3. การนอนหลับหรือไม่หลับเป็นเรื่องธรรมชาติ (บังคับไม่ได้)
แต่การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งที่เราเลือกได้ และการ ผ่อนคลายเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจมากกว่า
4. “ความคาดหวัง” ที่จะหลับเป็นอุปสรรคในการนอน
เพราะ ทำให้หลับยากขึ้น ดังนั้นควรฝึกรู้เท่าทันความคาดหวังและวางความ คาดหวังลง ดึงใจมาอยู่กับความผ่อนคลายของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นเคล็ดลับสร้างความสุขในยามค่ำคืน

5. การนอนไม่หลับและการตื่นกลางดึกไม่ใช่หายนะ
แต่การกดดันและการบังคับตัวเองให้หลับต่างหากที่เป็นหายนะ เมื่อ ตื่นกลางดึก ถ้านอนหลับได้ภายใน 30 นาที ให้นอนหลับต่อไป แต่ถ้า 30 นาทีแล้วไม่หลับ ให้ลุกออกจากเตียงมานั่งผ่อนคลาย สบายๆ ถึงไม่หลับแต่สามารถพักร่างกายและจิตใจได้
6. เมื่อไม่กลัว “การนอนไม่หลับ” ชีวิตก็ง่ายขึ้นมาก
นอนหลับ หรือไม่หลับจึงไม่เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เครียดหรือกังวลอีกต่อไป เพราะเราตั้งโจทย์ที่ความผ่อนคลาย ไม่ใช่การพยายามจะหลับ
สรุปว่าปัญหา “การนอนไม่หลับ” ไม่ใช่ปัญหา แต่ “การคิด” และ “การพยายามที่จะหลับให้ได้” ต่างหากที่เป็นปัญหา ดังนั้น สิ่งสำคัญของการพักผ่อนยามค่ำคืนคือการผ่อนคลายร่างกายและ จิตใจ ไม่ใช่การพยายามนอนหลับค่ะ
จาก คอลัมน์ MIND UPDATE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 471
บทความน่าสนใจอื่นๆ
คู่มือกินหนีโรคสำหรับคนนอนดึก นอนไม่หลับ นอนไม่เป็นเวลา
4 วิธีเด็ด แก้นอนไม่หลับ ช่วยหลับลึก สุขภาพแข็งแรง
วิธีง่ายๆ แก้ปัญหานอนไม่หลับในวัยทำงาน