งานบุญเข้าพรรษา ตักบาตรบนหลังช้างที่จังหวัดสุรินทร์ งานประเพณีบุญแปลกหนึ่งเดียวในประเทศไทย
งานบุญเข้าพรรษา สุดยิ่งใหญ่ ตักบาตรบนหลังช้าง ประเพณีบุญถิ่นอีสาน จังหวัดสุรินทร์ ถิ่นแดนช้าง เพื่อดำรงพระศาสนา งานบุญที่สุดอลังการเชิดชูพระพุทธศาสนา
0
นอกจาก “ช้าง” จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว ช้างยังเป็นสัตว์ที่มีความสําคัญเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาอีกด้วย ทั้งในแง่การเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีบุญญาธิการ (ปรากฏหลักฐานในศิลปะอินเดียโบราณ เช่น ภาพสลักพระนางสิริมหามายาทรงสุบิน ช่างได้ใช้รูปลูกช้างเป็นสัญลักษณ์แทนการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นสิริมงคล และเป็นสัตว์ที่ค้ําจุนจักรวาล เชิดชูพระพุทธศาสนา (ช้างปาลิไลยกะ)
0
0
ด้วยเหตุนี้เอง จังหวัดสุรินทร์ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ถิ่นช้างใหญ่” เพราะมีช้างอยู่เป็นจํานวนมาก จึงริเริ่มนําช้างมาร่วมประเพณีการตักบาตรเข้าพรรษา โดยใช้ชื่อว่า มหกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาและตักบาตรบนหลังช้าง จังหวัดสุรินทร์
0
เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเย็นด้วยขบวนแห่เทียนเข้าพรรษาที่ตกแต่งอย่างงดงามจากคุ้มวัดต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัด จากนั้นในช่วงเช้าจึงเป็นการตักบาตรบนหลังช้าง ประเพณีหนึ่งเดียวในโลกที่ทุกคนรอคอย
0
พุทธศาสนิกชนต่างจับจองพื้นที่ทั้งบนถนนและบนอัฒจันทร์ที่จัดไว้สองฟากถนน เพื่อเตรียมใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้งแก่ภิกษุ – สามเณร ทั้งนี้มีการแบ่งสายบิณฑบาตออกเป็นสองสายในระดับภาคพื้นดินโดยการเดินและการนั่งมาบนหลังช้าง เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทุกคนได้ทําบุญกันอย่างทั่วถึง
0
0
พอถึงเวลาพระสงฆ์จึงเริ่มออกเดินมาสู่ลานพิธี ตามด้วยริ้วขบวนช้างถึง 84 เชือก ซึ่งแต่ละเชือกมีการประดับประดาตกแต่งอย่างงดงาม แม้ก่อนเดินทางมาร่วมงานนี้ หลายคนกังวลว่าช้างจะตื่นตกใจกับคนจํานวนมากจนอาจเกิดอันตราย เกรงว่าจะเอื้อมมือใส่บาตรไม่ถึง
0
แต่สุดท้ายแล้วทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี ผู้คนที่ไปร่วมงานเต็มไปด้วยความอิ่มบุญและประทับใจ ช้างแต่ละเชือกงามสง่า ขณะเดียวกันก็ดูน่ารักและอ่อนโยน สมแล้วที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้เชิดชูพระพุทธศาสนา”
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ฉบับที่ 101
ผู้เขียน/แต่ง : วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์
ภาพ : วรวุฒิ วิชาธร
0ธ
บทความน่าสนใจ