เพิกถอนยาพาราเซตามอล 25 ตำรับ
เพิกถอนยาพาราเซตามอล ล่าสุด สร้างความตื่นตระหนกตกใจเป็นอย่างมาก เมื่อมีราชกิจจานุเบกษา ประกาศ เพิกถอนทะเบียนตำรับยาพาราเซตามอล 25 รายการ เนื่องจากพบการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น พิษต่อตับ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันนับจากวันที่ 10 ก.ย.เป็นต้นมา
เพิกถอนตำรับยาพาราเซตามอลทำไม
เนื่องจากในสถานการณ์ปัจจุบันปรากฏพบปัญหาจากการใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น โดยพบทั้ง อาการไม่พึงประสงค์ในลักษณะการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น การเกิดพิษต่อตับ จากการใช้ยาไม่เหมาะสม การได้รับยาซ้ำซ้อน การใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ของผู้ใช้ยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุม ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 ได้มีคําสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ 329/2560 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 ให้ผู้รับอนุญาตผลิตยา หรือผู้รับอนุญาตนําหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน แก้ไขฉลาก และเอกสาร กํากับยาให้เป็นไปตามคําสั่งดังกล่าว
และต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนําของ คณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 386-10/2561 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ได้มีคําสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 204/2562 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ผู้รับอนุญาตที่ยังไม่ได้ยื่น แก้ไขทะเบียนตํารับยาเร่งดําเนินการตามคําสั่งกระทรวงที่ 329/2560 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 แต่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตไม่ดําเนินการแก้ไขทะเบียนตํารับยาดังกล่าวให้เป็นไปตามคําสั่งข้างต้น จํานวน 25 ตํารับ จึงอาจเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ยาได้
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 389-3/2562 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดรับประทาน จํานวน 25 ตํารับ มีดังต่อไปนี้
25 ตำรับพาราเซตามอล
สำหรับตำรับที่มีคำสั่งให้เพิกถอน ทะเบียนตํารับยาที่มีพาราเซตามอลเป็นส่วนประกอบ ชนิดกินจำนวน 25 ตำรับ มีดังต่อไปนี้
บทความเพิ่มเติม
- 8 กลุ่มยาที่ต้องระวังเกิด ผื่นแพ้ยา ชนิดรุนเเรง SJS และ TEN
- เช็ก 9 อาการแพ้ยาปฏิชีวนะ
- แพทย์เตือนฉีดยาแก้ปวด “ไดโคลฟีเเนค” ทำเส้นประสาทบาดเจ็บ
- ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง กินอย่างไรให้ถูกวิธี ปลอดภัยชัวร์
อ้างอิง
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/226/T_0030.PDF