7. โอเมก้า – 3 (Omega – 3)
ต้องเลือกกินชนิดที่เป็นกรดไขมัน EPA และ DHA เท่านั้น จึงจะสามารถสร้างความแข็งแรงให้หลอดเลือดเล็กๆ รอบดวงตาได้ โอเมก้า – 3 ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ที่สร้างใหม่ในดวงตา ช่วยชะลอการเกิดโรคที่เกี่ยวกับดวงตาได้โอเมก้า – 3 เป็นกรดไขมันดีซึ่งพบมากในปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีนส่วนผลไม้ที่พบโอเมก้า – 3 คือ กีวี ถ้าเลือกกินแบบเม็ด หมอแนะนำให้กินวันละ 1,000 มิลลิกรัม
8. ซิงค์ (Zinc)
สังกะสี คือสารอาหารที่ทำหน้าที่นำพาสารอาหารทั้งหลายให้ร่างกายดูดซึมไปใช้งานได้ดีขึ้น ในการทำงานของระบบเซลล์รอบดวงตา ถ้าเราต้องการให้สารอาหารต่างๆ ข้างต้นสามารถเข้าไปถึงจุดอักเสบนั้น ๆ ได้ เราจำเป็นต้องกินซิงค์เข้าไปทำหน้าที่นั้น นอกจากนี้ซิงค์ยังช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อมได้
ซิงค์ยังช่วยในการแบ่งเซลล์ เสริมความแข็งแรงให้ดวงตา ช่วยการเติบโตของเซลล์ และยังช่วยสร้างเสริมการไหลเวียนของเส้นเลือดรอบดวงตา บำรุงให้หลอดเลือดแข็งแรง
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หลอดเลือดจะแห้งกรอบ การไหลเวียนไม่ดี ทำให้ดวงตาเสื่อมก่อนวัย ซิงค์จะช่วยผลักสารอาหารจำเป็นเข้าไปถึงจุดอักเสบได้ ควรกินวันละ 15 – 30 มิลลิกรัม
9. กรดไขมันเอแอลเอ ALA (Alpha Lipoic Acid)
เป็นแอนติออกซิแดนต์ชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อดวงตา เอแอลเอช่วยลดการอักเสบได้ หมอแนะนำให้กินประมาณวันละ 75 – 150 มิลลิกรัมสำหรับสารอาหารตัวนี้จำเป็นต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสั่งให้เท่านั้น
10. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
หมอขอเสริมเคล็ดลับว่า ควรกินผลไม้ตระกูลเบอร์รี่เป็นประจำทุกวันเพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีเยี่ยม
เช่น บลูเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ราสป์เบอร์รี่ โกจิเบอร์รี่ เพราะผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่นั้นมีสารแอนติออกซิแดนต์ที่ส่งผลดีต่อดวงตาโดยตรง โดยควรเลือกกินแบบสดจะได้ประโยชน์มากกว่ากินแบบสารสกัด
ถ้าเราอายุมากขึ้นและรู้ตัวว่าประสิทธิภาพของดวงตาเริ่มเสื่อมถอยลง เราก็ควรถนอมดวงตาไว้เป็นอย่างดีตลอดการใช้งานนะคะ จะเห็นได้ว่าอาหารที่มีคุณสมบัติบำรุงสายตาทั้งหลายนั้นมีอยู่รอบๆ ตัวเรา ดังนั้นผู้อ่านก็สามารถถนอมสายตาและมีสุขภาพดีได้ด้วยตัวเองค่ะ
จาก คอลัมน์กินเป็นลืมป่วย นิตยสารชีวจิต ฉบับ 480
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ปัญหาดวงตาของวัย 40 รุ่นใหญ่ ไร้แว่น
คู่มือ 360 องศา ดูแลสุขภาพดวงตา ยุคโลกออนไลน์