เพนนิซิลลิน

HOW TO CHECK คุณแพ้ยา “เพนนิซิลลิน” จริงไหม?

HOW TO CHECK คุณแพ้ยา “เพนนิซิลลิน” จริงไหม?

กราบเรียนคุณหมอสันต์ หนูอายุ 28 เป็นโรคไฟลามทุ่ง หมอต้องนัดไปฉีดยาที่โรงพยาบาลทุกวัน หมอบอกว่า ที่ต้องมาฉีดยาทุกวัน เพราะหนูแพ้ “เพนนิซิลลิน” จึงใช้ยากินไม่ได้ ต้องใช้ยาฉีดแทน ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยหนูได้ยาเพนนิซิลลินแล้วเกิดแพ้ เวียนหัว ตาลาย อาเจียน ตั้งแต่นั้นมาจึงบอกหนูทุกครั้งว่า แพ้เพนนิซิลลิน แต่ถ้าต้องมาฉีดยาอื่นแทนที่จะรักษาด้วยยากินได้อย่างนี้ หนูควรจะลองไช้ยาเพนนิซิลลินใหม่ได้ไหมคะ จะมีอันตรายถึงตายหรือปล่า ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ

A : เป็นธรรมดาครับ เมื่อผู้ปวยคนไหนถูกติดป้ายแพ้เพนนิซิลลินแล้ว ทั้งหมอ ทั้งคนไข้ก็จะเกิดอาการอึขึ้นสมอง คือ กลัวยาเพนนิซิลลินมาก มาดูหลักฐานวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้กันหน่อยดีไหม เรากลัวอะไร หรือเราแค่กลัวผีที่ไม่มีอยู่จริง

เอาในกรณีของคุณก่อนนะ ผมวินิจฉัยทางอากาศตามข้อมูลที่คุณให้มาได้เลยว่า คุณไม่ได้แพ้ยาเพนนิซิลลินดอก เพราะ อาการที่คุณเล่ามา หลังการได้ยาเพนนิซิลลินที่ว่า เวียนหัว คลื่นไสั อาเจียนนั้น เป็นอการผลข้างเคียง (Side Effect) ของยา ไม่ใช่
ปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic Reaction) อาการที่คุณเล่ามานั้นเป็นอาการของระบบทางเดินอาหาร ไม่ใช่อาการของระบบภูมิคุ้มกัน

ในกรณีผู้ป่วยอื่น ๆ ที่ถูกติดป้ายแพ้เพนนิซิลลิน งานวิจัยพบว่า หากตั้งใจซักประวัติเป็นขั้นตอนจริงจังก็จะพบว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้แพ้เพนนิชิลลินดอก ปลดป้ายแพ้ยาออกได้เลย การชักประวัติ เป็นขั้นตอนจริงจังนี้ หากพยาบาลที่โรงพยาบาลไม่มีเวลาชักจริงจัง คุณชักตัวเองก็ได้ ดังนี้

  1. ตอนแพ้อายุเท่าไร (ถ้าแพ้ตอนอายุน้อยหรือนานมาแล้วก็มีแนวโน้มจะเชื่อไม่ได้)
  2. แพ้ยาอะไร ชื่อจริงชื่ออะไร ชื่อการค้าชื่ออะไร ยากินหรือยาฉีด (พราะยาบางตัว เอ่ยชื่อมาก็รู้แล้วว่าไม่ใช่เพนนิชิลลิน ยาบางตัว เช่น เบต้าแลคแตม ไม่ได้ชื่อเพนนิซิลลิน แต่เป็นเพนนิชิลลิน)
  3. ได้ยานานแล้งกี่ชั่วโมงกี่วันจึงมีอาการแพั (ตรงนี้เพื่อแยกเป็นแพ้แบบเฉียบพลันหรือไม่เฉียบพลัน)
  4. อาการที่แพ้เป็นอย่างไร หอบไหมหายใจเสียงวี้ดไหม ปากบวมเจ่อ หรือหน้าและคอบวมไหม มีผื่นผิวหนังหรือเปล่า เป็นแบบลมพิษ หรือแบบหนังไหม้แล้วหลุดลอก มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรือเปล่า (ตรงนี้เพื่อแยกว่าอาการเป็นการแพ้จริง หรือเป็นผลข้างเคียงของยา ถ้าคลื่นไส้อาเจียนก็เป็นผลข้างเคียงยา)
  5. หลังแพ้เพนนิซิลลินแล้วเคยได้ยาเบต้าแลคแตม (Betalactam) หรือเปล่า เคยได้ยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) หรือเปล่า (เพราะหากแพ้เพนนิชิลลินก็มักแพ้สองกลุ่มนี้ด้วย ถ้าไม่แพ้สองกลุ่มนี้ ก็มีแนวโน้มว่าอาจไม่ได้แพ้เพนนิซิลลินจริง)

