วิธีแก้ปวดเมื่อย แก้มก้นและต้นขาที่ตึง จากการนั่งนาน
ออกกำลังกายแก้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อบริเวณก้นและต้นขา จากการนั่งทํางานนานเกินพอดี ด้วยการอกกำลังกายท่าง่ายๆ ตามสไตล์ของคุณเมจิ-อโณมา คุก อดีตนักแสดง ปัจจุบันผันตัวมาเป็นผู้นําเทรนด์ฟิตกล้าม กระชับหุ่น ด้วยวิธีออกกําลังกายและการดูแลเรื่องอาหาร
ทราบหรือไม่ว่า เมื่อคุณนั่งทํางานนานเกินพอดี กล้ามเนื้อต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงกล้ามเนื้อก้นมักตึง อีกทั้งหากปล่อยไว้นานจะเริ่มมีอาการชาปลายเท้าร่วมด้วย คุณเมจิ กูรูด้านการบริหารร่างกายคนเก่งของเรากล่าว “ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะเส้นเลือดใหญ่ที่ส่งเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงขาถูกพับไว้ จากท่านั่งทํางานอย่างต่อเนื่องค่ะ” …แต่ไม่ต้องห่วง อาการนี้แก้ได้ด้วยการบริหารร่างกายท่าง่ายๆ 2 ท่าที่เธอกําลังจะแนะนําพวกเราสาวออฟฟิศทั้งหลายต่อไปนี้ เริ่มเลย!
2 ท่าแก้เมื่อย
ท่าที่ 1
• ยืนตรงในท่าเตรียม
• ยืดแขนไปข้างหน้า ก้มตัวลงโดยในลักษณะพับตัว เกร็งแผ่นหลังให้ตรง ไม่งองุ้ม ฝ่าเท้าแนบติดพื้น
• ขย่มตัวเบาๆ 2–3 ครั้ง (ปลายนิ้วจะแตะพื้นหรือไม่ก็ได้) โดยเกร็งแผ่นหลังให้ตรงเช่นเดิม จากนั้นกลับมาอยู่ในท่าเตรียม ทําซ้ําอีกครั้ง
Tip
คุณเมจิอธิบายว่า การก้มตัวลงด้านหน้า โดยยืดหลังให้ตรงจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อก้นและกล้ามเนื้อขาส่วนหลัง ตั้งแต่กล้ามเนื้อก้นไปจนถึงกล้ามเนื้อแฮม
สตริงได้เป็นอย่างดี
ท่าที่ 2
• ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างวางทาบบริเวณแผ่นหลัง เหนือสะโพก
• หายใจเข้า เกร็งหน้าท้อง งอเข่าพร้อมกับเอนตัวไปด้านหลัง โดยแผ่นหลังยังเป็นเส้นตรง ไม่แอ่นโค้ง เกร็งค้างไว้ครู่หนึ่ง
• หายใจออก พร้อมดึงตัวกลับมายืนในท่าเตรียม ทําสลับข้าง
Tip
คุณเมจิอธิบายว่า การเอนตัวโดยเกร็งหน้าท้องและแผ่นหลังจะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อขาด้านหน้าได้ยืดเพิ่ม การไหลเวียนของเลือดได้เป็นอย่างดีอีกทั้งเธอแนะนําว่า ควรทําท่าบริหารทั้ง 2 ท่านี้ต่อเนื่องประมาณ 1 นาที หรือจนรู้สึกว่าอาการตึงของกล้ามเนื้อก้นและต้นขาดีขึ้น
คุณเมจิบอกว่า นอกจากการนั่งนานจะทําให้ร่างกายส่งเลือดไปไหลเวียนส่วนล่างได้ไม่ดีแล้ว ร่างกายส่วนบนที่ทํางานต่อเนื่องในท่าเดียวนานๆ ก็อาจมีปัญหาไม่ต่างกันดังนั้นการ บริหารร่างกายด้วยท่าเหล่านี้จึงเป็นสิ่งจําเป็นมากๆ
“ท่าบริหารที่เมจิแนะนําไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ ต้องการเพียงพื้นที่ให้พอก้มตัวและเอนหลังได้ จึงอยากให้ทุกคนลุกขึ้นมาทําท่าบริหารนี้ระหว่างการทํางาน วันละ 1–2 ครั้ง
เป็นอย่างน้อย อย่ารอเวลาว่าง จะดีที่สุดค่ะ”
บทความอื่นที่น่าสนใจ