คาร์โบไฮเดรต มีประโยชน์ ถ้ากินเป็น

เชื่อว่าถ้าคนจะเริ่มต้นควบคุมน้ำหนัก สิ่งแรกที่คนจะตัด หรือลดปริมาณการกินในแต่ละวันลง แน่นอนว่าคือ คาร์โบไฮเดรต แต่รู้ไหมคะว่า คาร์โบไฮเดรตมีประโยชน์สูงมาก ถ้ากินเป็น และเลือกกินอย่างถูกวิธี

ประเภทของคาร์โบไฮเดรต

การเลือกกินประเภทของคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญอย่างมากต่อประโยชน์ที่จะได้รับ โดยคาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

สารน้ำตาล ซึ่งพบในอาหารจำพวกแป้งขัดสี ผลไม้รสหวาน ง

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีอยู่ในข้าว ธัญพืช รากพืช หัวเผือก หัวมัน

ความจำเป็นของคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตนั้นแม้จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็มีประโยชน์มากมาย โดยเป็นสารที่ให้พลังงาน หรือแคลอรี นอกจากนั้นมีส่วนสำคัญต่อเซลล์ คือ

  1. สารไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) และไกลโคลิพิด(Glycolipids) ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องเยื่อหุ้ม
  2. สารมิวซิน (Muscin) ทำหน้าที่หล่อลื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อบุผิว
  3. สารมิวโคพอลิแซ็กคาไรด์ (Mucopolysaccharides) เป็นส่วนประกอบสำคัญอยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวกับพังผืด
  4. กรดกลูคูโรนิก (Glucuronic Acid) ทำหน้าที่ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ส่วนคาร์โบไฮเดรตพวกเชลลูโลสที่ไม่ถูกย่อยสลายในทางเดินอาหารจะทำหน้าที่เป็นเส้นใยอาหาร นำพาส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการและสารพิษออกทางอุจจาระ”

เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ลดมะเร็ง 

นักวิทยาศาสตร์แห่งเคมบริดจ์ อังกฤษ ได้รายงานว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรืออาหารประเภทเส้นใยสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ จากการศึกษาวิจัยใ 12 ประเทศซึ่งกินอาหารพวกแป้งขาวหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นหลักในปริมาณต่อวันที่แตกต่างกัน คณะวิจัยได้พบว่า ในกลุ่มประชากรที่กินอาหารจากข้าว ข้าวสาลี มันฝรั่ง หัวเผือก หัวมันมากๆ จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่น้อยลงตามสัดส่วนปริมาณ เช่น คนออสเตรเลียกินคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ยเพียงวันละ 100 กรัมหรือน้อยกว่านั้น  แต่คนจีนกินข้าวซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเฉลี่ยวันละ 370 กรัม ปรากฎว่าคนออสเตรเลียทั้งชายและหญิงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าคนจีนในอัตราประมาณ 4 เท่าตัว

อธิบายได้ว่า มะเร็งเกิดจากการหมักหมมของเกลือ น้ำดี กับแบคที่เรียในลำไส้ได้สารก่อมะเร็ง Dexycholic Acid อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงช้อนสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ได้เนื่องจากเส้นใยอาหารที่ถูกเคลื่อนไปยังลำไส้ใหญ่นั้นช่วยทำให้สารก่อมะเร็งเจือจางลงหรือเกิดขึ้นใหม่ได้น้อย และแป้งจะถูกย่อยสลายโดยปฏิกิริยาการหมักกับแบคทีเรียกลุ่มแล็กโตบาซิลลัส ทำให้เกิดกรดแล็กติก (Lactie Acid) และกรดบิวทีริก (Butyric Acid) ซึ่งเพิ่มฤทธิ์กรดในลำไส้ใหญ่ ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนยังช่วยยับยั้งการเจริญเดิบโตของแบคที่เรียที่สร้างสารพิษอันเป็นสาเหตุของการ ก่อมะเร็งได้

รู้แบบนี้แล้ว การควบคุมน้ำหนักก็ไม่จำเป็นต้องอดอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เพียงแต่ต้องเลือกให้เป็นนะคะ

ที่มา นิตยสาร ชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.