3. เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene)
มีสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ หรืออธิบายง่ายๆ ว่า ร่างกายคนเราสามารถใช้เอนไซม์เปลี่ยนเบต้าแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอได้ และเบต้าแคโรทีน ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยเรื่องการมองเห็นในเวลากลางคืน โดยช่วยเสริมให้เรตินาของจอตามองเห็นชัดเจนขึ้น แม้ช่วงแสงน้อย ลดการเสื่อมสภาพเซลล์รอบดวงตา แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบเบต้าแคโรทีนปริมาณมาก มักจะอยู่ในผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและส้ม เช่น แครอต มะละกอ ข้าวโพดอ่อน มะม่วงสุก หน่อไม้ฝรั่ง
4. วิตามินซี (Vitamin C)
เป็นวิตามินสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ช่วยในเรื่องการมองเห็น วิตามินซีช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับเชื้อโรคและมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เข้ามาในร่างกายได้ดีมาก และยังช่วยบำรุงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ในดวงตา หมอแนะนำให้กินเป็นประจำทุกวันเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย ประมาณวันละ 500 – 1,000 มิลลิกรัม

5. วิตามินเอ (Vitamin A)
สำหรับดวงตา วิตามินเอมีบทบาทสำคัญคือ ช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืนช่วยลดแสงจ้าก่อนผ่านเข้ามาถึงเลนส์ตาได้ ลดอาการจอตาพร่ามัว แหล่งอาหารที่พบวิตามินเอตามธรรมชาติ คือ ผักโขม คะน้า ชะอม ตำลึง และวิตามินเอนั้นละลายในไขมัน เราจึงจำเป็นต้องกินไขมันดีเข้าไปเสริมด้วย กล่าวคือ ไข่ นม อะโวคาโด เป็นต้น
6. วิตามินอี (Vitamin E)
เป็นวิตามินที่ต้องกินร่วมกันกับวิตามินเอจึงจะทำงานได้ดี วิตามินอีช่วยให้เนื้อเยื่อรอบดวงตาแข็งแรงขึ้น ทำให้โครงสร้างกระจกตาและเลนส์แก้วตาดีขึ้นช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตาที่มากับช่วงวัย สามารถต้านอนุมูลอิสระบริเวณเซลล์รับแสงตรงจอประสาทตา หมอแนะนำว่าควรกินเสริมเพื่อสุขภาพตาที่ดี
โดยเฉพาะคนที่ผ่านการทำเลสิคหรือเลเซอร์ตา วิตามินอีจะเข้าไปช่วยสร้างโครงสร้างเนื้อเยื่อใหม่ได้เร็วขึ้น แหล่งอาหารธรรมชาติที่พบวิตามินอีมากที่สุด คือ ถั่วเหลือง ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวโพด ธัญพืช สำหรับวิตามินในรูปแบบเม็ดหมอแนะนำให้กินวันละประมาณ 400 ยูนิต (IU)