พายุปลาบึก ถล่มรับมืออย่างไรดี
พายุปลาบึก หรือพายุปาบึก มีชื่อคล้ายกับปลาน้ำโขงตัวใหญ่จากประเทศลาว “ปลาบึก” ที่กำลังพัดเข้ามาถล่มทางภาคใต้ของไทย ในช่วงวันที่ 2-5 มกราคม 2562 นี้ สำหรับพายุปลาบึก หรือ ปาบึก เกิดจากความกดอากาศต่ำกำลังเเรง แล้วพัฒนาเป็นดีเปรสชั่นก่อนจะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน
ก่อนจะเกิดความเสียหายและรับมือไม่ทัน ชีวจิตออนไลน์ มีคู่มือรับมือภัยพายุปลาบึก หรือ ปาบึก ถล่มมาฝากจ้า
เตรียมการป้องกันแต่เนิ่นๆ ก่อนที่พายุจะทำอันตรายต่อชีวิต บ้านเรือน และทรัพย์สินของคุณ
- ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ ตลอดเวลา เพื่อรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที
- กักตุนอาหารที่ไม่บูดเสียง่าย น้ำสะอาด ยารักษาโรคพื้นฐาน อุปกรณ์ปฐมพยาบาลพื้นฐาน ไฟฉาย แบตเตอรี่สำรองให้พร้อม
- ชาร์จโทรศัพท์มือถือ เตรียมไว้เสมอ รวมถึงแบตเตอรี่สำรอง
- เตรียมการถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เติมน้ำมันให้เต็มถัง เช็คระบบต่างๆ ลมยาง รวมทั้งเตรียมเสื้อผ้าและข้าวของจำเป็นบางส่วนไว้ในรถ (อย่าลืมแว่นตาและคอนแท็คส์เลนส์)
ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องอพยพจากที่พักอาศัย
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด รวมทั้งทีวี และคอมพิวเตอร์ ก่อนออกจากบ้าน
- ถ้าดูแล้วมีโอกาสจะเกิดน้ำท่วม ก่อนออกจากบ้าน เคลื่อนย้ายอุปกรณ์สำคัญไว้ในที่สูง
- เก็บรักษาเอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการสูญหายหรือชำรุด
สิ่งที่คนมักนึกไม่ถึง
- เตรียมเบอร์โทรศัพท์สำคัญๆ พกติดตัวเสมอ (ทั้งของครอบครัวและหน่วยงานช่วยเหลือที่สำคัญๆ)
- ช่วงพายุเข้า อย่าอยู่ใกล้หน้าต่างหรือประตูบานกระจก เพราะหากกระจกแตก อาจทำให้บาดเจ็บได้
- ช่วงพายุเข้า อย่าอยู่ใกล้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ชายทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบ ทางน้ำไหล หรืออื่นๆ เพราะอาจพลัดตกลงไปได้
Checklists รับมือภัยพายุเข้า
จัดกระเป๋ายา ป้องกันป่วยรับพายุปาบึก และพายุปลาบึก
1.ยาใช้บรรเทาอาการไข้หรือโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด อาทิ ยาลดไข้ ยาแก้ไอ หรือยาลดน้ํามูก
2.ยาใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะผงเกลือแร่ เพื่อบรรเทาโรคท้องร่วงและอาการช็อกเพราะขาดน้ํา บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
3.อุปกรณ์ทําแผลทุกชนิดทั้งยาใส่แผลปลาสเตอร์ ปิดแผล
4.ยาใช้รักษาอาการทางผิวหนังได้แก่ โรคน้ํากัดเท้า โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อรุนแรงจากการมีแผลน้ํากัดเท้าคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
5.อุปกรณ์ที่ใช้เพื่อป้องกันยุงคือ โลชั่นหรือสเปรย์กันยุง ซึ่งเป็นพาหะสําคัญของโรคระบาดช่วงน้ําท่วมได้แก่ โรค ไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา
เรียบเรียงบางส่วนจาก directenergy.com