ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการนอนหลับของตายาย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการนอนหลับของตายาย

ร่างกายมนุษย์ไม่ได้เหมือนเครื่องจักร เครื่องจักรมีปุ่มเปิด-ปิดทำงาน แต่ร่างกายเราไม่มีปุ่มนั้น ใช้พลังงานตลอดทั้งชีวิต ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งนอนหลับก็มีการเผาผลาญพลังงานในระบบร่างกาย แต่ปัญหาที่พบหลักๆ คือผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น นอนกลางวันมากเกินไป หลับๆตื่นๆช่วงกลางดึก หากปล่อยปะละเลยไม่มีการดูแล หรือแก้ไขปัญหาวิธีการนอนหลับ อาจจะมีอันตรายหรือโรคบางอย่างแฝงตัวอยู่

ปัญหาที่ผู้สูงอายุทุกคนที่มักพบบ่อยคือ อาการ นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ แต่ละคนจะมีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป ลองสังเกตดูนะครับว่า ผู้สูงอายุในบ้านมีพฤติกรรมอย่างนี้บ้างหรือเปล่า

รู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับ, นอนกระสับกระส่าย หลับยาก ใช้เวลานอนกว่าจะหลับนาน, หลับๆตื่นๆกลางดึกบ่อย ตื่นแล้วนอนไม่หลับ, หลับและตื่นนอนไม่ตรงเวลา, งีบหลับ ง่วงนอนตอนกลางวันบ่อยขึ้น แต่กลางคืนกลับไม่ง่วง และร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิ เหมือนนอนไม่พอ

ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุว่า การทำงานระบบในร่างกายของผู้สูงอายุมีช่วงเวลานอนที่สั้นลงกว่าวัยอื่นๆ ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เพราะร่างกายจะผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับนอนลง ถ้าไม่มีการดูแล มาเป็นเวลานานอาจจะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายผิดปกติ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า

ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

ปัจจัยด้านร่างกาย

มีโรคประจำตัว หรืออาการ เจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่นปวดข้อ ปวดหลัง โรคต่อมลูกหมากโต เบาหวาน ไต กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำช่วงกลางดึกบ่อยๆ

ปัจจัยด้านพฤติกรรม

การที่ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ อาจจะเกิดจากการงีบหลับช่วงกลางวันมากเกินไป ทำให้ช่วงกลางคืนไม่ง่วงนอน หรือหลับๆตื่นๆ รวมถึงการดื่มและใช้สารเสพติด ที่มีคาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่ รวมทั้งดื่มแอลกอฮอล์ เป็นสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับหรือตื่นขึ้นมากลางดึกได้

นอน

ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ

ปัญหาทางด้านจิตใจ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ที่เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นอนหลับยาก อาจจะตื่นมากกลางดึก แล้วไม่สามารถนอนต่อได้อีก

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

สภาพแวดล้อมภายนอกทั้งภายในห้องนอน และรอบๆบ้าน ระมัดระวังเรื่องความสะอาด หากมีเสียงดังรบกวน หรือแสงสว่างลอดเข้ามาภายในห้อง รู้สึกรบกวนการนอน ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับนั่นเอง

นี่เป็นเพียงสาเหตุผู้สูงอายุนอนไม่หลับส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เริ่มต้นเรามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อการนอนหลับที่ดียิ่งขึ้นด้วยกันดีกว่าค่ะ

1.กำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาที่สม่ำเสมอ

2.จัดห้องนอนให้ดูผ่อนคลายและสงบ ไม่มีโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแสงไฟจากการชาร์ตแบตเตอรี่ใด ๆ ในห้องนอน อันจะส่งแสงรบกวนการนอนหลับได้

3.ไม่ควรนอนหลับช่วงกลางวัน เพราะอาจทำให้กลางคืนนอนไม่หลับหรือหลับยาก แต่ถ้าหากง่วงมาก ๆ หรือรู้สึกเพลีย สามารถนอนหลับเป็นคาบสั้น ๆ ประมาณ 10-20 นาที ตื่นมาก็จะทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้นได้

4.หากมีโรคทางกายและโรคทางจิต ต้องแก้ไขโรคเหล่านี้เสียก่อน โดยปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคนั้นๆ โดยตรง

นอนไม่หลับ

5.สำหรับสาเหตุที่เกิดจากทางจิตใจ การใช้ธรรมะในทางศาสนาทุกศาสนา เข้าช่วยแก้ไขจะช่วยได้มาก เช่น ปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติตนเพื่อให้นอนหลับอย่างเพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ยาก หรือเป็นปัญหาไกลตัวสำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับสามารถปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ดังกล่าวมาได้ แต่หากปัญหาการนอนหลับยังรบกวนและสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ขึ้นไป

สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ในสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อค้นหาโรคต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ซึ่งการค้นพบสาเหตุโดยเร็วจะทำให้การรักษาง่ายขึ้นมากกว่าการปล่อยปละละเลยจนอาการรุนแรงขึ้น เพราะจะทำให้การรักษายากขึ้นตามลำดับ ดังนั้น ผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตนเพื่อการนอนหลับอย่างมีคุณภาพของตนเอง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้ดูแลสูงวัยที่ป่วยเรื้อรัง กำลังจะหมดไฟ!

“สังคมผู้สูงวัย” เข้าใกล้มาทุกที แล้วแบบนี้เราควรตั้งมือรับอย่างไร?

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.