ปรับ 5 เล็ก ปรับสมดุลกรด – ด่าง
ชีวจิต จึงขอนำเสนอสูตร 5 เล็กตามแนวทางของอาจารย์สาทิสและ เทคนิคการดูแลสุขภาพของคุณหมอสาริษฐา เพื่อสร้างสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกายให้ทุกคนนำไปปฏิบัติตามเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ
1. กิน
อาจารย์สาทิส อธิบายไว้อย่างละเอียดว่า การวัดความเป็นกรด หรือด่างให้ใช้มาตรา pH จาก 0 ถึง 14 ถ้าได้ 7 แปลว่าเป็นกลาง ไม่ใช่ด่างหรือกรด ถ้าต่ำกว่า 7 ลงมา ถือว่าเป็นกรด ถ้ามากกว่า 7 ขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นด่าง
ปกติแล้วเลือดของเราควรจะเป็นด่างนิดๆ คือ pH ประมาณ 7.2 – 7.4 ถ้าวัดผลเลือดได้เท่านี้ แสดงว่าร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์สุด ๆ ถ้าพูดแบบชาวบ้านก็คือ “เลือดฝาด อุดมสมบูรณ์ดี หน้าตาผิวพรรณ เป็นสีชมพู
แล้วกินอย่างไรร่างกายจึงจะไม่เป็นกรดหรือเป็นด่างมากจนเกินไป อาจารย์สาทิสอธิบายว่า เลือดของเราควรจะเป็นด่างนิดๆ คือ pH 7.2 – 7.4 ฉะนั้นอาหารและเครื่องดื่มที่เรากินควรจะเป็นอาหารที่เมื่อย่อยแล้ว จะไม่เป็นกรด อาหารที่เรากินจึงควรมุ่งไปที่การสร้างความสมดุลของกรด และด่าง (Acid-Base Balance)
อาจารย์สาทิส แนะนำ ให้เลือกกินอาหารที่จะช่วยสร้างความเป็นด่าง เล็กน้อยกับร่างกาย แต่ตามปกติแล้วอาหารมักจะมีความเป็นกรด แต่ ร่างกายเราก็ขาดไม่ได้ เพราะมีสารอาหาร (Nutrient) ที่สำคัญ
คำตอบจริง ๆ จึงอยู่ที่ว่า เราต้องเลือกกินอาหารที่มีความเป็นกรดน้อย และในขณะเดียวกันก็ต้องเลือกอาหารที่จะไปสร้างด่างเล็กน้อยให้ได้ด้วย นี่แหละคือกฎความสมดุลของกรด – ด่าง (Acid-Base Balance) โดย ก่อนอื่นเราต้องลดหรืองดอาหารที่สร้างความเป็นกรดให้กับร่างกายให้ได้ เสียก่อน อันได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ใหญ่และอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ตัวเลขด้านหลังคือค่า pH ที่แสดงความเป็นกรด – ด่าง เช่น เนื้อวัว – 5.3 หมู – 5.3 ไก่ – 5.5 เป็ด – 6.0 ไส้กรอก – 6.2 หมูแฮม – 6.0
อาหารทะเลและปลาน้ำจืดมีความเป็นด่างมากกว่า ชีวจิต จึงแนะนำ ให้กินปลาได้ เช่น ปลาทูน่า 5.9 – 6.1 ปลาทู 5.9 – 6.2 แซลมอน 6.1 – 6.5 ปลาดุก – ปลาช่อน 6.6 – 7.0, กุ้ง 6.8 – 8.2 หอยนางรม 5.9 – 6.7 หอยทะเล 5.9 – 7.1
สำหรับกลุ่มผักและผลไม้ คุณหมอสาริษฐาอธิบายว่า แร่ธาตุที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง คือ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสเฟต โดยแร่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในผักและผลไม้หลากหลาย ชนิด เช่น บรอกโคลี เซเลอรี่ กะหล่ำปลี
นอกจากนี้น้ำผลไม้บางชนิดก็มีประโยชน์ แม้จะมีรสเปรี้ยว และมีค่าเป็นกรด เช่น น้ำแอ๊ปเปิ้ลวินีการ์หรือน้ำมะนาวที่มี กรดซิตริก แต่กรดเหล่านี้ก็ถูกทำให้สมดุลด้วยอิเล็กทรอไลต์ ในผักผลไม้ อันได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสเฟต สุดท้ายจึงเกิด ความเป็นกลาง เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเกิดกระบวนการบัฟเฟอร์ ทำให้เกิดค่า pH ที่สมดุล
ลองฝานมะนาวเหลืองหรือมะนาวเขียวทั้งเปลือกแล้ว ใส่น้ำกิน เช่น มะนาวเหลือง 1 ลูก ใส่น้ำประมาณ 1 ลิตร แช่ไว้ดื่มได้ทุกวัน เพื่อสร้างสมดุลกรด – ด่างในร่างกาย
น้ำเอนไซม์ของชีวจิตก็มีประโยชน์ในเรื่องปรับสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกาย เพราะส่วนใหญ่มีค่า pH เท่ากับ 8 เช่น น้ำเอนไซม์ แครอต น้ำเอนไซม์แอ๊ปเปิ้ล น้ำเอนไซม์เซเลอรี่
คุณหมอสาริษฐาเสริมว่า อาหารไทย เช่น แกงส้มที่มี น้ำมะขามเปรี้ยว เมื่อรวมกับผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ผักใบเขียว ซึ่งให้ฟอสเฟต จะกลายเป็นอาหาร ที่กินเข้าไปแล้วเกิดเป็นด่างที่สมดุล
การกินอาหารบางมื้อก็มีเคล็ดลับที่ช่วยสร้างสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกายเหมือนกัน คุณหมอสาริษฐาแนะนำว่า ตอนเช้าควร กินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเราไม่ได้กินอาหารมาตั้งหลายชั่วโมง กระเพาะจึงหลั่งน้ำย่อยซึ่งเป็นกรด ซึ่งน้ำย่อยนี้ย่อยโปรตีน แต่ก็ไม่ควรเป็นโปรตีนที่หนักเกินไป เพราะจะไปกระตุ้น การหลั่งน้ำย่อยให้มากขึ้นทั้งวัน ทำให้มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง สำหรับมื้อเช้าแนะนำให้เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มปลา โจ๊กปลา โจ๊กกุ้ง นมถั่วเหลือง ซีเรียล