ปวดประจำเดือน รักษาง่ายๆ
ปวดประจำเดือน เป็นอาการที่ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญทุกเดือน บ้างทนไหว บ้างถึงกับปวดจนไม่เป็นอันทำอะไร ซึ่งอาการปวดประจำเดือนเกิดจากปัจจัยหลักๆ คือ ฮอร์โมน นั่นเอง
ความเจ็บปวดฉบับผู้หญิง
อาการปวดประจำเดือน มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนประจำเดือน และมีการหลั่งสารโพรสตาแกลนดินออกมามากผิดปกติ ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่ช่วยปิดรูหลอดเลือดที่รั่ว จึงทำให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัว มักพบในเด็กสาวหรือผู้หญิงที่อายุยังน้อย จะมีอาการปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงในระยะแรกที่ประจำเดือนมา อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ท้องเดิน เหงื่อออก มือเท้าเย็นร่วมด้วย บางรายอาจปวดมาก จนเหมือนไม่สบายหรือเป็นลม อาการปวดนี้จะหายไปเองภายใน 1 – 2 วัน
ส่วนอาการปวดอย่างรุนแรงอาจเกิดจากโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นถุงน้ำที่รังไข่ การอักเสบในอุ้งเชิงกราน เนื้อ งอกไฟบรอยด์ หรือการใส่ห่วงคุมกำเนิด ซึ่งในกรณีหลังถ้าเคยตั้งครรภ์มาแล้ว ปากมดลูกจะหลวม อาการปวดจะหายไป ถึงแม้หลายคนจะไม่หวั่นแม้วันมามาก เพราะเป็นเรื่องปกติธรรมดาของลูกผู้หญิง แต่เมื่อใดก็ตามที่มีอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย อาจทำให้เราหมดสนุกจนต้องหยุดพักกิจกรรมระหว่างวันไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นเรามาหาวิธีกำจัดอาการ ปวดประจำเดือนให้หายขาดกันดีกว่าค่ะ
ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
เชื่อไหมคะว่า อาการปวดประจำเดือน เกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะวิถีการ ใช้ชีวิตและการกินอยู่ผิดๆ เรามีสารพัด วิธีแก้อาการปวดประจำเดือนมาแนะนำ ซึ่งสามารถทำได้โดยกินอาหารธรรมชาติ ที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก ผลไม้สด เพื่อ ป้องกันอาการท้องผูกระหว่างมีประจำเดือน นอกจากนี้อาการปวดประจำเดือนอาจ มีสาเหตุมาจากความเครียด ซึ่งสามารถ ดูแลตัวเองด้วยการฝึกสมาธิและโยคะ และเทคนิคในการผ่อนคลายอื่นๆ
จัดระบบสมดุลร่างกายด้วยชีวจิต
เรื่องของอาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องของมดลูกโดยตรง แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับมดลูก ได้เหมือนกัน เช่น ท้องผูกเป็นประจำ โลหิตจาง กินอาหารผิด เครียด ฯลฯ ดังนั้นก่อนอื่นต้องจัดระบบร่างกายให้ สมดุลด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ค่ะ
กินอาหารตามสูตรชีวจิต
-สำหรับคนผอมและเลือดน้อย
1 มื้อประกอบไปด้วย
คาร์โบไฮเดรต 40 เปอร์เซ็นต์
โปรตีน (อาหารทะเล) 25 เปอร์เซ็นต์
ผักต่างๆ 25 เปอร์เซ็นต์ เบ็ดเตล็ด 10 เปอร์เซ็นต์
-สูตรสำหรับคนเจ้าเนื้อ
1 มื้อประกอบไปด้วย
คาร์โบไฮเดรต 50 เปอร์เซ็นต์
ผัก 25 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 15 เปอร์เซ็นต์
และเบ็ดเตล็ด 10 เปอร์เซ็นต์
กินวิตามินกลุ่มแอนติออกซิแดนท์
