กินยามากเสี่ยงไตพัง, ไตเสื่อมเพราะกินยา, โรคไต, ไตเสื่อม, ป้องกันโรคไต

กินยาผิดๆ ถูกๆ เสี่ยงไตวาย

กินยาไตพัง  กินผิด ชีวิตไตสั้น

กินยาไตพัง คำนี้หลายคนอาจคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่เราจะเช็กได้อย่างไรว่าไตของเรากำลังจะเสื่อมเพราะกินยา

เชื่อว่าคนทํางานต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพ ประจําปีกันอยู่แล้ว หากได้รับรายงานผลตรวจ แนะนําให้ทุกคนเพ่ง ไปที่ค่าครีเอทินีน (Creatinine) หรือค่าที่ชี้วัดการ ทํางานของไตในการขับของเสียที่เกิดจากการสลายตัว ของกล้ามเน้ือ คนปกติต้องอยู่ที่ 1-1.5 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร

ใครที่ค่าครีเอทินีนปร่ิม ๆ จะแตะเพดานมาตรฐาน แล้ว ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ เพราะไตกําลังทํางาน ผิดปกติหรืออาจมีภาวะไตวายเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า

“คนปกติค่าครีเอทินีนจะอยู่ระหว่าง 1 – 1.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าเกินจาก 1.5 แสดงว่าไตสูญเสีย การทํางานไปกว่า 60 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่จะไม่แสดง อาการผิดปกติ เพราะไตมีสองข้าง ข้างหนึ่งทํางาน น้อย อีกข้างหนึ่งจะช่วยทํางานแทน เหมือนคน ท่ีบริจาคไตให้น้องหรือญาติ เขาก็สามารถใช้ชีวิตได้ ตามปกติ แม้ไตจะเหลือข้างเดียวหรือเหลือการทํางาน เพียงแค่ 50 เปอร์เซ็นต์”

กินอะไรเสี่ยงไตพัง

สําหรับคนทั่วไปที่ยังไม่มีภาวะไตวาย แต่มีอาการ ดังต่อไปนี้คือ ขาบวม น้ําหนักลด ผมร่วง หน้าซีด และอ่อนเพลีย คุณหมอสุรศักดิ์อธิบายว่า เป็นผล มาจากไตสูญเสียการทํางานไปแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะต้องรีบกลับมาเช็กพฤติกรรมการกินของตัวเองด่วน เพราะมียาและอาหารบางชนิดที่ส่งผลต่อการทํางาน ของไต เมื่อปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง อาจ ทําให้เปอร์เซ็นต์การทํางานของไตขยับสูงขึ้นได้

กินยาผิด ชีวิตสั้นลง (กินยาไตพัง )

คุณหมอสุรศักดิ์สรุปพฤติกรรมการกินยาเสี่ยง ไตพังไว้ว่า ยาส่วนใหญได้รับการศกึกษาวจัยมาแล้วเป็นอย่างดีว่ามีคุณมากกว่ามีโทษ จึงสมควรให้มีการใช้ในผู้ป่วย แต่ยาบางชนิดถ้าเราไม่กินตามคําแนะนําของแพทย์ ก็อาจมีผลเสียต่อไตและตับได้ มีกลุ่มยาที่ส่งผลต่อ การทํางานของไตที่ต้องเฝ้าระวังหลายชนิด ดังน้ี

  • ยาแก้ปวดหรือพาราเซตามอล เป็นยาที่มีรายงาน ว่า มีความเป็นพิษต่อไตเป็นอันดับหนึ่ง คนไข้ไม่ควร กินติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ บางคนกินต่อกันนาน เป็นปีหรือหลายปี จึงมีโอกาสทําให้ไตทํางานผิดปกติ
  • ยาต้านการอักเสบซึ่งไม่ใช่กลุ่มสเตียรอยด์ เช่น ยาแก้เส้นเอ็นและกล้ามเน้ืออักเสบ ยาแก้ข้ออักเสบ ยาแก้อาการปวดท้องประจําเดือน ยากลุ่มแก้ปวดออกฤทธิ์เเรง จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ซึ่งควรกินภายใต้การ ดูแลของแพทย์ ปกติไม่ควรกินนานเกิน 7 วัน

นอกจากนี้ผู้ที่กินยากลุ่มนี้แล้วมีความเสี่ยงต่อ ภาวะไตวายคือ ผู้มีอายุเกิน 60 ปี ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น เป็นโรคไตอยู่เดิม โรคหัวใจ เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่มีภาวะขาดน้ํา ซึ่งอาจ เกิดจากอาการท้องเสีย อาเจียนรุนแรง ดื่มน้ําไม่ได้ เพราะจะทําให้ปัสสาวะน้อย ซึ่งจะทําให้ร่างกายไม่ สามารถขับยาออกได้เต็มที่ จึงเกิดการสะสมของพิษยา อาจทําให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

ดังนั้น ผู้ที่กินยากลุ่มน้ีจึงได้รับคําแนะนําว่า ต้องดื่มน้ําตามมาก ๆ นั่นเอง

อ่านต่อ สมุนไพรจีนต้องระวัง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.