วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย สดใส แข็งแรง ไม่เจ็บโน่นปวดนี่ให้รำคาญใจ
วิธีชะลอวัย เพื่อผู้สูงวัย ต้องทำอย่างไร หลายคนขวนขวายหาทางหยุดความเสื่อมของสุขภาพไว้ที่วัยซึ่งแข็งแรงที่สุด โดยมีตัวช่วยเป็นมีดหมอ ยา เทคโนโลยี ซึ่งก็มักมีผลข้างเคียงร้ายแรงแถมมาด้วยเสมอ วันนี้ เราจึงมีแนวทางธรรมชาติเข้ามาดูแลสุขภาพตัวเองมาฝาก
รู้ได้อย่างไรว่าร่างกายเสื่อม
คนเราปกติมักสามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีคุณภาพตามหลักพื้นฐานของปัญจกิจ ได้แก่ กิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย และทำงาน แต่เมื่อวัยเพิ่มขึ้นจนแตะมาตรฐานสังคมที่บอกไว้ว่า คนที่มีอายุเลยวัยเกษียณคือ 60 ปี (ปัจจุบันลดลงเหลือ 55 ปี) ก็ให้ถือได้ว่าเป็นวัยผู้สูงอายุ แต่ถึงอย่างนั้น เรื่องสุขภาพก็ใช่ว่าจะวัดกันที่อายุ บางคน 60 แล้วยังแข็งแรง สุขภาพดี แต่บางคนอายุยังไม่ทันถึง 30 กลับป่วยกระเสาะกระแสะ หากยังไม่แน่ใจว่าร่างกายตัวเองเสื่อมหรือยัง สามารถสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้ คือ
ทำงานได้น้อยลง งานที่เคยทำเป็นปกติทุกวันก็มักจะใช้เวลาในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ไม่กระฉับกระเฉงเหมือนก่อน
หลงๆ ลืมๆ อาการหลงลืมเป็นอีกสัญญาณเตือนอย่างหนึ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่าเวลาของคุณมาถึงแล้ว เมื่อใดที่คุณเริ่มนึกชื่อเพื่อนหรือญาติที่ไม่ได้เจอกันนานไม่ออก ลืมของที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น แว่นตา หมวก ไม้เท้า ก็ให้มั่นใจได้เลยว่า ความเสื่อมมาเยือนคุณแล้ว
ไม่สบายบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายถูกใช้งานมาเป็นเวลานาน จึงทำให้สึกหรอ เมื่อไม่สบายบ่อยๆ และเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูก ความดัน เบาหวาน ก็ให้สันนิษฐานได้เลยว่าร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพและควรดูแลตัวเองเป็นการด่วน
ปัญหาทางใจ
ความเสื่อมของวัยนอกจะนำปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บมาให้แล้ว ยังนำพาปัญหาทางด้านจิตใจมาให้เราได้วิตกกังวลอีกด้วย ทั้งนี้ปัญหาทางด้านจิตใจนับว่าเป็นตัวการสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้อายุของเราสั้นลง
คุณทิพย์ แก้วบูชา อดีตพยาบาลผู้คลุกคลีกับผู้สูงอายุมาเป็นเวลานานกล่าวว่า ผู้ที่อยู่ในวัยร่างกายเสื่อมแทบทุกคนจะมีปัญหาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในส่วนปัญหาด้านจิตใจซึ่งส่วนใหญ่ที่พบนั้นจะเป็นปัญหาพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอ แต่แสดงออกได้ชัดเจนในวัยสูงอายุ มีดังต่อไปนี้
อ่านต่อหน้า 2