5 สมุนไพรบำรุงกระดูกตา-ยาย
วัยสูงอายุนั้นเป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมโทรมในหลายด้านมีปัญหาสุขภาพและโรคประจำตัวต่างๆมากมาย ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคผู้สูงอายุนั้นนอกจากยาแผนปัจจุบัน ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนเงินมากมายแล้ว สมุนไพร จำนวนมากสามารถใช้ทดแทนได้ดีและใช้กันมาแล้วหลายชั่วอายุคน
ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน เนื่องจากเซลล์ของกระดูกมีการสลายมากกว่าการสร้างโรคกระดูกพรุนพบในหญิงมากกว่าชายการสูญเสียแคลเชียมที่กระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกหักง่ายการได้รับแคลเซี่ยมที่เพียงพอจะช่วยเพิ่มความแน่นของกระดูกดังนั้นผู้สุงอายุควรได้รับอาหารที่มี แคลเซี่ยมเพียงพอประมาณวันละ 800 มิลลิกรัม แคลเชี่ยมมีมากในน้ำนม ปลาป่น กุ้งแห้ง และผักใบเขียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูง โดยไม่ต้องไปหายาบำรุงแพงๆ ไม่ต้องหาอาหารเสริมราคาสูง แค่ใช้สมุนไพรในครัวเรือน ก็เสริมสร้างสุขภาพของญาติผู้ใหญ่ที่คุณรักได้แล้วค่ะ
เราควรมารู้จัก 5 สมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพกระดูกกันดีกว่า ใช้ทดแทนได้ดีและใช้กันมาแล้วหลายชั่วอายุคน
ผักกระเฉด
ผักกระเฉด พืชผัก สมุนไพร สรรพคุณ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉด เป็นผักที่เจริญเติมโตในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำเรียกว่า “นมกระเฉด” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด มีคุณสมบัติทำให้ต้นลอย
นักโภชนาการพบว่าในผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด
ยอ
สมุนไพรใกล้ตัว ถูกนำมาใช้ทำอาหาร หรือทำเป็นยาพอกแก้ปวด แก้เคล็ดขัดยอก ผลยอสุกนำมาใช้รับประทานได้ ลูกยอบดใช้ทาผิวหนังฆ่าเชื้อโรค ในปัจจุบันมีการนำยอมาใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น โรคเก๊าต์ โรคความดันโลหิตสูง อาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ โรคปวดในข้อ เป็นต้น
ช้าพลูหรือชะพลู
ใบช้าพลูนิยมใช้เป็นผักรับประทานกับเมี่ยงคำ ส้มตำ ข้าวยำ และใช้ทำแกงเลียง ในใบประกอบด้วยแคลเซียมในปริมาณสูง (601 มก./100 ก.) และยังพบธาตุฟอสฟอรัส เหล็ก และ ไวตามินต่างๆ ใบช้าพลูมีปริมาณสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (691 มก./100 ก.) จึงไม่ควรรับประทานเป็นประจำนะคะ
ส่วนสรรพคุณทางยา ตำราไทยใช้ราก ใช้ใบช้าพลูเป็นยาขับลม ทั้งต้นใช้ใบขับเสมหะ รากและผลใช้รักษาบิด ใบมีรสเผ็ดเล็กน้อยใช้แก่ธาตุพิการ บำรุงธาตุ คุมเสมหะให้ปกติ แก้จุกเสียดค่ะ
มะขาม
ฝักมะขามอ่อนมีแคลเซียมสูง (429 มก./100 ก.)ทางด้าน อาหารใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอก ฝัก ฝักแก่ และอ่อนของ มะขาวเปรี้ยวเป็นอาหาร ยอดอ่อนใช้ปรุงแกง ดอกใช้ยำ ส่วนฝักอ่อนใช้ตำน้ำพริก เนื้อในฝักแก่มีรสเปรี้ยว เปรี้ยวอมหวาน หรือหวาน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ รับประทานเป็น ผลไม้ หรือใช้ปรุงแต่งรสเปรี้ยวในอาหาร
มะขามมีสรรพคุณทางยา มากมาย อย่างมะขามเปียกใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอ ขับเสมหะ ฝักอ่อนมีแคลเซียม และวิตามินสูง บำรุงกระดูก และช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน
แค
มีหลากหลายชนิดทั้งแคบ้าน, แคแดง ส่วนของยอดแค มีแคลเซียมสูง(395 มก./100 ก.) นิยมนำมาลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกดอกแคนิยมใช้ปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม และใช้ลวกเป็นผักจิ้ม
สรรพคุณทางยา ยอดอ่อนใช้รับประทานแก้ไข้หัวลม (ไข้ที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง) เปลือกต้นมีรสขมฝาดใช้แก้ท้องเสีย น้ำต้มเปลือกใช้ล้างบาดแผล
จะเห็นได้ว่า การรักษาด้วยการใช้สมุนไพรไทยจากธรรมชาติ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่อาจช่วยบำรุงกระดูกผู้สูงอายุได้ไม่มากก็น้อย แต่สำหรับคนที่ยังไม่เป็นโรค การทำความรู้จักสมุนไพรไว้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการดูแลตัวเองได้ค่ะ
ข้อูลประกอบจาก: คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