พ่อแม่

บอก ไม่ต้องแบก บทความธรรมะที่ พ่อแม่ ควรอ่าน โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

บอก ไม่ต้องแบก บทความธรรมะที่ พ่อแม่ ควรอ่าน โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

เมื่อเราทําดีก็น่าจะมีความสุข แต่เหตุใดหลายคนทําดีแล้วยังทุกข์ ดังเช่น พ่อแม่ เลี้ยงลูกด้วยความรักจึงทุ่มเทกําลังกายกําลังใจ กําลังทรัพย์ นอกจากนี้ยังเฝ้าอบรมสั่งสอนลูก แม้ต้องเหนื่อยยากลําบากกายและใจก็ไม่ท้อ หวังเพียงให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีมีความรู้เทียมหน้าเทียมตาคนอื่น
1
การกระทําของพ่อแม่เป็นความดีอันมีค่าซึ่งพ่อแม่ควรจะได้รับความสุข แต่พ่อแม่หลายคนกลับได้รับความทุกข์จากการทําความดีดังกล่าว เมื่อลูกไม่เชื่อฟังคําสอน ประพฤติตนเหลวไหล ไม่รับผิดชอบการเรียน เอาแต่เล่นเกม เกียจคร้านการงาน ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้าน ติดเพื่อน ติดอบายมุข เป็นต้น
2
กรณีเช่นนี้มีเหตุปัจจัยที่สําคัญอยู่ 2 ประการ
3
ประการแรกมาจากตัวพ่อแม่เอง ประการหลังมาจากตัวลูก
4
เหตุประการแรกที่มาจากพ่อแม่นั้น เพราะพ่อแม่ไม่เข้าใจวิธีเลี้ยงลูกจึงใช้ท่าทีและวิธีการที่ไม่เหมาะสมในการอบรมลูก วิธีการเลี้ยงและอบรมลูกที่เหมาะสมนั้นควรให้สอดคล้องกับวัยของเขา กล่าวคือ
5
วัยที่ลูกยังนอนแบเบาะพูดไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องเลี้ยงแบบไข่ในหิน เฝ้าถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูไม่ให้คลาดจากสายตา ดูแลกันชนิดริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอมเลยทีเดียว
6
เมื่อลูกเติบโตขึ้นมาอยู่ในวัยคืบคลานพอจะเรียนรู้สื่อข้อความกันได้ ต้องเลี้ยงแบบครูที่คอยดูแลอบรมบ่มเพาะให้ลูกได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในทางที่ถูกที่ควร เป็นต้นว่าปลูกฝังเรื่องการมีระเบียบวินัยเช่น กินเป็นเวลา นอนเป็นเวลา เล่นเป็นเวลา สอนให้รู้จักช่วยตนเอง เช่น เมื่อล้มก็ต้องหัดลุกขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่เข้าไปโอ๋ เข้าไปปลอบโยนอุ้มขึ้นมา สอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง เช่น เล่นของแล้วก็ต้องเก็บรักษาให้เป็นที่เป็นทางสอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อผู้อื่น เช่น ไม่แย่งของเพื่อน ไม่รังแกเพื่อน สอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่น ไม่ทําของสกปรก ช่วยงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าที่จะทําได้ มิใช่ไม่ให้ลูกทําอะไรเลย พ่อแม่ทําให้ทุกอย่างจนเคยตัว คอยแต่เรียกร้องให้คนอื่นทําให้
7
สอนให้เป็นคนรู้จักเหตุผล เช่น การร้องไห้โยเยไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา หากมีปัญหาหรืออยากได้อะไรก็ต้องบอกสอนให้มีศีล เช่น ไม่รังแกสัตว์ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่หยิบของคนอื่นมาโดยไม่บอกหรือขออนุญาตจากเจ้าของ ไม่พูดโกหก ไม่พูดคําหยาบ ไม่ใส่ร้ายผู้อื่น สอนให้รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนมีสัมมาคารวะ รู้จักเคารพผู้อื่น เช่น สอนให้รู้จักกราบไหว้ รู้จักกล่าวคําขอโทษ ขอบคุณ เป็นต้น
8
วัยนี้จะอยู่ช่วงอายุ 1 – 4 ขวบ เป็นวัยที่สําคัญมาก จะอบรมสิ่งที่ดีงามก็ต้องรีบปลูกฝังเสีย เพราะเด็กยังช่วยตัวเองไม่ได้ กําลังกระหายที่จะเรียนรู้ ถ้าปลูกฝังสั่งสอนสิ่งที่ดีงามก็จะเป็นพื้นฐานของจิต สร้างนิสัยดีงามติดตัวไป
9
เนื่องจากเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยไร้เดียงสากําลังน่ารักน่าเอ็นดู พ่อแม่จึงตามใจลูก ปล่อยให้ลูกแสดงออกตามธรรมชาติของเขาแม้จะซนเป็นลิงเป็นค่าง เป็นคนเอาแต่ใจตัวแสดงความก้าวร้าวไม่รู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อส่วนรวม พ่อแม่ก็ปล่อยให้ลูกแสดงออก ซ้ํายังหลงภูมิใจว่าลูกเป็นคนกล้าแสดงออก มีความเชื่อมั่นในตนเอง นี่เท่ากับพ่อแม่เลี้ยงลูกให้เป็นคนนิสัยไม่ดี ซึ่งจะติดตัวไปจนโตหรือจนตาย

