, ผู้หญิง

วิธีป้องกัน 5 โรคร้าย สำหรับ สาวโสด ขี้เหงา

วิธีป้องกัน5โรคร้าย สำหรับ สาวโสด ขี้เหงา

 

จะว่าไปแล้ว สาวโสด ก็มีโอกาสเผชิญปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับสาวไม่โสดนั่นละค่ะ เพียงแต่อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นบางอาการและบางโรคมากกว่าผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้ว

สาวโสด มีชีวิตอิสรเสรี สนุกเพลิดเพลินกับอาหารการกิน หรือบางคนก็เผลอทุ่มเททำงานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัว เพราะคิดว่าไม่มีภาระต้องรับผิดชอบแต่ความจริงแล้ว สาวโสดทุกคนมีภาระสำคัญประการหนึ่งนั่นคือ การดูแลตัวเองให้แข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน เรามาดูกันว่าคุณสาวๆ ควรจะดูแลตัวเองอย่างไร เพื่อป้องกันโรคฮิตที่พบบ่อยในสาวโสด

 

  1. ซึมเศร้า

สาวโสดมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเหงาว้าเหว่เพราะไร้คู่ ความเครียดและกดดันจากการงาน การเงิน สังคม รวมถึงความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองและพันธุกรรม

ถ้าสังเกตตัวเองแล้วพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว ขาดความมั่นใจ ไม่สนใจเรื่องรอบตัว ขาดสมาธิ อ่อนเพลียตลอดเวลา ทำอะไรชักช้ากินจุหรือกินน้อยลง นอนไม่อิ่มหรือนอนน้อยลง โทษตัวเองบ่อย

หากคุณมีอาการ 5 ข้อขึ้นไปนาน 2 สัปดาห์ อาจเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า และถ้าถึงขั้นรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย ก็แสดงว่ามีอาการซึมเศร้าระดับรุนแรง ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

Prevention

เราสามารถป้องกันโรคซึมเศร้าได้ด้วยการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมที่รู้สึกดีมีความสุข เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มคิดด้านลบให้เปลี่ยนวิธีคิดและทำอย่างอื่นเสีย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่น และจำไว้ว่าถ้ารู้สึกเศร้าเมื่อใด ให้รีบสนใจเรื่องดี ๆ หรือหาเรื่องสนุกทำทันที

นายแพทย์มาโนช หล่อตระกูลแนะนำไว้ในหนังสือ โรคซึมเศร้า ว่า ให้รู้จักหาสาเหตุของปัญหาและแก้ปัญหานั้น พักผ่อน ท่องเที่ยว คุยกับตัวเอง และมองโลกในแง่บวก

ซึมเศร้า, โรคซึมศร้า, สาวโสด, ผู้หญิง, ปัญหาสุขภาพ
ความเหงาว้าเหว่เพราะไร้คู่ อาจทำให้สาวโสดเกิดอาการซึมเศร้าได้
  1. ไมเกรน

ไมเกรนนั้นเป็นอาการปวดศีรษะที่ทุกข์ทรมานมาก ยังไม่มีใครทราบสาเหตุก่อโรคแน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า เกิดจากความผิดปกติของสารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารเคมีชนิดอื่นๆ ในสมอง นอกจากนี้ยังมีสิ่งกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ ความเครียด แสงสว่างจ้า แสงไฟกะพริบ การเพ่งมองอะไรนาน ๆ อยู่ในที่ที่มีเสียงดัง อยู่ในบริเวณที่มีความร้อนหรือเย็นเกินไป อดนอน อดอาหาร ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แพ้อาหารบางชนิด เช่น ถั่ว กล้วย ช็อกโกแลต นม เนย และช่วงใกล้มีประจำเดือน

Prevention

รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิงดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ แนะนำไว้ในหนังสือ แก้ปวดก่อนป่วย ว่า ให้สังเกตตัวเองว่ามีอะไรเป็นสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แล้วพยายามหลีกเลี่ยงเสีย

สำหรับวิธีป้องกันอาการปวดไมเกรนได้ดีคือ การออกกำลังกายแบบเบาๆ เป็นประจำ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน

 

  1. ปวดกล้ามเนื้อคอบ่าและไหล่

อาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่ มักเกิดจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ เช่นทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ขับรถท่ามกลางการจราจรติดขัดนาน ๆ เป็นประจำ การนั่งชันคอนานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ ตึงและเกร็ง

Prevention

เราสามารถป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่ได้ โดยการปรับท่านั่งให้ถูกต้องปรับระดับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม เท้าวางราบกับพื้น นั่งพิงพนักเก้าอี้ และไม่แหงนคอหมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ โดยการบิดและหมุนไปมา

หนังสือ ผู้หญิงกับการดูแลสุขภาพ โดย แพทย์หญิงพิสุทธิพร ฉ่ำใจ แนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อแบบง่าย ๆ โดยเอียงศีรษะให้หูแตะไหล่ข้างหนึ่ง แล้วค่อย ๆ หมุนศีรษะเป็นวงกลมอย่างช้าๆ ก็จะช่วยลดอาการตึงเกร็งและคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

อ่านต่อหน้าที่ 2

 

