ฝุ่นPM2.5 ฝุ่นละออง ฝุ่นจิ๋ว ฝุ่นละอองจิ๋ว โรคระบบทางเดินหายใจ ฝุ่น

13 โรค เสี่ยงจาก ฝุ่นPM2.5

3 โรคจากภาวะ “หลอดเลือดแข็งตัว”

เราทราบกันดีว่า ฝุ่น PM2.5 ขนาดเล็กตั้งแต่ 2.5 ไมครอนลงไปสามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูกซึ่งเป็นเครื่องกรองอากาศตามธรรมชาติของเรา รวมถึงหน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปเข้าสู่ระบบการหายใจของเราได้

ยิ่งไปกว่านั้นฝุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดต่ำกว่า 1 – 0.1 ไมครอนจะสามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งคุณหมอนิธิพัฒน์อธิบายว่า

“โดยปกติเมื่อมีสภาวการณ์ฝุ่น PM2.5 สูง เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า ปริมาณฝุ่นในอากาศทั้งหมดมีฝุ่นขนาดใด ในจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า มีฝุ่นขนาดเล็กต่ำกว่า 0.1 ไมครอนอยู่จำนวนมากก็เป็นได้

“โดยปกติแล้วฝุ่นขนาด 2.5 – 1 ไมครอนเมื่อผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเรา สุดท้ายจะยังติดสะสมอยู่ที่ถุงลม แต่หากขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอนลงไปจนถึง 0.1 ไมครอน จะสามารถวิ่งผ่านผนังหลอดเลือดในบริเวณที่มีช่องเปิดขนาดพอเหมาะ และเล็ดลอดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยที่ถุงลมปอดของเราไปติดที่เส้นเลือดฝอยเล็กๆ ได้ในทุกอวัยวะทั่วร่างกายซึ่งเมื่อเข้าไปติดอยู่ในเส้นเลือดฝอยก็จะเกิดการระคายเคือง นำไปสู่การอักเสบของเส้นเลือด เริ่มมีพังผืด และทำให้เส้นเลือดบริเวณนั้นแข็งตัวรวมถึงทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่สมบูรณ์ ทำให้อวัยวะทำงานผิดปกติไปด้วย

“ซึ่งในกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นเลือดไม่แข็งแรงอยู่แล้ว อาทิ ผู้ที่ป่วยเป็น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โรคดังกล่าวจะลุกลามแย่ลงและส่งผลเสียในระยะยาว

 

ฝุ่นPM2.5 ฝุ่นละออง ฝุ่นจิ๋ว ฝุ่นละอองจิ๋ว โรคระบบทางเดินหายใจ ฝุ่น

 

“ตัวอย่างเช่น โรคเกี่ยวกับการทำงานของไต ซึ่งไตเป็นอวัยวะที่มีเส้นเลือดฝอยขดตัวอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเส้นเลือดเหล่านี้มีหน้าที่กรองของเสียต่างๆ แล้วขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะโดยเมื่อฝุ่น PM2.5 เข้าสู่กระแสเลือดแล้วไปตกสะสมอยู่ในเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ดังกล่าวจะทำให้หน้าที่การกรองของเสียต่างๆ เสียสมดุลไป

“นอกจากนี้จากการศึกษาชุมชนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตในจังหวัดขอนแก่น พบว่า เมื่อเทียบแผนที่คุณภาพอากาศตรวจย้อนหลังไปหลายปี ในพื้นที่ที่มีคุณภาพอากาศแย่ต่อเนื่อง จะพบจำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่คุณภาพอากาศดีกว่า ซึ่งข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาและไต้หวันก็ให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน”

นอกจากโรคร้ายอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตแล้ว เจ้าฝุ่นตัวร้ายยังเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภัยอย่าง “มะเร็ง” ได้อีกด้วย

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.