เข่าเสื่อม

6 สัญญาณบอกอาการเข่าเสื่อม

6 สัญญาณบอกอาการเข่าเสื่อม

พูดถึงอาการ ข้อเข่าเสื่อม คือ การเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50-60  ปีขึ้นไป เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าที่ช่วยในการพยุงหัวเข่าอ่อนแอลง ภาระการรับน้ำหนักจึงตกไปอยู่ที่ข้อเข่ามากขึ้น และยิ่งถ้ามีน้ำหนักตัวมาก ก็จะยิ่งทำให้กระดูกข้อต่อและกระดูกอ่อนของหัวเข่าเสื่อมสภาพลงเร็วขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดข้อเข่า ปวดขาเวลาเดินหรือยืนนานๆ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินไปจนถึงจุดที่เดินไม่ไหวและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ลองสังเกตหัวเข่าของตัวเองหรือคนใกล้ตัวว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากมีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนลุกลาม

วันนี้เรามี บทความเรื่อง โรคเข่าเสื่อม โดย หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระบุว่า หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

สัญญาณขั้นต้น

หากพบอาการในข้อ 1 – 3 แสดงว่ายังพอแก้ไขทัน แต่ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคข้อ เพื่อช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อโดยตรงให้เร็วที่สุด

  1. ปวดข้อเข่า โดยรู้สึกเมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า 2. ข้อเข่าขัด 3. เดินหรือเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่

สัญญาณเร่งด่วน

หากพบอาการข้อ 4 – 6 ดังต่อไปนี้ แสดงว่ามีอาการโรคข้อเสื่อมค่อนข้างมาก โปรดอย่านิ่งนอนใจ เพราะยิ่งปล่อยทิ้งไว้จะทำให้รักษาลำบาก

  1. ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อเข่า 5. มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า 6. เข่าคดผิดรูปหรือเข่าโก่ง

กรณีที่มีภาวะน้ำหนักเกินต้องควบคุมน้ำหนัก เพื่อช่วยลดภาระที่ข้อเข่าควบคู่กับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางโรคข้อไปด้วยค่ะ

ปวดหัวเข่า

ทีนี้เราลองมาดูเทคนิคหรือเคล็ดลับการถนอมข้อเข่า ที่เรารวบรวมมาฝากกัน

เริ่มจากการควบคุมน้ำหนักตัว เพราะเมื่อข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น รวมถึงอย่าใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก การนั่งยองๆ ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบนานๆ หรือบ่อยครั้ง หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น

การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือกีฬาที่ใช้แรงปะทะ อาจทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมาก หรือเกิดการยืดหดของเข่าถี่เกินไป เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน และหมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดภาระของข้อเข่า บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าอย่างสม่ำเสมอ ถ้าอาการไม่ทุเลาควรปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตามหากใครมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับข้อเข่ามากๆ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี เพราะข้อเข่าเป็นอวัยวะสำคัญที่รองรับการทรงตัว อย่าชะล่าใจและปล่อยทิ้งไว้จนยากต่อการรักษาและฟื้นฟูค่ะ

 

(อ่านเพิ่มเติม   ข้อเข่าเสื่อม อาการ เป็นอย่างไร ใครมีข้อสงสัย เรามีคำตอบ)

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

กินอยู่อย่างไรไม่ให้…เสื่อม

สูตรเพิ่มชีวิตชีวา อายุยืน ไม่มีโรค

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.