กินอาหาร, อ้วน, ลดหุ่น, ลดความอ้วน, ลดน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการกินอาหารตามใจปาก เพราะจะทำให้อ้วนง่าย
  1. อ้วน

ความอ้วนไม่เพียงแต่ทำให้ไม่สวย ยังนำสารพัดโรคภัยมาเยือนอีกด้วย ก่อนที่สาวโสดผู้รักความงามจะสรุปว่าตัวเองอ้วน ควรคำนวณดัชนีมวลกายก่อน

Prevention

ถ้าไม่อยากอ้วนต้องควบคุมเรื่องอาหารการกินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและควรออกกำลังกายเป็นประจำ แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แนะนำไว้ในหนังสือ 188 เคล็ดลับชะลอวัย สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ว่า ควรกินอาหารปริมาณน้อยดีกว่าปริมาณมาก เพราะการกินปริมาณมากทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายต้องทำงานเพิ่มขึ้น และยังปลดปล่อยฟรีแรดิคัลออกมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน

และควรคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อตรวจสอบว่าเราอ้วนเกินไปหรือยัง โดยใช้สูตรดัชนีมวลกาย = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม ÷ ความสูงเป็นเมตร² เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม และสูง 150 เซนติเมตร (1.50 เมตร)

50 ÷ (1.5 × 1.5) = 22.22   ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18.5 - 22.9

 

  1. มะเร็งในผู้หญิง

โรคมะเร็งที่ผู้หญิงโสดเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นมี 4 โรคหลัก ๆ ก็คือ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่และมะเร็งมดลูก

มะเร็งในผู้หญิง, มะเร็ง, สาวโสด, หมอ, แพทย์

8.1 มะเร็งเต้านม พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย ยังไม่ทราบสาเหตุก่อโรคแน่นอน แต่มีรายงานกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงว่า อาจเกิดจากมีถุงน้ำหรือพังผืดบางชนิดในเต้านม มีคนในครอบครัวป่วย เป็นโรคอ้วนความดันโลหิตสูง และเบาหวาน มีความเครียด ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีและหมดประจำเดือนหลังจากอายุ 55 ปีไปแล้ว มีลูกคนแรกเมื่ออายุ 35 ปีแต่งงานแต่ไม่มีลูก และโสด

Prevention

การป้องกันมะเร็งเต้านมทำได้โดยไม่กินอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอในห้องที่มืดสนิท ระวังการใช้เครื่องสำอางหรือสมุนไพรที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนหลีกเลี่ยงสารพิษต่าง ๆ ในอาหาร สิ่งแวดล้อม เช่น ยาฆ่าแมลง ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุกปี เมื่อมีก้อนผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์

8.2 มะเร็งปากมดลูก เกิดจากเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวีคนที่มีโอกาสติดเชื้อ ได้แก่ ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี หรือตั้งครรภ์เมื่ออายุน้อยหรือคลอดลูกมากกว่า 4 คน กินยาคุมกำเนิดนาน 5 - 10 ปี เคยเป็นโรคเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส หนองใน ฯลฯ รวมทั้งไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูก

Prevention

หลีกเลี่ยงการรับสารก่อมะเร็ง หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย งดสูบบุหรี่ ฉีดวัคซีนป้องกัน ตรวจหามะเร็งปากมดลูกทุกปีซึ่งการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยให้ผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ

8.3 มะเร็งรังไข่ ข้อมูลจาก สมาคมมะเร็งนรีเวชไทย ระบุว่า มักพบโรคนี้ในผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 50 - 60 ปีหรือหลังหมดประจำเดือน ผู้ที่ชอบกินอาหารที่มีไขมันสูง คนโสด ไม่มีลูกหรือมีลูกน้อย ผู้ที่ได้รับยากระตุ้นการตกไข่มีความเครียด สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้แป้งที่มีส่วนผสมของทัลคัม (Talcum) โรยในที่อับชื้นเป็นประจำก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน

การตรวจหามะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกค่อนข้างทำได้ยาก เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยมักไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้องหรือท้องโตขึ้น ฯลฯ

Prevention

วิธีป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ทำได้เช่นเดียวกับโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารเคมีหรือย่านอุตสาหกรรม ควรตรวจภายในปีละ 1 ครั้งหลังอายุ 40 ปี

8.4 มะเร็งมดลูก มักเกิดกับผู้หญิงวัย 45 ปีขึ้นไปซึ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มคือคนที่น้ำหนักเกิน เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นสาวโสดหรือแต่งงานแล้วไม่มีลูก ประจำเดือนมาตั้งแต่อายุน้อยและหมดหลังอายุ 52 ปี

Prevention

ควรลดความอ้วนถ้าน้ำหนักเกิน ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ รสเค็มน้อย หวานน้อยกินอาหารที่มีไขมันน้อย และไม่เครียด

จากคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 387 (16 พฤศจิกายน 2557)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

นวดไทย นวดพื้นบ้าน 4 ภาค แก้โรคผู้หญิง โรคออฟฟิศซินโดรม

เคล็ดลับต้าน 4 โรคมะเร็งในผู้หญิง สไตล์สาวโสด

6 ความลับเกี่ยวกับ จุดซ่อนเร้น ที่ผู้หญิงอย่างเราอาจยังไม่เคยรู้

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.