4 เหตุผลที่คน จำเป็นต้องโกหก
รู้ว่าการโกหกเป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องผิดศีล แต่บางครั้งมันก็ จำเป็นต้องโกหก เพื่อให้คนฟังสบายใจ
การโกหกเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาตราบเท่าที่มีการสื่อสารกัน แม้กระทั่งการสื่อสารข้อความผ่านอีเมลหรือการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์ ก็เป็นอีกช่องทางยอดฮิตในการโกหก
พอล เอ๊กแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งศึกษาเรื่องการโกหกมานานกว่าสี่สิบปี ลงความเห็นว่า “มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการโกหกได้ ดังนั้นการทำความเข้าใจเรื่องการโกหกจะเป็นผลดีต่อชีวิต”
ว่าแต่จะดีขึ้นแค่ไหน เราคงต้องมาพิจารณาดูประเภทของการโกหกก่อน
- โกหกสีขาว เป็นการโกหกด้วยเจตนาดี เพื่อถนอมความรู้สึกและรักษาน้ำใจ แทนที่จะบอกความจริงที่เชื่อว่าผู้ฟังคงรับไม่ได้ออกไป บางครั้งการโกหกในลักษณะนี้เป็นการพูดเพื่อให้กำลังใจอีกฝ่าย เรียกได้ว่า เป็นการโกหกเพื่อทำให้ผู้อื่นมีความสุขนั่นเอง
- โกหกเพื่อปกป้องตนเอง เป็นการโกหกเพื่อการเอาตัวรอด เช่น กลัวความผิด กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวเสียเกียรติ กลัวการเผชิญหน้า กลัวความผิดหวัง ฯลฯ การโกหกประเภทนี้ในบางครั้งอาจร้ายแรงถึงขั้นโยนความผิด ใส่ความผู้อื่น เป็นพยานเท็จ ฯลฯ
- โกหกเพื่อหวังผลประโยชน์ เป็นการโกหกเพื่อทำให้ตนเองได้รับการยอมรับ ความไว้วางใจ ได้โอกาสในการทำงาน มักเป็นในรูปของการปลอมแปลงข้อมูลทางคุณวุฒิ คุณสมบัติ ฐานะทางการเงิน ฯลฯ
- โกหกตนเอง มักเกิดกับคนที่สูญเสียความมั่นใจ สับสน และหวาดกลัวความจริง คนประเภทนี้มักสร้างเรื่อง “หลอกตนเอง” ให้คลายจากความทุกข์ชั่วขณะ เช่น หลอกว่าคนรักที่ทอดทิ้งไปยังมีใจให้อยู่เสมอ และสุดท้ายคนเหล่านี้มักโทษตนเอง อาจเลยไปถึงขั้นทำร้ายตนเองหรือตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าก็มี
แหล่งที่มา : นิตยสาร Secret คอลัมน์ FEATURE
บทความที่น่าสนใจ
พระอาจารย์ไขข้อข้องใจโกหก บาปแค่ไหน สงสัยจัง !?
โกหกบาปแค่ไหน สงสัยจัง !? พระอาจารย์มีคำตอบ
เหนือกว่าศีล 5 คือ กุศลกรรมบถ 10 โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