0
ครั้นลูกโตขึ้น เริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง วัยนี้ช่วง 5 – 11 ขวบ ลูกก็อยากได้รับการยอมรับจากพ่อแม่และผู้อื่น อยากให้เห็นว่าเขาช่วยตัวเองได้ คิดเองได้ มิใช่เป็นลูกแหง่ที่พ่อแม่ต้องคอยประคบประหงมดูแลอย่างใกล้ชิดอีกต่อไป วัยนี้พ่อแม่ก็ควรจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นครูที่เอาแต่อบรมพร่ําสอน เพราะสอนมาก ๆ ลูกจะรู้สึกรําคาญ เกิดการโต้เถียงกันขึ้นบ่อยครั้ง และลูกจะรู้สึกว่าพ่อแม่คอยกํากับดูแลเขาใกล้ชิดตลอดเวลาราวกับว่าเขาเป็นคนอ่อนแอ ทําให้เขาขาดความภูมิใจในตัวเอง พ่อแม่จึงควรเปลี่ยนจากการสั่งสอนมาเป็นที่ปรึกษา ให้ข้อคิดเห็น ข้อแนะนํา เปิดโอกาสให้ลูกได้คิดได้ตัดสินใจ หากมีปัญหาใดก็นํามาปรึกษากัน หาทางออกร่วมกัน เป็นการฝึกลูกให้มีหลักคิด
01
เมื่อลูกโตสู่รุ่น 12 ปีขึ้นไป ลูกจะเริ่มติดเพื่อน เพราะเพื่อนสนใจเรื่องใกล้เคียงกันคุยกันรู้เรื่อง ไม่มาคอยแนะนําพร่ําสอนให้น่าเบื่อน่ารําคาญเหมือนพ่อแม่ วัยนี้พ่อแม่ควรจะเปลี่ยนบทบาทมาเป็นเพื่อน รับฟังความเห็นลูก ปรึกษาหารือกัน พากันไปเที่ยว ทํากิจกรรมร่วมกัน มีอะไรก็พูดคุยกันได้ สร้างความเข้าใจและความอบอุ่นแก่ลูก
02
หากพ่อแม่ใช้บทบาทดังกล่าวข้างต้นกับลูก การเลี้ยงดูของพ่อแม่ก็คงไม่กดดันลูก และถ้าลูกกับพ่อแม่อยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดอบอุ่นเสมือนเป็นเพื่อนกัน พฤติกรรมของลูกก็คงจะไม่กดดันพ่อแม่ให้ต้องทุกข์ใจ
03
เหตุประการที่ 2 มาจากตัวลูก พ่อแม่เลี้ยงดูลูกได้แต่กาย ส่วนใจหรือจิตนั้นไม่สามารถบังคับให้ได้ดังใจหมาย นิสัยใจคอของเขาส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานจิตในอดีตชาติ อีกส่วนมาจากการฝึกฝนอบรมในชาตินี้ นอกจากนี้เขาก็ยังมีกรรมในอดีตชาติส่งผลมาถึงชาตินี้ ทั้งที่เป็นกรรมดีอันจะส่งผลในทางที่ดี และกรรมชั่วอันจะส่งผลในทางที่เป็นโทษต่อเขา ยิ่งกว่านั้นเขาและพ่อแม่ก็ยังมีกรรมสัมพันธ์กันมาแต่อดีตชาติ หากสัมพันธ์กันมาดี ชาตินี้ก็จะมาเติมสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน อยู่กันอย่างมีความสุข แต่หากสัมพันธ์กันในทางที่ไม่ดี ชาตินี้ก็มาสร้างปัญหาให้แก่กันอยู่กันอย่างมีความทุกข์
04
อย่างไรก็ตาม พ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก การแนะนําสั่งสอนลูกเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ แต่จะไปสําคัญมั่นหมายว่าลูกจะต้องเชื่อฟังประพฤติตนเป็นคนดีอย่างที่พ่อแม่ต้องการนั้น เกินกว่าที่จะไปยึดถือให้เป็นเช่นนั้นได้ เพราะมีเหตุปัจจัยทั้งตัวพ่อแม่และตัวลูกดังกล่าวมาแล้ว
05
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ควรทําหน้าที่ บอก แต่สิ่งดี ๆ ให้ลูก แต่ไม่ต้อง แบก เอาชีวิตและความสําเร็จของลูกมาไว้ให้หนักใจ
06
เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านเป็นเพียงผู้ บอก ทาง การเดินทางไปถึงจุดหมายนั้น แต่ละคนจะต้องเดินด้วยตนเอง ท่านไม่ แบก ใครไปส่งถึงจุดหมายปลายทางนั้น ๆ
07
ด้วยเหตุนี้เมื่อเราอยู่ร่วมกันหรือสัมพันธ์กันไม่ว่าในสถานะของสามีกับภรรยา พี่กับน้อง ครูกับศิษย์ หัวหน้ากับลูกน้อง เพื่อนกับเพื่อน ฯลฯ ก็ใช้วิธีการเดียวกันคือมีหน้าที่  บอก แต่ไม่ต้อง แบก ใครให้หนักใจ
08
นั่นคือ ทําหน้าที่บอกกล่าวชี้แจงแนะนําเขาไปตามเหตุปัจจัยโดยไม่ยึดว่าจะต้องได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
09
เพราะหากยึดกับสิ่งใดก็จะทุกข์กับสิ่งนั้น ทั้งนี้เพราะสิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอํานาจที่ใครจะบังคับได้ดังใจหมาย
10
ที่มา : นิตยสารซีเคร็ต ฉบับที่ 194

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.