4 โรคในระบบการหายใจ
แน่นอนว่าระบบทางเดินหายใจ คือส่วนแรกที่ต้องรับมือกับฝุ่นละอองต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 เข้าสู่ร่างกายมากขึ้น จึงเกิดผลกระทบและก่อโรคสำคัญ ได้แก่
โรคภูมิแพ้
คุณหมอนิธิพัฒน์อธิบายว่า ฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ใน 2 กลุ่ม ทั้งในคนที่ป่วยด้วยโรคนี้อยู่แล้ว และคนที่ไม่เคยเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน ดังนี้
“เบื้องต้นต้องเข้าใจก่อนว่า ฝุ่น PM2.5 ส่งผลต่อสุขภาพไม่ต่างจากควันบุหรี่ คือ มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคือง และทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุต่างๆ ตั้งแต่เยื่อบุในตา เยื่อบุจมูก เยื่อบุในลำคอ รวมถึงเยื่อบุหลอดลม หรือบางคนเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ ดังนั้นในส่วนคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้เดิมอยู่แล้วอาการระคายเคืองจากฝุ่น PM2.5 ที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้อาการของโรคยิ่งรุนแรง อาจมีอาการบวมของเยื่อบุต่างๆ มีน้ำมูก น้ำตาเยอะขึ้น หรือบางคนอาจมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนได้
“ขณะที่ในคนที่ไม่มีโรคเกี่ยวกับระบบการหายใจมาก่อน ในช่วงที่ PM2.5 ขึ้นสูงๆ อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง เคืองตา เคืองจมูก เจ็บคอ มีเสมหะหรือไอ และหากยังใช้ชีวิตโดยเผชิญฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่องจะกระตุ้นให้เกิดเป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรังได้ครับ”
โรคไซนัสอักเสบ
เป็นโรคเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ปริมาณฝุ่น PM2.5 ที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลกระทบกับโรคนี้ด้วยเช่นกัน โดยคุณหมอนิธิพัฒน์อธิบายดังนี้
“หากผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบรับฝุ่น PM2.5 อย่างต่อเนื่อง ภาวะของโรคไซนัสจะรุนแรงขึ้น และตามมาด้วยการติดเชื้อจากโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เนื่องจากดังที่กล่าวไว้ว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้เยื่อเมือกต่าง ๆ ระคายเคือง คล้ายกับการทำให้เยื่อเมือกของปอดและหลอดลมถลอก เชื้อโรคก็จะเข้าไปได้ง่ายขึ้น และหากร่างกายกำจัดเชื้อโรคเหล่านั้นจากเยื่อบุไม่ได้ จะเริ่มมีการอักเสบและติดเชื้อวนเวียนไปจนกระทั่งอาการเพิ่มมากขึ้น
“ในบางรายที่ไซนัสอักเสบมากก็จะต้องมานอนโรงพยาบาล ฉีดยาฆ่าเชื้อหรือบางรายต้องส่องกล้องเข้าไปล้างจมูก ที่เกิดภาวะไซนัสอักเสบอุดตันในช่องเปิดของไซนัสเพื่อล้างเยื่อเมือกต่างๆ ที่ไม่สามารถระบายออกได้เอง แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้ผู้ป่วยโรคไซนัสเสียชีวิต”โรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคปอดอักเสบและโรคหลอดลมอักเสบ
ในกลุ่มโรคติดเชื้อระบบการหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน หรือโรคปอดอักเสบและโรคหลอดลมอักเสบจากการติดเชื้อ เกี่ยวข้องกับภาวะฝุ่นPM2.5 อย่างไร คุณหมอนิธิพัฒน์อธิบายดังนี้ค่ะ
“อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ฝุ่น PM2.5 มีฤทธิ์ระคายเยื่อเมือกต่างๆ ทำให้เยื่อเมือกถลอกและเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าไปติดอยู่ได้ง่ายขึ้นดังนั้นหากภูมิต้านทานไม่ดีก็อาจเกิดการติดเชื้อกลายเป็นภาวะหลอดลม
อักเสบหรือปอดอักเสบได้ ซึ่งกลุ่มที่น่าห่วงใยคือกลุ่มของเด็ก ผู้สูงอายุผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีแนวโน้มภูมิต้านทานต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ”