เมนูสุขภาพ ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วแบนต้ม ช่วยปรับสมดุลให้ร่างกาย
แพทย์แผนจีนใช้แนวคิดทฤษฎีหยิน – หยางและทฤษฎีปัญจธาตุมาอธิบาย ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในจักรวาล ครอบคลุมถึงความสัมพันธ์ ระหว่างอวัยวะภายในกลวงและตัน (จั้งฝู่) ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งหยิน – หยางคือภาวะสมดุล ภาวะพลังมากหรือพลังน้อย ภาวะร้อน หรือเย็น ส่วนปัญจธาตุหรือธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ไม้ ไฟ ดิน ทอง น้ำ
การสร้างสมดุลของอวัยวะภายในซึ่งควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย เป็นการปรับสร้างภาวะและเงื่อนไขให้ร่างกายทำงานอย่างสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เพื่อการเยียวยาและรักษาตัวเองอย่างดีที่สุด
สีต่างๆของอาหารมีผลต่ออวัยวะภายในที่แน่นอน เมื่อรับประทานเข้าไปจะมีผลในการปรับสมดุลหยิน – หยาง (ความร้อนและความเย็น) และปรับความสัมพันธ์ระหว่างของอวัยวะภายในตามหลักการเกิด (การเสริม) และการข่ม (การควบคุม) ตามหลักของปัญจธาตุ
อาหารสีเขียว แทนธาตุไม้ (เกี่ยวข้องกับตับ ถุงน้ำดี เอ็น) มีสรรพคุณ เข้าเส้น ลมปราณตับ บำรุงตับ มีส่วนประกอบวิตามินจำนวนมาก ผักสีเขียว เช่น กุยช่าย มีฤทธิ์ร้อน (บำรุงหยางให้เกิดพลัง อุ่นร้อน) บำรุงตับและเสริมบำรุงไต (ตาม หลักการเกิดของทฤษฎีปัญจธาตุ) ผักกาดขาว มีฤทธิ์เย็น (บำรุงหยิน ขับระบาย ความร้อนของตับ)
อาหารสีแดง แทนธาตุไฟ (เกี่ยวข้องกับหัวใจ ลำไส้เล็ก และปลายลิ้น) มีสรรพคุณ เข้าสู่เส้นลมปราณหัวใจ (รวมถึงสมองในทัศนะแผนปัจจุบัน) เช่น เชอร์รี่ (樱桃) ฤทธิ์ร้อนจะมีการกระตุ้นบำรุงหัวใจสมอง แตงโม มะเขือเทศ ฤทธิ์เย็น จะมีฤทธิ์ยับยั้งความร้อนของหัวใจ การเครียดร้อน หงุดหงิด ลดความดันโลหิตสูง
อาหารสีเหลือง แทนธาตุดิน (เกี่ยวข้องกับม้าม กระเพาะอาหาร ช่องปาก กล้ามเนื้อ) มีสรรพคุณเข้าสู่เส้นลมปราณ ม้าม กระเพาะอาหาร ช่วยทำให้อารมณ์เบิกบาน ผ่อนคลาย กระตุ้นการย่อยและดูดซึมอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงไม่ฝ่อลีบ (ในทัศนะแพทย์แผนปัจจุบัน สีเหลืองมักอุดมด้วยวิตามินซี มีสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเสื่อม ชะลอความแก่) ตัวอย่าง เช่น ส้มจีน ส้มเช้ง ฟักทอง ข้าวโพด ดอกเบญจมาศ กล้วยหอม แครอต
ทั้งนี้สีเหลืองมีช่วงความถี่ใกล้กับสีแสดและแดง จึงมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจ หลอดเลือด และสมองได้ ช่วยในเรื่องการป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด และทำให้สมองสดชื่น
– ฟักทอง มีฤทธิ์ร้อน จะมีการกระตุ้น บำรุงกระเพาะอาหารและม้าม
– กล้วยหอม มีฤทธิ์เย็น ขับร้อน ช่วยระบาย ลดความดัน ต้านมะเร็ง
อาหารสีขาว แทนธาตุทอง (เกี่ยวข้อง กับปอด ลำไส้ใหญ่ จมูก ผิวหนั ง) สรรพคุณ ต้านการอักเสบ แก้ภูมิแพ้ บำรุงปอด (ทำให้ปอดไม่แห้ง) ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น อาหารสีขาว เช่น หอมหัวใหญ่ กระเทียม มีฤทธิ์ร้อน ต้านการอักเสบ แก้ภูมิแพ้ ขับความเย็น รังนก เห็ดหูหนู ขาว สาลี่ มีฤทธิ์เย็น บำรุงปอด ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น
อาหารสีดำ แทนธาตุน้ำ (ไต กระเพาะปัสสาวะ หู กระดูก) สรรพคุณ เป็นการนำยาเข้าสู่อวัยวะไต กระเพาะปัสสาวะ เสริมสร้างกระดูกและระบบสืบพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ถั่วดำ งาดำ องุ่นดำ บลูเบอร์รี่ เห็ดหูหนูดำ
– งาดำ มีฤทธิ์กลาง ๆ ไม่ร้อนไม่เย็น บำรุงตับไต ชะลอความแก่
– เห็ดหูหนูดำ มีฤทธิ์ค่อนเย็น ช่วยลด ความดันโลหิต ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว
ข้อควรระวัง สีของอาหารเป็นตัวบ่งชี้ว่าอาหาร ชนิดนั้นเข้าสู่อวัยวะใดเป็นสำคัญ ส่วนสรรพคุณของอาหารขึ้นกับฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น ซึ่งจะมีความหมายว่าเป็นการกระตุ้น (บำรุง) หรือลดการทำงานของอวัยวะนั้น เพื่อสู่การปรับสมดุลในแต่ละปัจเจก บางครั้งอาหาร ผลไม้ชนิดหนึ่งอาจมีหลายสีหรือขึ้นกับว่า ระยะที่เป็นผลดิบหรือผลสุก รสของอาหาร เช่น เปรี้ยว หวาน เผ็ด ขม เค็ม ก็ล้วนแต่มีผลต่อสรรพคุณการออกฤทธิ์ของอาหาร ทำให้ผลต่ออวัยวะร่างกายต่าง ๆ กัน จึงไม่อาจจะใช้เพียงสีของอาหารมากำหนด สรรพคุณและฤทธิ์ของอาหารและผลไม้เพียงอย่างเดียว
เมนูสุขภาพ สำหรับฤดูฝน
ฤดูร้อนเวลาอากาศร้อนจัดมักมีฝนตก ฤดูฝนจึงมักตามหลังปลายฤดูร้อน ฤดูฝนมักมีความร้อนและชื้นร่วมกัน เวลาอากาศภายนอกชื้น เนื่องจากความชื้นกระทบการทำงานของกระเพาะอาหารและม้าม (เกี่ยวข้องระบบย่อย ดูดซึมอาหาร กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย) ร่างกาย มักจะอ่อนล้า ไม่กระฉับกระเฉง ง่วงนอน เบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง ตัวหนัก บางครั้ง มีท้องเสียถ่ายเหลว อาหารบำรุงสุขภาพช่วงฤดูนี้ จึงต้องพิจารณาสรรพคุณขับความร้อนและขับความชื้นร่วมกับการบำรุงม้ามที่เหมาะสม
- อาหารขับความชื้นบำรุงม้าม ได้แก่ ถั่วแบน (扁 豆) ฝูหลิง(茯苓)ถั่วแดงเล็ก (赤小豆) ลูกเดือย (薏苡仁) เมล็ดบัว(莲子)
- อาหารขับความชื้นขับความร้อน ได้แก่ ฟักเขียว ถั่วงอก (绿豆芽)การใช้เครื่องปรุง ควรมีขิงสดเป็นส่วนประกอบเพื่ออุ่นกระเพาะอาหาร กระตุ้นการทำงานระบบย่อยอาหาร
กดดูสูตรลับปรับสมดุลร่างกาย ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วแบนต้ม หน้าต่อไป
ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วแบนต้ม
โดย แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล อุปนายกและเลขาธิการสมาคมแพทย์แผนจีน ประเทศไทย
ส่วนผสม (สำหรับ 1 ที่) เตรียม 10 นาที ปรุง 30 นาที
ลูกเดือย 30 กรัม
ถั่วแดง 30 กรัม
ถั่วแบน 30 กรัม
น้ำเปล่า 5-6 ถ้วย
น้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย
วิธีทำ แช่ถั่วแดงและถั่วแบนค้างคืน แล้วนำไปต้มพร้อมลูกเดือยให้เดือด เคี่ยวไฟอ่อนจนสุกเปื่อยตามชอบ ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายแดง
พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 383.60 กิโลแคลอรี
โปรตีน 18.05 กรัม
ไขมัน 2.09 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 73.12 กรัม
ไฟเบอร์16.68 กรัม