ผู้สูงอายุติดเชื้อ โควิด-19 ต้องสังเกตอะไรบ้าง ก่อนสายเกินแก้
ผู้สูงอายุติดเชื้อ โควิด-19 บางครั้งก็มีอาการที่ค่อนข้างดูยาก ซึ่งผู้ดูแลต้องใช้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากกรณีที่ผู้สูงอายุมีการติดเชื้อ อาการอาจไม่ชัดเจนและไม่ตรงไปตรงมา เช่น อาจไม่มีไข้ หรืออาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึมสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองลดลงอย่างรวดเร็ว ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาการจะรุนแรงมากกว่าในวัยอื่นๆ
หลัก 5อ. สังเกตผู้สูงวัย
เราจะดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ไม่ให้เกิดการถดถอยของร่างกาย สมอง และ เกิดความเครียด ระหว่างที่ผู้สูงอายุ
ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้าน โดยยึดหลัก 5อ. ได้แก่ อาหาร ออกก้าลังกาย อารมณ์ เอนกายพักผ่อน ออกห่างสังคมนอกบ้าน ดังนี้
อาหาร
รับประทานอาหารที่สะอาดถูกสุขลักษณะปรุงสุกใหม่ๆไม่รับประทานอาหารที่หวานหรือเค็มเกินไปเน้นอาหารที่มีโปรตีนสูงเสริมภูมิคุ้มกัน และควรให้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามความต้องการของร่างกายและสมอง
ผู้สูงอายุมักมีมีปัญหาสุขภาพในช่องปากซึ่งส่งผลต่อการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงที่ต้องออกมาพบทันตแพทย์ในช่วงวิกฤตนี้ ขอแนะน้าผู้สูงอายุให้รักษาสุขภาพช่องปากโดยใช้สูตร 2 – 2 – 2 ดังนี้
แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง, แปรงฟันนานอย่างน้อย 2 นาที และไม่รับประทานอาหารหลังการแปรงฟัน 2 ชั่วโมง หากมีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออกล้างหลังรับประทานอาหาร และก่อนเข้านอนเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือเหนียว
ออกกำลังกาย
ชวนผู้สูงอายุออกก้าลังกายด้วยท่าง่ายๆเช่น การเดิน หรือแกว่งแขนออกก้าลังกายในบ้านอย่างสม่้าเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 – 60 นาที หรือเท่าที่ท้าได้ตามสภาพของผู้สูงอายุ
อารมณ์
หยุดรับข่าวสารที่มากเกินไป โดยจ้ากัดการติดตามข้อมูลประมาณวันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและตอนเย็นหรือตอนกลางคืน เพื่อป้องกันภาวะวิตกกังวลจากการรับข่าวสารมากเกินไปไม่ควรกังวลหรือตระหนกกับข่าวร้ายให้มาก ผู้สูงอายุคือผู้ที่ผ่านความยากล้าบากและโรคระบาดร้ายแรงต่างๆมาแล้ว ท่านจะเป็นผู้ให้หลักคิดแก่ลูกหลานได้ปรึกษาผู้รู้ใจหรือไว้ใจได้ เช่น ครอบครัว ลูกหลาน ญาติ เพื่อน ๆ เพื่อระบายความไม่สบายใจ ความกังวลและความกลัวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การท้ากิจกรรมที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ มีความถนัด มีความภูมิใจ เช่น ท้าอาหาร เล่นดนตรี วาดรูป อ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ปลูกต้นไม้ ท้าสวนฯลฯ หัวใจส้าคัญที่สุด คือ ต้องรู้ก่อนว่าผู้สูงอายุในบ้านของเราชอบอะไรแล้วหากิจกรรมที่สอดคล้องกับที่เขาชื่นชอบสร้างความสุขให้ตนเองและสมาชิกในครอบครัวท้าสิ่งที่เพลิดเพลินและมีความสุข พูดคุยเรื่องที่ท้าให้มีความสุข สนุกสนาน ดูรูปภาพที่เป็นความสุขของครอบครัว
หากยังไม่ได้ผล ใช้เทคนิคจัดการความเครียด เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนวดคลายเครียดด้วยตนเอง หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ยาเสพติด
โทรปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร. 1323 ถ้าพบว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์ หงุดหงิด ฉุนเฉียว โกรธง่าย สมาธิไม่ดี มีความคิดในแง่ลบ หมกมุ่นแต่เรื่องการระบาด และกลัวว่าตนเองจะติดเชื้อ นอนไม่หลับ ต้องพึ่งเหล้า บุหรี่ ยาและยาเสพติดมากขึ้น
เอนกายพักผ่อน
ผู้สูงอายุต้องพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนส้าคัญมาก ควรให้นอนประมาณไม่เกิน 3 ทุ่ม เพื่อให้พักผ่อนได้เต็มที่ยาวนาน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7 – 9 ชั่วโมง
ออกห่างสังคมนอกบ้าน
ระหว่างมีการระบาดทั้งผู้สูงอายุ และ ผู้ดูแลควรเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านให้มากที่สุดแต่ญาติหรือผู้ดูแลที่ยังต้องออกไปนอกบ้านด้วยเหตุผลความจ้าเป็นต่างๆ ไม่ควรเข้าไปคลุกคลีกับผู้สูงอายุ รักษาระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร และควรใส่หน้าการอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่เข้าไปพูดคุยกับผู้สูงอายุ
หากกังวลใจหรือมีอาการสงสัยเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรคโทร 1422
ข้อมูลจาก
-สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข
-สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
-กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
-สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย
-สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม