การดูแลผู้สูงวัย มีอะไรบ้างคือสิ่งที่ผู้ดูแลควรต้องรู้!

ผู้สูงวัยส่วนใหญ่มักจะมีสภาพจิตใจเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น โดยหลังเกษียณ อายุการทำงาน ผู้สูงอายุหลายคนรู้สึกว้าเหว่และหมดความสำคัญ เพราะกิจกรรมในชีวิตประจำวันเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีงานประจำให้ทำเหมือนเคย สิ่งเหล่านี้กระทบต่อสภาพจิตใจอย่างมากจนทำให้พฤติกรรมของพวกท่านไม่เป็นเหมือนก่อน และมีความมรู้สึกวิตกกังวลในสิ่งต่างๆ มากขึ้น

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงตามความรู้สึกต่างๆ  

ความวิตกกังวล

ผู้สูงวัยรู้สึกเป็นกังวลกับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยและสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ไม่เหมือนเคย ความรู้สึกดังกล่าวมักแสดงผ่านพฤติกรรมต่างๆ เช่น กระวนกระวาย ซึมเศร้า ขี้เหงา ชอบตำหนิ ขี้สงสัย ดื้อดึง และเอาแต่ใจ เพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้าง

เฉื่อยชา

เมื่อรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอจากโรคภัยต่างๆ และไม่สามารถยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ผู้สูงวัยมักรู้สึกหมดกำลังใจในการมีชีวิตอยู่ และมัวแต่คิดถึงแต่เรื่องความตาย ความเจ็บปวดจนทำให้ตัวเองกลายเป็นคนเฉื่อยชา หมดไฟจนถึงขนาดไม่ยอมทำอะไรด้วยตัวเองและต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในทุกเรื่อง

ดูแลจิตใจผู้สูงวัย1

รู้สึกแปลกแยก

เมื่อไม่ได้ออกไปทำงาน กิจกรรมทางสังคมก็ลดลง ผู้สูงวัยจึงรู้สึกแปลกแยกจากคนในครอบครัวและสังคมรอบข้าง หากปล่อยให้ความรู้สึกเช่นนี้อยู่เป็นเวลานานจะเป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้า คนในครอบครัวควรระมัดระวังเรื่องนี้ให้มาก

ช่างสังเกตดีกว่าท่องจำ         

ข้อดีของการเข้าสู่วัยสูงอายุคือ ความสามารถในการทำความเข้าใจสถานการณ์รอบตัว และช่างสังเกตเพิ่มขึ้น แม้จะจดจำเรื่องใหม่ๆ ได้น้อยลง หากให้เวลาสักหน่อยพวกเขาสามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ งานใหม่ๆ ได้ดีเลยทีเดียว ฉะนั้นการทำงานอาสาสมัครหรือพาร์ตไทม์ที่เหมาะกับวัยเกษียณมีคุณค่ายิ่งขึ้น และควรได้รับการสนับสนุนจากคนในครอบครัว

โรคซึมเศร้าในผู้สูงวัย 

จากการสำรวจสุขภาพจิตของคนไทยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุได้คะแนนต่ำที่สุดเพราะมีสภาพจิตใจที่เปราะบางและไม่มีความสุข ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ง่าย การสูญเสียสถานะทางสังคม สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และความเสื่อมถอยของร่างกาย คือสาเหตุหลักที่ทำให้จิตใจของพวกเขาแย่ลง

อาการของโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยที่สามารถสังเกตได้ภายนอกมีดังต่อไปนี้

1.หูอื้อ ตาลาย มือเท้าชาจากความเสื่อมถอยของระบบประสาท

2.ปวดหัว ปวดเอว มวนท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุ

3.ความวิตกกังวลเรื่องสุขภาพของตัวเองมากเกินไป ทั้งที่ได้รับการตรวจจากแพทย์แล้วไม่มีอะไรผิดปกติ

หากพบว่าผู้สูงอายุในบ้านมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรเฝ้าระวังหรือปรึกษาแพทย์แต่เนิ่นๆ

ดูแลจิตใจผู้สูงวัย2

โรคซึมเศร้าและสมองเสื่อม

คนมักเข้าใจผิดว่าโรคซึมเศร้ากับโรคสมองเสื่อมในผู้สูงวัยป็นโรคเดียวกัน เพราะมีอาการเบื้องต้นคล้ายคลึงกัน เช่น ความจำถดถอย เสียสมาธิและหงุดหงิดง่าย ผู้สูงอายุอาจเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หรือเป็นทั้งสองโรคพร้อมกันได้ด้วย หากสังเกตเห็นความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ ควรขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.