ถ้าซักประวัติได้ว่าแพ้เพนนิชิลลินจริง ขั้นต่อมาก็มาแยกแยะว่า แพ้แบบเยบพลัน (ช็อก) หรือแบบรุนแรง (ผื่นหนังไหม้และลอก) หรือแพ้แบบเบาะ ๆ หากแพ้แบบเบาะ ๆ ผมแนะนำให้ทดลองกินยาเพนนิชิลลินดูใหม่ เพราะงานวิจัยพบว่าคนที่เคยแพ้เพนนิชิลลินจริง ๆ จะจะแน่นอนแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเปลี่ยนแปลงกลายเป็นหายแพ้ไปเอง กล่าวคือ งานวิจัยติดตามดูคนแพ้เพนนิชิลลินไปห้าปีแล้วลองให้กินยาใหม่ พบว่า ครึ่งหนึ่งหายแพ้ไปแล้ว และเมื่อติดตามดูไปสิบปี แล้วลองให้กินยาเพนนิซิลลินใหม่ ก็พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ หายแพ้ไปแล้ว

ฉะนั้น การแพ้ยา เช่น แพ้เพนนิซิลลินนี้ มันไม่ใช่อะไรที่ถาวร มันหายแพ้ได้ คนที่ไม่รู้ความจริงตรงนี้ ก็จะกลัวยาเพนนิชิลลินชนิดอึขึ้นสมองไปตลอดชีวิต ถึงแม้ว่าหากชักประวัติได้ว่าแพ้แบบเฉียบพลันหรือรุนแรง ผมก็ยังยืนยันแนะนำให้ทำการตรวจภูมิแพ้ ด้วยวิธีฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง(Penicillin Allergy Skin Testing : PAST) ในโรงพยาบาล เพราะงานวิจัยพบว่า ใน 100 คน ที่มีประวัติว่าแพ้เพนนิซิลลินที่เข้าทำการตรวจ PAST นั้น 98 คน ได้ผลตรวจว่าไม่ได้แพ้ยาเลย มีที่แพ้จริง ๆ แค่ 2 คน หรือ 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนอีก 98 เปอร์เซ็นต์ปลดป้ายแพ้เพนนิชิลลินทิ้งได้เลย

สรุปว่า ผมเดาเอาว่า คุณไม่ได้แพ้เพนนิชิลลิน ให้คุณไปให้ประวัติหมอใหม่ว่า ตอนนั้นคุณกินเพนนิซิลลินแล้วคลื่นไส้อาเจียน ขอให้เอาประวัติแพ้เพนนิชิลลินของคุณออกเสีย ถ้าหมอเขากลัวก็ขอทำทดสอบ PAST

ถ้าหมอก็ไม่กลัว คุณก็ไม่กลัว ก็กลับไปกินยาเพนนิซิลลินใหม่ได้เมื่อใดก็ตามที่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องกิน

เรื่อง นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 527 – 22 สมุนไพรไทย ยาอายุวัฒนะใกล้ตัว

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กันยายน 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

เจาะลึกการดูแลผิว บำรุงข้อ ด้วยการ ใช้คอลลาเจน

เพิ่มคอลลาเจนให้ผิวด้วยครีมบำรุง ที่มีส่วนผสมช่วยชะลอการเกิด ริ้วรอย

กินคอลลาเจน ได้ง่ายๆ หน้าเด้ง อ่อนกว่าวัย ด้วยอาหารผิวจากธรรมชาติ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.