กินเค็มเสี่ยงโรค

กินเค็ม เสี่ยง 6 โรค ทำลายสุขภาพ

กินเค็ม เสี่ยง 6 โรค ทำลายสุขภาพ

การ กินเค็ม เป็นพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ เพราะรสชาติเค็มในอาหารหลายต่อหลายมื้อที่เราชอบกินนั้น  ไม่ว่าจะในรูปแบบของการปรุงอาหาร และในรูปแบบของเครื่องปรุงรส อาทิ น้ำปลา เกลือ กะปิ หรือแม้กระทั่งผงชูรส เพื่อให้มีรสชาติที่อร่อยกลมกล่อม ถูกปากใครหลายคน ล้วนทำลายสุขภาพได้ในระยะยาว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว โดยข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) เปิดเผยข้อมูลผลสำรวจจากทั่วโลก พบว่า เกลือเป็นวายร้ายทำลายหัวใจ และจากข้อมูล50 ประเทศ ทำให้ทีมวิจัยทราบว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายและเส้นเลือดหัวใจตีบ 15 เปอร์เซ็นต์มีสาเหตุจากการกินเกลือมากเกินไป

โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราต้องการโซเดียมต่อวันเพียง 1 ช้อนชาหรือประมาณ 2000  มิลลิกรัม จากการสำรวจของกรมอนามัยร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าคนไทยส่วนใหญ่รับประทานโซเดียมกันมากถึง 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำ โดยเพิ่มมากยิ่งขึ้นทั้งในรูปแบบของอาหารสดรสจัดหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้ว หากยังไม่หยุดพฤติกรรมเหล่านี้ ก็ย่อมนำพาซึ่งมหันตภัยร้ายต่อร่างกายได้ในภายหลัง

วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 6 โรค ที่ซ่อนอยู่ภายใต้รสชาติเค็มของอาหาร  ซึ่งหากเรากินมากหรือน้อยจนเกินไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้

ขวดเกลือ, เกลือ, กินเค็ม

6 โรค จากการกินเค็ม

  • ความดันโลหิตสูง   หากร่างกายเราได้รับเกลือหรือโซเดียมมากเกินไปจะทำให้มีความดันเลือดสูง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • โรคไต จากการที่มีการคั่งของน้ำและความดันโลหิตสูงนั้น ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น ทั้งยังทำให้ไตเสื่อม และไตวายในที่สุด
  • โรคหัวใจ จากความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ให้หัวใจทำการสูบฉีดเลือดหนักและเร็วมากกว่าเดิม เพราะปริมาณที่มากของโซเดียม ทำให้เกิดภาวะบวมน้ำและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต หากเป็นโรคความดันโลหิตสูงนานและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ผนังหลอดเลือดก็จะถูกทำลายจนนำมาสู่การทำลายอวัยวะในส่วนอื่น ๆ
  • โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจะทำให้กระหายน้ำบ่อย และหากดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้เป็นจำนวนมาก ๆ จะทำให้น้ำหนักขึ้นจากพลังงานส่วนเกิน
  • โรคหอบหืด การกำเริบของโรคหอบหืดมีความสัมพันธ์กับการรับประทานเค็ม หากลดเค็ม อาการหอบหืดก็จะลดการกำเริบได้อีกด้วยกินเค็ม, เสี่ยงโรค

วิธีลดปริมาณเกลือ 

  • เน้นอาหารสดมากกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูป
  • หลีกลี่ยง บริโภคแต่น้อย หรือจำกัดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหาร
  • ชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง เพื่อให้รสไม่จัดเกินไป เพราะจะเกิดโทษต่อร่างกายได้
  • อ่านฉลากโภชนาการเพื่อดูปริมาณของโซเดียม

เมื่อทราบกันแล้ว เราควรลดปริมาณของโซเดียมให้น้อยลง หันมาออกกำลังกาย รับประทานผัก ผลไม้ และดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อการชะล้างเกลือและช่วยลดการบวมน้ำของร่างกาย จากนี้สุขภาพที่ดีของเราก็จะตามมา

 

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มจาก  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ,  กรมอนามัย, สถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ www.thaiquote.org

———————————————————————————————

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

กิมจิ ปลาร้า ความเค็มสูง เสี่ยงโรคเรื้อรัง

อาหารรสเค็ม ส่งผลต่อไตอย่างไรบ้าง

คนไทยกินเค็มกว่าปกติ 2-3 เท่า เสี่ยงโรคเรื้อรัง ไตพังก่อนวัย

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.