ไทรอยด์

ไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ดูแลตัวเองอย่างไร

ไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ดูแลตัวเองอย่างไร

 

คำถาม

  1. หนูเป็นไทรอยด์แบบต่ำค่ะ ฮอร์โมนก้อมีปัญหา ทุกวันนี้ต้องทานยาไทรอยด์และฮอร์โมนเพื่อให้มีประจำเดือน อยากทราบว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะทำให้ระบบฮอร์โมนไทรอยด์ดีขึ้น นอกจากทานยา และมีวิธีดูแลตนเองยังไงบ้าง ขอบคุณนะคะ
  2. มีญาติผู้อาวุโส เป็นไทรอยด์ค่ะ ไปกลืนแร่ มาแล้วไม่หาย ต้องกลับมากินยาต่อ อยากได้วิธีการดูแล ตัวเอง เรื่องอาหารการกิน ลด ละ เลิก อะไรบ้าง…ฝากพี่บก. ช่วยด้วยค่ะ

 

บ.ก.ขอหาคำตอบให้

ไทรอยด์ บ.ก.เคยมีปัญหาค่ะ เป็นก้อนโต และทำงานผิดปกติ กินฮอร์โมน และยาควบคุมการทำงานไทรอยด์อยู่หลายปี แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้น จนกระทั่งมาปรับเปลี่ยนอาหาร เป็นชีวจิต 100% เพื่อแก้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเมื่อมะเร็งหาย ไทรอยด์ก็อันตรธานไปด้วย นั่นหมายความว่า อาหารชีวจิต 100 % แก้ปัญหาไทรอยด์ได้จริง

แต่น้องทั้งสองคนนี้คงอยากรู้ว่า แล้วนอกจากอาหารชีวจิต มีทางเลือกอื่นๆ อีกไหม จากหนังสือ THYROID MIND POWER เขียนโดยคุณหมอริชาร์ด เชมส์ และดร.แคริลี เชมส์ แนะนำหลักคร่าวๆ ของการรักษาโรคไทรอยด์ดังนี้ค่ะ

  1. ต้องมีการปรับยาไทรอยด์เสมอ มิเช่นนั้นยาจะไม่ได้ผล
  2. คนที่ผ่านขั้นตอนการรักษามาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด รังสีบำบัด หรือกินยา ให้รู้ว่าร่างกายจะรับสิ่งเหล่านี้เกินไปกว่านี้ไม่ได้แล้ว จงอย่าพยายามต่อไป มิเช่นนั้นจะเป็นการทำลายร่างกาย ทางที่ดีให้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต
  3. อาการที่เกิดจากความผิดปกติของไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอารมณ์เซื่องซึมหรือร้อนรน ความเงื่องหงอยหรือตื่นเต้นเกินไป สมองและความจำไม่เฉียบคมหรือขาดสมาธิ ร่วมถึงอาการทางกาย เช่น อ้วนหรือผอมเกินไป อย่านิ่งนอนใจ ต้องรักษา โดยใช้วิธีผสมผสานเพื่อรักษาทุกระบบของร่างกาย

