ปวดหัว

รู้ทัน 5 อาการ ปวดหัว ยอดนิยม

รู้ทัน 5 อาการ ปวดหัว ยอดนิยม

ปวดหัว เป็นอาการพื้นฐานของการเจ็บปวดที่เป็นกันอยู่บ่อยๆ บางคนก็บอกได้ว่าปวดหัวอะไร แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอาการปวดหัวที่แตกต่างกัน ก็มีวิธีการดูแลที่แตกต่างด้วยเช่นกัน วันนี้ชีวจิตจะพาไปรู้จักกับ 5 อาการปวดหัวที่เป็นกันอยู่บ่อยๆ ค่ะ

 

ปวดหัวเทนชั่น (Tension Headaches )

ปวดหัวเทนชั่น

 

บริเวณที่ปวด : หน้าผากขึ้นไป

ลักษณะการปวด : มีอาการปวดตึงตลอดช่วงหน้าผาก อาจรู้สึกมึนงง 

สาเหตุ : ต้นเหตุหลักๆ ของการปวดหัวชนิดนี้คือความเครียด 

การรักษา : กินยาแก้ปวดทั่วไป เช่น แอสไพริน 

 

ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)

ปวดหัวคลัสเตอร์

 

บริเวณที่ปวด : บริเวณรอบๆ เบ้าตา

ลักษณะการปวด : ปวดเสียดบริเวณเบ้าตา ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างพร้อมกัน บางครั้งอาจทำให้ตาบวมแดงง คัดจมูกน้ำมูลไหล ปวดนาน 15 นาที – 3 ชั่วโมง

สาเหตุ : ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด  

การรักษา : การรักษามีด้วยกันหลายวิธี แต่ที่นิยมคือการบำบัดด้วยออกซิเจน รวมไปถึงการให้ยาที่เฉพาะเจาะจงโดยแพทย์จะเป็นผู้สั่ง 

 

ปวดหัวไมเกรน (Migraine Headaches)

ปวดหัว ไมเกรน

 

บริเวณที่ปวด : รู้ปวดภายในศีรษะ มักเป็นบริเวณข้างขมับข้างใดข้างหนึ่ง 

ลักษณะการปวด : รู้สึกปวดอยู่ในศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มักปวดนานต่อเนื่องหลายชั่วโมง

สาเหตุ : จากหลายสาเหตุเช่น เสียงดัง อากาศร้อน แสงวูบวาบ ความเครียด   

การรักษา : ยาแก้ไมเกรน การอยู่ในที่มืดและเย็น 

 

ปวดหัวไซนัส (Allergy or Sinus Headaches)

ปวดหัวไซนัส

 

บริเวณที่ปวด : บริเวณหัวคิ้วไล่มาที่บริเวณจมูก และจากโหนกแก้มเข้าหาจมูก

ลักษณะการปวด : ปวดหัว คัดจมูก รู้สึกเหมือนไซนัสอักเสบ

สาเหตุ : ติดเชื้อในโพรงจมูก  

การรักษา : พบแพทย์เพื่อรักษาอาการไซนัสอักเสบ และฆ่าเชื้อโรค

 

ปวดหัวความดันโลหิตสูง (Hypertension Headaches)

ปวดหัว

 

บริเวณที่ปวด : ปวดทั่วบริเวณศีรษะ

ลักษณะการปวด : ปวดตื้อ การมองเห็นลดลง มองภาพเบลอ รู้สึกชาตามส่วนต่างๆ หายใจหอบถี่

สาเหตุ : ความดันสูง และอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เสี่ยงต่ออาการหลอดเลือดในสมองแตก  

การรักษา : หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที และดูแลสุขภาพควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ 

 

ข้อมูล healthline.com

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ผู้เชี่ยวชาญแนะ ปวดหัวแบบนี้ ควรรีบไปพบแพทย์

วิธีกินช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด ลดเสี่ยงเกิด โรคเรื้อรัง

รู้ก่อน ป้องกันได้ โรคหลอดเลือดหัวใจ คนอายุน้อยก็เป็นได้

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.