“อย่าละเลยการอบรมเจริญสติ รู้เท่าทันกาย วาจา และใจ” สมเด็จพระสังฆราช ประทานคติธรรม วันวิสาขบูชา 2561
เนื่องในเทศกาล วันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2561 เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม มีความว่า…
ดิถีวิสาขบูชาเวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว นอกจากพุทธบริษัททุกหมู่เหล่า จักได้บูชาพระรัตนตรัยเป็นกรณีพิเศษ ยังเป็นวาระเฉลิมฉลองของชาวโลกตามที่องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของโลก นับเป็นที่น่าอนุโมทนาอย่างยิ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนให้เราทั้งหลายรู้เท่าทันจิตใจของตนเองอยู่ตลอดเวลา ความรู้เท่าทันดังกล่าวนี้ คือการรู้แจ้งสภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ว่า รูปธรรมหรือนามธรรมว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรา หากแต่เป็นสภาวะที่เกิดและดับ สลับกันไปมิรู้จบสิ้น ความไม่รู้เท่าทันสภาวะเช่นนี้เองที่อำพรางให้คนเราคิดผิด เปรียบเสมือนการใช้เวลาตลอดชีวิต เพื่อชมมายากลโดยมิรู้เท่าทันภาพอันดำเนินต่อเนื่องนั้นเป็นเพียงมายาที่ลวงตาทั้งสิ้น
ถ้าเมื่อใดบุคคลมีความรู้แจ้งในสภาพทุกข์ ความเปลี่ยนแปลง และความว่างจากตัวตน เขาย่อมสามารถละความโลภ ความโกรธ และความหลงที่ล้วนเกิดจากความเห็นแก่ตัวได้ อย่างไรก็ตาม การจะละความความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย หากขาดสภาวะธรรมะที่เรียกว่า “สติ” ความทุกข์ยากในโลกมนุษย์ที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากภาวะขาดสติด้วยกันทั้งสิ้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงประทานพระบรมพุทโธวาทไว้ว่า “สติ เป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก” เพราะฉะนั้นบุคคลใด ครอบครัวใด ชุมชนใด และสังคมใด ปรารถนาจะประสบสันติสุขอันไพบูลย์ บุคคลนั้น ครอบครัวนั้น ชุมชนนั้น และสังคมนั้น จำเป็นต้องสั่งสมภาวะแห่งการตื่นรู้ เพื่อจักได้รู้เท่าทันการคิด การพูด และการกระทำด้วย “สัมมาสติ” อันเป็นหนทางไปสู่ปัญญา นำมาซึ่งความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ได้อย่างแท้จริง
เนื่องในดิถีวิสาขบูชา ขอเชิญชวนท่านสาธุชนทั้งหลาย จงอย่าได้ละเลยการอบรมเจริญสติ ให้รู้เท่าทันกาย วาจา ใจของตน อันจักได้ชื่อว่า เป็นการกระทำหน้าที่ชาวพุทธ ได้ปฏิบัติบูชาตามที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ และเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนอยู่ดูโลกนี้สืบไป ตราบกาลนาน
ขอบคุณรูปภาพจาก mgronline.com
บทสวดมนต์เนื่องใน วันวิสาขบูชาการสวดมนต์เป็นเสมือนการนำพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้ามาทบทวน และทำให้จิตสงบเป็นกุศล เนื่องใน วันวิสาขบูชา เป็นวันทางพระะพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ความมหัศจรรย์ของวันวิสาขบูชาคือเป็นสามเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในวันเดียวกัน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ วันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ ซีเคร็ตนำบทสวดที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชาสองบทมาฝากเพื่อน ๆ ชาวซีเคร็ตทุกท่าน บทสวดวันวิสาขบูชา |
|
(หันทะ มะยัง วิสาขะปะณามะคาถาโย ภะณามะ เส) | |
วิสาขะ ปุณณะมายัง โย | ชาโต อันติมะชาติยา |
ปัตโต จะ อะภิสัมโพธิง | อะโถปิ ปะรินิพพุโต |
โลเก อะนุตตะโร สัตถา | ทะยาณาณัณณะวาสะโย |
นายะโก โมกขะมัคคัสมิ | ติวิธัตถูปะเทสะโก |
มะหาการุณิกัง พุทธัง | มะยันตัง สะระณัง คะตา |
อามิเสหิ จะ ปูเชนตา | ธัมเม จะ ปะฏิปัตติยา |
อิมันทานิ สุนักขัตตัง | อะภิมังคะละสัมมะตัง |
วิสาโขฬุกะยุตเตนะ | ปุณณะจันเทนะ ลักขิตัง |
สัมปัตตา อะนุกาเลนะ | พุทธานุสสะระณาระหัง |
ชาติ สัมโพธิ นิพพานะ | กาละภูตัง สะยัมภุโน |
ตัง สัมมานุสสะระมานา | สุจิรัง นิพพุตา มะปิ |
ปะสันนาการัง กะโรนตา | สักกาเร อะภิสัชชิยะ |
ทัณฑะทีเป ทีปะฆะเร | มาลาวิกะติอาทะโย |
ตัสเสวะ ปูชะนัตถายะ | ยะถาสะติ ยะถาพะลัง |
สะมาหะริตวา เอกัตถะ | ฐะปะยิมหา ยะถาระหัง |
นะรานัญจาปิ สัพเพสัง | สัมธัมเม สัมปะสีทะตัง |
ธัมมัสสะวะนัง กะริสสามะ | สัมพุทธะคุณะทีปะนัง |
พุทธัสสุโพธิตาทีนัง | ทีปะนัตถัง มะเหสิโนติฯ |
คำบูชาดอกไม้ธูปเทียนในวันวิสาขบูชา
ยะมัมหะ โข มะยัง ภะคะวันตัง สะระณัง คะตา , โย โน ภะคะวา สัตถา ,
ยัสสะ จะ มะยัง ภะคะวะโต ธัมมัง โรเจมะ , อะโหสิ โข โส ภะคะวา มัชฌิเมสุ
ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันโน , ขัตติโย ชาติยา โคตะโม โคตเตนะ ,
สัก๎ยะปุตโต สัก๎ยะกุลา ปัพพะชิโต สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะ-
พ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิ อะภิสัมพุทโธ ,
นิสสังสะยัง โข โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต
โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา ,
ส๎วากขาโต โข ปะนะ เตนะ ภะคะวะตา ธัมโม , สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก , ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ,
สุปะฏิปันโน โข ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ , ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สามีจิปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะ สังโฆ , อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ ,
อะยัง โข ปะนะ ถูโป (ปะฏิมา) ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ กะโต (กะตา) ยาวะเทวะ
ทัสสะเนนะ ตัง ภะคะวันตัง อะนุสสะริต๎วา ปะสาทะ สังเวคะปะฏิ ลาภายะ , มะยัง โข
เอตะระหิ อิมัง วิสาขะปุณณะมี กาลัง ตัสสะ ภะคะวะโต ชาติสัมโพธินิพพานะกาละสัมมะตัง
ปัต๎วา อิมัง ฐานัง สัมปัตตา , อิเม ทัณฑะทีปะธูปาทิ สักกาเร คะเหต๎วา อัตตะโน กายัง
สักการุปะธานัง กะริต๎วา ตัสสะ ภะคะวะโต ยะถาภุจเจ คุเณ อะนุสสะรันตา , อิมัง ถูปัง
(ปะฏิมัง) ติกขัตตุง ปะทักขิณัง กะริสสามะ อิมัง ยะถา คะหิเตหิ สักกาเรหิ ปูชัง กุรุมานา ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ ญาตัพเพหิ คุเณหิ อะตีตารัมมะณะตายะ
ปัญญายะมาโน , อิเม อัมเหหิ คะหิเต สักกาเร ปะฏิคคัณหาตุ อัม๎หากัง ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ ฯ
คำแปล
เราทั้งหลายถึงซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดว่าเป็นที่พึ่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นศาสดาของเราทั้งหลาย และเราทั้งหลายชอบซึ่งธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล ได้อุบัติขึ้นแล้วในหมู่มนุษย์ ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท, พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติ เป็นโคดม (เหล่ากอแห่งพระอาทิตย์) โดยพระโคตร, เป็นบุตรแห่งศากยะ เสด็จออกบรรพชาแล้วแต่ศากยสกุล เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมเทวดาและมนุษย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีความเจริญจำแนกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ โดยไม่ต้องสงสัยแล
อนึ่ง พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้อย่างไม่จำกัดกาลเวลา ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน และพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วแล เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัวเป็นธรรมที่รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, เป็นผู้ปฏิบัติสมควรแล้ว นี้คือคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ 4 บุรุษนั่นแหละคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า พระปฏิมามานี้แล นักปราชญ์ได้อุทิศเฉพาะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สร้างไว้แล้วเพียงเพื่อเป็นเครื่องให้ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นด้วยการเห็นแล้ว ได้ความเลื่อมใส และความระลึกถึง
บัดนี้เราทั้งหลายถึงวันวิสาขบูชา อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า เป็นวันที่ประสูติ วันตรัสรู้ แลวันปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ถือเครื่องสักการะมีธูปเทียนเป็นต้นเหล่านี้ ทำกายของตนให้เป็นดังภาชนะรองรับเครื่องสักการะ ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตามความเป็นจริง บูชาด้วยเครื่องสักการะตามที่ได้ถือไว้แล้ว จักทำประทักษิณซึ่งพระปฏิมากรนี้สิ้นวาระ 3 รอบ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานมาแล้ว ยังทรงปรากฏอยู่ด้วยพระคุณสมบัติอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะพึงรู้โดยความเป็นอตีตารมณ์ จงทรงรับซึ่งเครื่องสักการะอันข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถือไว้แล้วนี้ เพื่อประโยชน์และุเพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ
บทความน่าสนใจ
รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชาจากสังเวชนียสถาน
ชาวพุทธควรรู้ หตุใด วันวิสาขบูชา จึงมีคำเรียกสากลว่า Vesak Day