ผัดเปรี้ยวหวาน

ผัดเปรี้ยวหวาน เสาวรส กุ้งสด แค่ชื่อก็สดชื่นแล้ว

ผัดเปรี้ยวหวาน ธรรมดา เติมเสาวรสเพิ่มความหอมเฉพาะตัว และใส่กุ้งสดตัวโต ๆ ให้เต็มจาน บอกเลยเอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม!! มาดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยค่ะ

ผัดเปรี้ยวหวาน เสาวรส กุ้งสด

ส่วนผสม (สำหรับ 3 – 4 ที่)
เตรียม 10 นาที ปรุง 10 นาที
กุ้งแชบ๊วย 300 กรัม
มะละกอดิบ หั่นชิ้นลวก 1 ถ้วย
สับปะรด หั่นเต๋า 1 ถ้วย
มะเขือเทศ หั่นชิ้นพอคำ 1 ลูก
พริกหวาน หั่นเต๋าเล็ก 1/2 ถ้วย
หอมหัวใหญ่ หั่นเต๋าเล็ก 1 หัว
น้ำเสาวรส 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป 1/4 ถ้วย
แป้งมันละลายน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันสำหรับผัด

วิธีทำ

  1. ล้างกุ้ง แกะเปลือกผ่าหลัง เตรียมไว้
  2. นำกระทะใสน่ ้ำมันตั้งไฟ พอรอ้ นใสสั่บปะรด มะละกอ มะเขือเทศ พริกหวาน และหอมหัวใหญ่ ผัดพอสุก ตามด้วยกุ้ง ผัดให้เข้ากัน
  3. ปรุงรสด้วยน้ำเสาวรส น้ำตาล ซอสปรุงรส น้ำมะนาว และน้ำปลา เติมน้ำซุป ผัดให้เข้ากัน พอเดือด ใส่แป้งมันละลายน้ำพอข้น ตักใส่จานเสิร์ฟ

เรื่อง : ครัว H & C ภาพ : จิรวัฒน์ มหาทรัพย์ถาวร สไตล์ : อชิรญา เกตุหนู เขียนลงเว็บ เนื้อทอง ทรงสละบุญ

นิตยสาร HEALTH & CUISINE ปีที่ 10 ฉบับที่ 111 (เม.ย. 53) หน้า 80-95 (ปี 2553)

มะเฟือง Star fruit

recipe image

ผลไม้ไทยหารับประทานได้ง่าย มีขายตามตลาดใกล้บ้านหรือซุปเปอร์มาเก็ต เป็นผลไม้รสเปรี้ยวอมหวาน คนไทยนิยมบริโภคมาแต่โบราณ มีทั้งสรรพคุณทางยา และประโยชน์มากมาย ทั้ง ผล ราก ต้น แต่เมื่อมีคุณก็ต้องมีโทษเช่นกัน เพราะในมะเฟืองมีสารออกซาลิก ที่ส่งผลต่อผู้ป่วยทางไต จะมีผลกระทบและมีวิธีการป้องกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ…

ข้อควรระวังในการรับประทาน

เมื่อมีคุณก็ต้องมีโทษเช่นกัน ดังนั้นก็ควรรับประทานแต่พอเหมาะ ถึงจะเกิดประโยชน์กับร่างกาย…

อันตรายต่อผู้ป่วยโรคไต!

มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง โดยในภาวะปกติ สารซาเลตในอาหารสามารถดูดซึมและขับออกทางไต แต่หากการทำงานของไตผิดปกติ สารออกซาเลตอาจรวมตัวกับแคลเซียมภายในไต กลายเป็นผลึกนิ่วออกซาเลต ผลึกนิ่วจำนวนมากอาจตกตะกอนอุดตันในเนื้อไตและท่อไต จนนำมาสู่ภาวะไตวายได้!

