สาวๆ 35 อัพ หายห่วง มีลูกยาก ไม่ใช่ปัญหา

คู่รักรุ่นใหม่หลายคู่คงเคยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “อยากมีเบบี๋..แต่ไม่ใช่ตอนนี้ ขอแฮปปี้กับชีวิตคู่สัก 2-3 ปี ก่อนดีกว่า” แต่พอถึงเวลาที่อยากจะสร้างครอบครัวให้สมบูรณ์ ด้วยการสวมบทบาทเป็นคุณพ่อ คุณแม่ ในวัย 35 พลัส กลับต้องกุมขมับกับปัญหาที่ว่า “พร้อมแล้วแต่ก็ไม่ท้องสักกะที!!” ปัญหาโลกแตกของคู่รักนี้สามารถแก้ไขได้ เพราะด้วยนวัตกรรมการแพทย์ที่ก้าวล้ำออกมาเรื่อยๆ ค่ะ

วันนี้เราได้มีโอกาสมาพบกับ นพ.สันธา ศรีสุภาพ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ “อินสไปร์ ไอวีเอฟ” (Inspire IVF) เลยไม่พลาดขออัพเดทความรู้ดีๆ มาฝากคู่รักที่อยากจะมีลูกน้อยใจจะขาดมาฝากกันค่ะ ว่าสาวในวัย 35 อัพ เนี่ย หากอยากจะมีลูกขึ้นมา มันยากเกินไปอย่างที่หลายๆ คนเคยเข้าใจหรือเปล่า วันนี้เราไปไขข้อข้องใจนี้พร้อมๆ กันค่ะ

คุณหมอสันธาได้ให้คำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพของคู่รักเพื่อการเตรียมตัวมีลูกน้อยว่า ปัจจัยที่จะทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์นั้น จริงๆ ต้องเป็นความสมบูรณ์ทั้ง 2 ฝ่าย คือ ผู้หญิง-ผู้ชาย เพราะสาเหตุของการมีบุตรยากนั้น 40% เกิดจากฝั่งภรรยา 40% เกิดจากฝั่งสามี และ 20% อาจเกิดจากสุขภาพที่ไม่พร้อมของทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัจจัยหลักๆ ที่ส่งผลต่อการมีบุตรยากได้แก่ อายุ เพราะยิ่งอายุมาก ผู้หญิง อาจมีภาวะ ไข่ไม่ตก หรือ ตกแต่ไม่สม่ำเสมอ ไข่ไม่สมบูรณ์ เมื่อปฏิสนธิแล้ว ก็ทำให้ตัวอ่อนไม่แข็งแรง ฝังตัวแล้วหลุด หรือบุตรในครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะโครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม ท่อรังไข่อุดตัน หรือโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีบุตรยาก

ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่มีปัญหาบริเวณมดลูก มักจะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ มีอาการปวดท้องผิดปกติ หากมีการตรวจพบแต่เนิ่นๆ มีโอกาสรักษาให้หายและพร้อมจะมีบุตรตามธรรมชาติได้ ผู้ชาย อาจมีความผิดปกติของฮอร์โมน มีผลต่อจำนวน ความแข็งแรง และความสมบูรณ์ของตัวอสุจิ ส่วน ไลฟ์สไตล์ที่สุ่มเสี่ยงต่อระบบเจริญพันธุ์ เช่น การดื่มแอลกอฮอลล์ สูบบุหรี่ หรือแม้แต่การเลือกอาหารการกินที่มีผลเสียต่อร่างกาย เป็นต้น

สำหรับวิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินเข้าโรงพยาบาลหรือคลินิกเฉพาะด้านการมีลูกดังนี้

คุณหมอสันธา ได้แนะนำวิธีเตรียมตัวสำหรับผู้หญิงวัย 35 อัพ ที่จะมารับการตรวจรักษา และพร้อมที่จะมีลูกน้อยจากคลินิกเฉพาะด้าน ไว้หลายข้อด้วยกัน อาทิ

สุขภาพแข็งแรง: พยายามให้ร่างกายแข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้ครบตามชนิดของสารอาหารและความต้องการใช้พลังงานของร่างกาย  ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ดัชนีมวลกายระหว่าง 18-22.4 ) หากดัชนีมวลกายมากก็ต้องลดน้ำหนัก แต่ถ้าน้อยก็ควรเพิ่ม และควรออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินวันละ 30 นาที เป็นประจำทุกวัน ที่สำคัญควรเลิกสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์  

Folic acid (โฟลิค แอซิด): เป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ จะช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ให้มีสุขภาพดี ช่วยป้องกันและรักษาโรคโลหิตจาง ซึ่งผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ ควรรับประทาน ผักใบเขียว ไข่ ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน ถั่วแดง แต่หากเป็นคนไม่ชอบผักก็ควรเสริมวิตามินที่มี โฟลิค แอซิด (ขนาด 0.4 มิลลิกรัม ต่อวัน) รับประทานอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโฟลิค แอซิดจะช่วยป้องกันความผิดปกติในระบบสมองและประสาทของทารก อีกทั้งยังมีงานวิจัยใหม่ๆ พบว่า ยังช่วยให้การตกไข่ของผู้หญิงดีขึ้น ดังนั้นโอกาสตั้งครรภ์ก็ง่ายขึ้น 

อาหารหวาน อาหารที่มีไขมันสูง: เป็นอาหารที่ผู้หญิงต้องหลีกเลี่ยงในช่วงที่วางแผนว่าจะมีเบบี๋ เนื่องจาก หากทานรสหวานมากๆจะทำให้ควบคุมน้ำหนักตัวได้ยาก ซึ่งมีผลต่อการตกไข่ ส่วนอาหารที่มีไขมันสูง อาทิ เค้ก คุกกี้ ของทอด มักจะมีไขมันทรานส์สูง ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่อันตรายสูงสุดเพราะเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-cholesterol) ซึ่งหากมีในร่างกายมาก ก็จะส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบตัน ก่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ควรเลือกไขมันจากปลา จากพืช เช่น ถั่ว โอลีฟ หรือรับประทานอาหารเสริม โอเมก้า 3 และ โอเมก้า 6

…อ่านเนื้อหาที่น่าสนใจต่อได้ที่หน้าถัดไป…

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.