ขันติ

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 ขันติ (ความอดทน)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 ขันติ (ความอดทน)

Secret ขอน้อมนำ ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 ขันติ มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อ่านได้น้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการครองตนเพื่อความสุขแบบพอเพียง

9. ขันติ

ความอดทน

“…การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทน คือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงามสิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดี ไม่ครึ ต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง…”

พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักศึกษา ครู และอาจารย์ ที่มาเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2516


ขันติ หมายถึง ความอดทนต่อความทุกข์ยากและอุปสรรคนานัปการ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีขันติเป็นเลิศ ดังจะเห็นได้จากการปฏิบัติพระราชกรณียกิจมากมาย แม้ว่าจะต้องเสด็จฯไปในท้องถิ่นทุรกันดารและมีภยันตรายพระองค์ก็ไม่ทรงย่อท้อ เพราะทรงตระหนักว่ายังมีราษฎรอีกเป็นจำนวนมากรอคอยความช่วยเหลืออยู่

นายสวัสดิ์ วัฒนายากร องคมนตรีได้กรุณาเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ตามเสด็จในการอภิปราย 60 ปี ทรงครองราชย์ ณ  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่  9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ความว่า

“ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-มหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯทรงงาน ซึ่งนอกจากเส้นทางเสด็จฯจะทุรกันดารเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างที่ทรงเรียกว่าทางดิสโก้แล้วผู้นำเสด็จฯยังนำหลงทางอีกด้วย จนพระองค์ต้องทรงนำทางผู้นำเสด็จฯแทน และแม้พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า หนทางข้างหน้าเริ่มมืดมิด แต่เมื่อทรงมุ่งมั่นแล้ว ก็ไม่ทรงคำนึงถึงความยากลำบาก

“…ไปถึงจุดก็มืดค่ำแล้วครับ รถไปถึงแล้วต้องทรงพระดำเนินอีกเป็นกิโลสองกิโลท่ามกลางความมืด ไปเจอบ้านชาวบ้านมีรั้วลวดหนามกั้น ผมจำได้ว่าเป็นรั้วลวดหนามที่ค่อนข้างสูง ก้าวข้ามไม่ได้ ต้องใช้มือดึงรั้วขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องทรงลอดรั้วลวดหนาม คิดดูสิครับ มีพระเจ้าแผ่นดินที่ไหนที่ต้องมาลอดรั้วลวดหนามเพื่อมาช่วยเหลือราษฎร แล้วท่านยังหันมารับสั่งกับผมว่าอธิบดีอย่าลืมมาซ่อมรั้วให้เขาด้วยนะ…”

ด้าน ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวในการอภิปรายคราวเดียวกันนี้ว่า

“…ที่สบาย ๆ นั้นไม่ค่อยเสด็จฯหรอกครับ เพราะที่สบาย ๆ นั้นไม่มีปัญหา ส่วนมากจะเสด็จฯไปในที่ที่มีปัญหา คือที่ที่ทุรกันดารที่สุด…”

ข้อมูลจาก นิตยสาร Secret


ทศพิธราชธรรมข้อที่ 1 10 ทศพิธราชธรรม ธรรมที่พ่อสอน (ทาน)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 2 10 ทศพิธราชธรรม ธรรมที่พ่อสอน (ศีล)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 3 10 ทศพิธราชธรรม ธรรมที่พ่อสอน (ปริจจาคะ)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 4 10 ทศพิธราชธรรม ธรรมที่พ่อสอน (อาชชวะ)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 5 10 ทศพิธราชธรรม ธรรมที่พ่อสอน (มัททวะ)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 6 ทศพิธราชธรรมข้อที่ 6 ตบะ (ความเพียร)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 7 ทศพิธราชธรรมข้อที่ 7 อักโกธะ (ความไม่โกรธ)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 8 ทศพิธราชธรรมข้อที่ 8 อวิหิงสา (ความไม่เบียดเบียน)

ทศพิธราชธรรมข้อที่ 10 ทศพิธราชธรรมข้อที่ 9 ขันติ (ความอดทน)

Posted in MIND
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.