สำหรับผู้ที่ไตทำงานเป็นปกติ สามารถกินมะเฟืองในปริมาณที่พอเหมาะได้โดยไม่ต้องเป็นกังวล แต่หากมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคไต ไม่ควรกินอย่างเด็ดขาด เพราะกินมะเฟืองเพียงครึ่งผลหรือดื่มน้ำมะเฟืองเพียงเล็กน้อย อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน จิตใจสับสน ชัก ไตวาย กระทั่งเกิดอันตรายถึงชีวิต หากพบอาการดังกล่าวภายใน 1 – 5 ชั่วโมงหลังกินมะเฟือง ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาและฟอกไตอย่างทันท่วงที

ประโยชน์ของมะเฟือง

ลดระดับคอเลสเตอรอล

หากร่างกายมีการสะสมไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะอ้วนหรือเสี่ยงเผชิญปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมาได้ มะเฟืองมีเส้นใยอาหารสูงและมีสารประกอบอื่น ๆ ที่เชื่อว่าอาจช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้ โดยมีการนำสารสกัดจากมะเฟืองมาทดลองหาคุณสมบัติด้านการลดระดับคอเลสเตอรอลในสัตว์ทดลองและในเซลล์ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ พบว่าสารสกัดจากมะเฟืองช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลและไขมันพอกตับลงได้ แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการทดลองในสัตว์และในห้องทดลองเท่านั้น จึงไม่อาจสรุปประสิทธิผลของมะเฟืองต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลในมนุษย์ได้ และควรมีการค้นคว้าวิจัยให้ชัดเจนต่อไปในอนาคต

อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

สารอนุมูลอิสระมีหน้าที่สำคัญต่อกระบวนการทำงานภายในเซลล์ แต่หากสารนี้มีความเข้มข้นสูง อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและสร้างความเสียหายต่อเซลล์ส่วนต่าง ๆ เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพตลอดจนเสี่ยงเผชิญโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ด้วย

มะเฟืองเป็นแหล่งของสารอาหารมีประโยชน์ เช่น เควอซิทิน (Quercetin) อีพิคาเทชิน (Epicatechin) และกรดแกลลิก (Gallic Acid) ที่มีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยป้องกันโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ได้ และยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น กรดแกลลิกช่วยกระตุ้นกระบวนการเจริญเติบโต และสารเควอซิทินช่วยลดการอักเสบของต่อมลูกหมาก เป็นต้น

ต้านการอักเสบ

กระบวนการอักเสบเป็นขั้นตอนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการเจ็บป่วยต่าง ๆ มะเฟืองมีสารประกอบมากมายที่คาดว่าอาจมีสรรพคุณต้านการอักเสบได้ โดยการค้นคว้าหนึ่งได้นำสารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) จากมะเฟืองไปสกัดจนเป็นสารประกอบน้ำตาล แล้วนำไปฉีดกับหนูทดลองแล้วพบว่าสารดังกล่าวช่วยลดกระบวนการอักเสบได้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาความเจ็บปวดจากการอักเสบของผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ได้ด้วย

ป้องกันมะเร็งตับได้ดี

สาเหตุนั้นมาจากเซลล์บริเวณตับนั้นเกิดความผิดปกติ และที่มักพบได้มากนั่นคือชนิด… มะเร็งเซลล์ตับ (Hepatocellular Carcinoma: HCC) ซึ่งมีเฟืองมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งชนิดนี้ได้ดี โดยมีงานวิจัยจากการทดลองใช้กับสัตว์ พบว่ามะเฟืองสามารถต้านเซลล์มะเร็งตับได้ ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวอาจนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ในอนาคต แต่ควรมีการศึกษาค้นคว้าถึงประสิทธิภาพของมะเฟืองอย่างละเอียดรอบคอบก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรมีการทดลองด้านประสิทธิผลและความปลอดภัยของมะเฟืองในการใช้กับมนุษย์

โดยประโยชน์ของมะเฟืองในผลมะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัม

จะอุดมไปด้วย คาร์โบไฮเดรตถึง 6.7 กรัม โปรตีน 1 กรัม ธาตุโพแทสเซียม 133 mg. วิตามินซี 35 mg. ธาตุฟอสฟอรัส 12 mg.  วิตามินบี 5 วิตามินบี 9 (หรือกรดโฟลิก) ธาตุสังกะสีและไขมัน

บทความ – Toomtam

#ACuisine #เอควิซีน #cherrykitcook

อยากกิน อยากฟิน อยากทำ อย่าลืมติดตาม A Cuisine (เอควิซีน)

📌Website : https://goodlifeupdate.com/category/healthy-food

📌Messenger : http://m.me/AcuisineTH

📌Instagram : www.instagram.com/acuisine.th/

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

เมนูอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.