ข้อเข่าเสื่อม-โรคหน้าหนาว-ผู้สูงอายุ-

รับมือหน้าหนาว โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

 โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

เมื่ออากาศหนาวมาเยือน ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุ เสื่อมถอยลงกว่าวัยปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวคือ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากอาการมักกำเริบเมื่ออากาศหนาวเย็น

โรคข้อเข่าเสื่อม, ปวดเข่า

อาการข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี พบมากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ส่วนใหญ่เป็นทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากเมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมอีกใน 11 ปีต่อมา

สำหรับอาการระยะแรก ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อม จะเริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน ขึ้นลงบันได และเมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า หลังจากนั้นหากอาการรุนแรงขึ้น อาการปวดก็จะมากตามไปด้วย บางครั้งปวดเวลากลางคืน หรือมีอาการปวดรุนแรงหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า นอกจากนี้อาจมีการอักเสบ ข้อบวม ร้อน เป็นต้น

ปวดเข่า, ข้อเสื่อม, เข่าเสื่อม

ดูแลผู้สูงอายุ ข้อเข่าเสื่อม อย่างไรดี เมื่อถึงหน้าหนาว

นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ช่วงการเปลี่ยนผ่านฤดูกาลส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็น ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รู้จักกันดีคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of knee) ศาสตร์การแพทย์แผนไทยเรียกว่า โรคลมจับโปง มีวิธีบรรเทาอาการ ดังนี้

1. การนวดรักษาเฉพาะจุด เพื่อส่งเลือดให้ไปเลี้ยงบริเวณข้อเข่ามากขึ้น ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อ และกระตุ้นระบบไหลเวียนบริเวณข้อเข่าให้ดีขึ้น หลังจากนั้นจะทำการประคบสมุนไพร หรือใช้ยาพอกเข่าเพื่อลดการอักเสบและอาการปวดเข่า

2. ใช้ยาสมุนไพรที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ เช่น ยาสมุนไพรเถาวัลย์เปรียงที่มีการศึกษาวิจัย พบว่า สามารถลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการปวดได้ผลดีเหมือนยาแก้อักเสบแผนปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดการสะสมของสารเคมีในร่างกาย

3. ดูแลร่างกายและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงของการเกิดโรค เช่น การไม่ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดแรงกดต่อข้อเข่ามากเกินไป

4. หลีกเลี่ยงการรับประทานประเภทหน่อไม้ เครื่องในสัตว์ และอาหารหมักดอง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เพราะจะยิ่งส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อ และข้อบวมได้

5. ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยกลุ่มอาหารที่ช่วยบำรุงข้อ ได้แก่ อาหารจำพวกธัญพืช เมล็ดถั่ว เมล็ดงา

6. ออกกำลังกายเป็นประจำ ส่วนผู้มีน้ำหนักมากไม่ควรออกกำลังกายด้วยการวิ่ง หรือกระโดด เพราะจะยิ่งสร้างแรงกดต่อข้อเข่า ควรใช้การว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอากาศ หรือการทำท่ากายบริหารแบบฤาษีดัดตน

7. ควรพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 6-8 ชั่วโมง และรักษาความอบอุ่นของร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ หากท่านใดสนใจสอบถาม

ข้อมูลเพิ่มเติม

www.dtam.moph.go.th
med.mahidol.ac.th

———————————————————————————————————————-

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อากาศหนาวเย็น สำหรับผู้สูงวัย ดูแลป้องกันอย่างไร ไม่ให้ป่วยเป็น โรคหน้าหนาว
5 สมุนไพรบำรุงกระดูกตา-ยาย
10 วิธีป้องกันกระดูกหักในผู้สูงวัย
6 สัญญาณบอกอาการเข่าเสื่อม
กินอยู่อย่างไรไม่ให้…เสื่อม

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.