ศิลปะ

วิธีผสมผสาน เพื่อรักษาทุกระบบของร่างกาย ทำได้โดย

  1. กินอาหารสุขภาพ นั่นหมายความงดอาหารที่ก่อโทษต่อสุขภาพทั้งหมดด้วย ไม่ว่าจะของทอด ของหวาน แป้งขาว น้ำตาลขาว เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และเครื่องมือที่มีแอลกอฮอล์
  2. คลายเครียดด้วยวิธีต่างๆ เช่น การทำงานศิลปะต่างๆ ฟังเพลง เดินทางท่องเที่ยว ตามแต่ความชอบของแต่ละคน
  3. หมั่นออกกำลังกาย หลายเดือนมานี้ บ.ก.เดินสายสัมภาษณ์คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกกำลังกาย ด้านสมอง ด้านฮอร์โมน ทุกคนต่างแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดเหมือนกันคือ การเดิน เริ่มจากเดินช้าๆ แล้วก็ค่อยๆ เร็วขึ้น โดยต้องทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 4 ครั้งต่อสัปดาห์
  4. รวมกลุ่มทำกิจกรรม หมายความว่า ผู้ป่วยไทรอยด์มาพบกัน เพื่อออกกำลังกายด้วยกัน กินอาหารสุขภาพด้วยกัน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน โดยควรมีผู้ที่มีความรู้ด้านไทรอยด์อยู่ด้วย เพื่อจะได้แนะนำสมาชิกไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการต่อสู้กับโรคไทรอยด์ คุณหมอริชาร์ดผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า ผู้ป่วยไทรอยด์ชาวอเมริกันที่รวมกลุ่มกันมักตำหนิการรักษาของแพทย์ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโรคไทรอยด์
  5. เข้าวัดทำบุญ ทำสมาธิ หรือสวดมนต์ นอกจากวิธีเหล่านี้จะช่วยคลายเครียดแล้ว คุณหมอริชาร์ดยืนยันว่า กิจกรรมที่ช่วย Spirit Growth นั้นจะทำให้เราเข้าใจความเป็นจริงของโลก และสังขารของตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเมตตาต่อร่างกาย และสามารถเข้าใจสัจธรรมการทำงานของร่างกาย นำไปสู่การรักษาทุกระบบของร่างกาย

อ่านต่อหน้าที่ 2

อาหารจำเป็น สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์

ถ้า บ.ก. ไม่หาคำตอบเรื่องนี้มาให้น้องทั้งสอง จะรู้สึกผิดไม่น้อย แต่ถึงอย่างไรก็ยังเน้นย้ำ เรื่องการกินอาหารชีวจิต หรืออาหารสุขภาพ ทุกมื้อ ทุกเมนู โดยคุณหมอริชาร์ด เชมส์ และดร.แคริลี เชมส์ เน้นการกินสิ่งเหล่านี้ให้เยอะหน่อย หรืองดไปเลย

ผักผลไม้

  1. อาหารอุดมไฟเบอร์และแคลอรี่ต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว ธัญพืช ถั่วงอก พรุน ทั้งนี้เพื่อช่วยระบบการขับถ่าย ซึ่งเมื่อร่างกายสามารถขับพิษออกได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกสดชื่น
  2. ลดการกินเนื้อสัตว์หรือเดลี่โพดักซ์ จำพวกนม เนย ชีส ทั้งนี้อาหารเหล่านี้จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน หรืออิมมูนซิสเต็ม เพราะอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันจากสัตว์จะสร้างภาระการทำงานให้ไทรอยด์
  3. กินอาหารปรุงแต่งน้อย ลองกินซุปเปอร์ฟู้ดเปล่าๆ ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งดู เช่น อะโวคาโด ถั่ว เต้าหู้ รวมไปถึงการราดสลัดด้วยน้ำมันมะกอก จะพบรสชาติที่แสนอร่อย ที่แสนดีต่อสุขภาพโดยรวมและไทรอยด์
  4. กินถั่วให้เยอะขึ้น เพราะอาหารเม็ดเล็กจิ๋วจะช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร
  5. งดคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำตาล นั่นหมายความว่า ต้องงดกาแฟ ชาที่มีคาเฟอีน และช็อกโกแลต รวมไปถึงแอลกอฮอล์และน้ำตาล เพราะไอเท็มที่กล่าวมาทั้งหมดมีผลต่อความรู้และอารมณ์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะทำให้อะเลิต ตื่นตัว ซึ่งเป็นการซ้ำเติมอาการทางจิตใจที่มีผลมาจากไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ฮอร์โมนไทรอยด์กับความผิดปกติของ ประจำเดือน

รู้จักไทรอยด์ ตัวปัญหาก่อโรควิตกกังวล นอนไม่หลับ

10 โรค จากเสียสมดุล ต่อมไทรอยด์

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.