สมุนไพร ลดความดัน ผัก

7 ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง คุณค่าที่ควรปลูกไว้ติดบ้าน

ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ผัก สมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะ สมุนไพร ของไทยที่มีมากมายหลายชนิดให้เลือกกิน ข้อมูลจากบทความเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงด้วยเทคนิคการแพทย์ผสมผสาน” โดยสำนักการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข แนะนำผักและสมุนไพรใกล้ตัวที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้ปรุงอาหารในชีวิตประจำไว้อย่างหลากหลาย เป็นตัวเลือกเพื่อสุขภาพชั้นดีจำนวน 7 ชนิด ดังนี้

1.กระเทียม

ช่วยฆ่าเชื้อโรค บำรุงหัวใจ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ลดอาการเส้นเลือดตีบ ลดระดับคอเลสเตอรอล และความดันโลหิตได้นำกระเทียมสดมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่ในผัดผัก ตำกับรากผักชีและพริกไทยใช้ปรุงน้ำแกง ใส่ในยำหรือน้ำพริก

2. กระเจี๊ยบแดง

กลีบเลี้ยงหรือดอกมีสารสีแดงชื่อแอนโทไซยานิน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานของหลอดเลือดแดง มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับยูริค ช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยนำมาต้มเป็นชาสมุนไพร ดื่มวันละ 2 – 3 แก้ว ข้อควรระวัง ห้ามใช้ในผู้ป่วยเป็นโรคไต เพราะกระเจี๊ยบมีโพแทสเซียมสูง

กระเจี๊ยบ, ล้างพิษในระบบปัสสาวะ, สมุนไพร, ล้างพิษ, ดีท็อก

3. ขึ้นฉ่าย

มีฤทธิ์เย็น ขับปัสสาวะ ลดบวม ลดความดันโลหิต ทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว ต้านการอักเสบ ขับประจำเดือน แนะนำให้ใช้ปรุงอาหาร เช่น ใส่ในแกงจืด สุกี้ หรือผัด
ปลาใส่ขึ้นฉ่ายและขิง วันละไม่เกิน 4 ต้น

4. ใบบัวบก

สำหรับใบบัวบก เป็นทั้งผักและสมุนไพร มีฤทธิ์เย็น บำรุงหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดดำ และเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดอาการอักเสบ เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง แก้ไข้ แก้ร้อนใน บำรุงหัวใจ ฟื้นฟูสุขภาพและคลายเครียด ประโยชน์ทางอ้อมช่วยลดความดันโลหิตได้อีกทางหนึ่ง ใช้ใบสดคั้นน้ำดื่ม กินวันละ 1 – 2 แก้ว

บัวบก

5. มะรุม

ใบและรากช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยต้านการอักเสบ ต้านมะเร็ง ลดไขมัน ป้องกันตับอักเสบ ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด พบสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต เช่น Niazinin A, Niazinin B, Niazimicinและ Niaziminin A and B นำใบอ่อนและฝักอ่อนของมะรุมมาปรุงอาหาร เช่น ฝักอ่อน
นำมาแกงส้มหรือต้มจิ้มน้ำพริก ใบอ่อนนำมาลวกหรือชุบแป้งทอดกินเป็นผักคู่กับน้ำพริกได้ ข้อ ควรระวัง ห้ามใช้ในหญิง ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยตับอักเสบ ที่มีค่าตับผิดปกติ และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

 

6. ตะไคร้

ขับเหงื่อ แก้หวัดลมเย็น ลดปวดศีรษะ ขับปัสสาวะ และช่วยลดความดันโลหิตได้ ใช้ชงเป็นชาสมุนไพรดื่มวันละ 2 – 3 แก้ว หรือจะนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้เป็นกลิ่นบำบัด
เช่น หยดลงในเตาน้ำมันหอมระเหย เพื่อปรับอากาศในห้องให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด ซึ่งช่วยลดระดับความดันโลหิตทางอ้อมได้

7. ใบมะกรูด

ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ มีเบต้าแคโรทีนสูง ชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ต้านเชื้อวัณโรค แก้อาเจียน ลดอาการช้ำใน และลดความดันโลหิตได้ ใบแก่
ใช้ต้มเป็นชาสมุนไพร ดื่มวันละ 2 – 3 แก้ว หรือนำมาปรุงอาหาร เช่น ใส่ในต้มยำ หั่นฝอยตกแต่งในอาหารประเภทพล่า ห่อหมก แกงเผ็ด

ผัก สมุนไพร ลดความดันโลหิตสูง เป็นเพียงเเค่ส่วนหนึ่งของการกินเพื่อป้องกันโรค เเต่อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการอื่นอีกด้วยที่จะช่วยสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เเละช่วยลดความดันได้ เช่น การออกกำลังกายโดยวิธีการเฉพาะ  วิธีการนั่งสมาธิช่วยลด ความดันโลหิตสูง เเละการเลือกกินเมนูอาหาร Dash Plane

ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 521 (16 มิถุนายน 2563 เกรท-สพล) รับรองว่าเราจะได้คู่มือสุขภาพ เพื่อดูแลคนในครอบครัวได้ตลอดไป

อ่านเพิ่มเติม

โรคเกาต์พ่วงความดันสูง ดูแลตัวเองอย่างไร แพทย์มีคำแนะนำ

กรมการแพทย์เตือน กินเกลือเกิน 1 ช้อนชา ส่งผลโรคความดัน หัวใจ ไต

เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ราคาไม่แพง

เหตุผลดีๆ ของการมีเครื่องวัดความดันติดบ้าน เพื่อคุณภาพชีวิตของทุกคนในครอบครัว

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.