4. ถูกขัดจังหวะจนงานไม่เสร็จ
แก้โดย กำหนดเวลาสำหรับ “การรบกวน” หากคุณมักจะถูกรบกวนบ่อยๆ จนทำงานไม่ทัน ลองจัดสรรเวลาส่วนหนึ่งของแต่ละวันไว้เป็นช่วงเวลาสำหรับทำ กิจกรรมจิปาถะเหล่านั้น เช่น กำหนดว่า 10.00 – 10.30 น.เป็นเวลาเช็กและตอบกลับอีเมล หรือคุณอาจเขียนโน้ตสั้นๆเอาไว้ว่า ตัวเองทำงานไปถึงไหน หลังจากออกไปทำกิจกรรมอื่นๆที่เข้ามาขัดจังหวะเสร็จแล้ว คุณจะได้กลับมาทำงานของตัวเองต่อได้อย่างไม่สะดุด
5. เป็นโรค “เลื่อน”
แก้โดย สาเหตุของโรคเลื่อน (การผัดวันประกันพรุ่ง) นั้นอาจเป็นเพราะความรู้สึกต่อต้านงานที่ตัวเองกำลังทำอยู่ เช่น รู้สึกว่างานชิ้นนี้ยากเกินไปจนเริ่มต้นทำไม่ถูก หรือว่างานชิ้นนี้อาจไม่ใช่งานที่ตัวเองถนัดจึงไม่อยากทำ แต่บางคนก็อาจคิดว่าการทำงานในช่วงใกล้วันกำหนดส่งทำให้รู้สึกว่ามีแรงกระตุ้นมากกว่าปกติ บางครั้งคุณภาพผลงานของคนกลุ่มนี้จึงอาจลดลง เพราะต้องเร่งทำงานให้เสร็จในวันท้ายๆ จึงไม่มีเวลาตรวจสอบความเรียบร้อยของงานมากนัก
6. งานเสร็จ แต่ต้องแก้ไม่จบสิ้น
แก้โดย เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ บางทีสาเหตุที่ทำให้งานถูกแก้ไขบ่อยๆ อาจเป็นเพราะคุณยังขาดความรู้ความเข้าใจในงานนั้น หรือยังไม่มีประสบการณ์มากพอ คุณจึงควรปรึกษารุ่นพี่หรือหัวหน้างาน เพื่อขอคำแนะนำอย่างตรงจุด หรืออาจทำการบ้านมาก่อนด้วยการศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างเอกสารที่เคยมีคนทำเอาไว้ และหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของคุณจากหนังสือ ก็จะช่วย ให้การทำงานง่ายขึ้นค่ะ
ตอนนี้ ต่อให้ปัญหาจะเข้ามามากแค่ไหน ขอแค่ทุกคนจัดการเวลาและจัดการตัวเอง (ด้วยการไม่อู้งานในระหว่างวัน) ให้เหมาะสม เพียงเท่านี้ชีวิตคุณก็จะมีเวลาสนุกเพิ่มขึ้นอีกเยอะค่ะ
(สนับสนุนข้อมูล : คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 338)
บทความน่าสนใจอื่นๆ
4 เคล็ดลับเพิ่ม EQ แก้สารพัดปัญหาคนทำงาน
15 บทเรียนที่ โลกการทำงาน จะสอนคุณ