ได้แก่ วิตามินเอ ซี ดี อี กินรวมกับวิตามินบี 2 ปริมาณ 200 มิลลิกรัม
วิตามินบี 6 ปริมาณ 100 มิลลิกรัม
กรดโฟลิก 0.4 มิลลิกรัม (400 ไมโครกรัม)
และธาตุเหล็ก 30 มิลลิกรัม
ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดก็ได้ อย่างสม่ำเสมอ
เพื่อเร่งให้ร่างกายผลิต สารอนุพันธ์ฝิ่นธรรมชาติ ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือนได้
รวมสมุนไพรไทยต้านปวดประจำเดือน
นำพริกไทยล่อน 7 เม็ด
ดีปลี 7 เม็ด
กระเทียม 7 กลีบ
ขิงสด 7 ชิ้น ไพลสด 7 แว่น
ว่านชักมดลูก 7 แว่นหนาๆ
นำทั้งหมดมาตำรวมกัน คั้นเอาแต่น้ำ (หรือจะเคี้ยวทั้งเนื้อก็ได้) ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ไม่ควรเกิน 3 วัน อาการปวดจะค่อยๆ หายไปเอง นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยให้กะบังลมหรือมดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อปวดประจำเดือน
เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือน คนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงยาแก้ปวด หรือไม่ก็กระเป๋าน้ำร้อนก่อนเป็นอันดับแรก แต่ ช้าก่อนค่ะ เรามีความรู้ใหม่ (สำหรับบางคน) มาแนะนำ
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่าอาการปวดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็นสองชนิด ดังนี้
กลุ่มอายุระหว่าง 13 – 18 ปี จะมีปริมาณของเลือดมาก เนื่องจากการทำงานของรังไข่ยังอยู่ในระยะปรับตัว จึงไม่ควร ใช้ความร้อนหรือความอุ่นจำพวกกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าร้อนประคบบริเวณท้องน้อย เพราะความร้อนจะทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้มดลูกมีอาการเลือดคั่งได้ และไม่ควรนอนราบ เพราะเลือดอาจไหลย้อนกลับเข้าไปในท้องตามท่อนำไข่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคผนังมดลูกเจริญผิดที่
กลุ่มอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่อาการปวดท้องในวัยนี้มักเกิดจากมีเลือดประจำเดือนคั่งอยู่ในโพรงมดลูก ถ่ายเทไม่สะดวก สามารถบำบัดตัวเองเบื้องต้นด้วยการอาบน้ำอุ่น ใช้ความร้อนจากกระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นประคบ บริเวณท้องน้อย หรือใช้วิธีประคบร้อนเย็นบริเวณท้องน้อยและบริเวณหลัง โดยประคบด้วยความร้อนประมาณ 2 – 3 นาที ประคบด้วยความเย็นประมาณ 30 วินาที ทำซ้ำๆ 2 – 3 รอบ จากนั้นให้นอนพักด้วยการเอนหลัง นอนตะแคง หรือนอนราบก็ได้ หลังจากนั้นประมาณครึ่งชั่วโมงอาการปวดจะค่อยๆ ทุเลา
T I P : อาการปวดประจำเดือนที่ควรรีบไปพบแพทย์
1. ปวดท้องอย่างรุนแรงผิดปกติ หรือเลือดออกมากจนต้องหยุดทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน
2. ปวดบริเวณท้องน้อยข้างขวาร่วมด้วย เพราะอาจเกิดจากไส้ติ่งอักเสบ หรือสาเหตุร้ายแรงอื่นๆ ได้
ข้อมูลจาก : คอลัมน์เยียวยาก่อนหาหมอ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 157
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
วิธีรับมือกับอาการ ปวด ประจำเดือน
ดูแลตัวเองอย่างไร ประจำเดือน จึงมาสม่ำเสมอ
นวดมดลูก ช่วยให้มดลูกแข็งแรงด้วยวิธีธรรมชาติ แก้ปวด ประจำเดือน