อาการนอนกรน อาจลดความต้องการทางเพศ จริงหรือหลอก

อาการนอนกรน อาจลดความต้องการทางเพศ จริงหรือหลอก เรามีคำตอบ

อาการนอนกรน ถือเป็นความผิดปกติของการหายใจในระหว่างนอนหลับ แต่ใครจะรู้ละว่า การนอนกรนอาจเป็นสาเหตุที่ทำเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ ซึ่งวันนี้ เรามีคำตอบจาก รศ. นท. ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาบอกต่อ

อาการนอนกรนบ่งบอกถึงอาการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ทําให้มีอาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการสะดุ้งตื่นบ่อยๆ ทําให้เกิดความเหนื่อยอ่อน ความดันโลหิตสูงสมรรถภาพต่างๆ ในการทํางานลดน้อยลง มีปัญหาทางบุคลิกภาพและการอยู่ร่วมในสังคม นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่น่าสนใจพบว่าอาการนอนกรนมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทําให้ความสนิทสนมใกล้ชิดระหว่างคู่นอนหมดไปและเป็นสาเหตุของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายและสูญเสียความต้องการทางเพศในผู้หญิงตามมา ซึ่งสุดท้ายอาจทําให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา

นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่าน่าจะเกิดจากระดับฮอร์โมนทางเพศ เช่น ฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า เทสโทสเตอโรนจะสูงขึ้นระหว่างนอนและระดับฮอร์โมนลดลงเมื่อขาดการนอนหลับ การนอนกรนเป็นสาเหตุให้ตื่นนอนเป็นระยะๆ และเกิดภาวะอดนอนเรื้อรัง ดังนั้น ภาวะหยุดหายใจชั่วคราว อาจมีผลให้ระดับของฮอร์โมนลดลงโดยตรงและมีผลทําให้เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ในผู้หญิงจํานวน 80 คนที่อายุระหว่าง 28 และ 64 ปี ซึ่งมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เปรียบเทียบกับผู้หญิง 240 คนที่ไม่มีภาวะดังกล่าว พบว่าในผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวมีอัตราของการมีเพศสัมพันธ์ผิดปกติ (sexual disorder) อย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้นักวิจัยยังค้นหาอาการของปัญหาทางเพศในผู้ชายจําานวน 401 คน ซึ่งมาที่คลินิกสําาหรับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ พบว่าผู้ป่วยซึ่งได้รับการวินิจฉัยประมาณร้อยละ 70 มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย

“อาจสรุปได้ว่าภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความสัมพันธ์ของโรคทั้งสองได้รับการวินิจฉัย ได้รับการตระหนัก หรือความเข้าใจยังน้อยอยู่ อาการของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาจกลับมาดีได้ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์หรือความพึงพอใจของผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะมีความรุนแรงของโรคมากเพียงใด หากภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้รับการรักษาด้วยวิธีการ เช่น การใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินหายใจ (Continuous Positive Airway Pressure:  CPAP) เป็นต้น”

ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. นท. ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความอื่นที่น่าสนใจ

“ความดันต่ำ” ภัยเงียบที่คุณอาจเป็นโดยไม่รู้ตัว

อย่ามองข้าม 5 โรคสำคัญทางจิตเวช ที่คนไทยควรรู้

นอนตะแคง ให้ประโยชน์ ลดกรน บรรเทาท้องอืด ลดโรคแทรกซ้อน

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.