ทำร้ายตัวเอง

อย่าให้ ” ลมปาก ” ทำร้ายตัวเอง บทความเตือนสติจาก พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ) 

อย่าให้ ” ลมปาก ” ทำร้ายตัวเอง บทความเตือนสติจาก พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)

คนจะรักหรือทะเลาะกันอยู่ที่คำพูดหรือลมปาก จุดสำคัญของคำพูด คือหางเสียง 80 เปอร์เซ็นต์ของคนจะรักหรือจะชังกันอยู่ที่หางเสียง แม้ตอนต้นจะพูดดีเพียงใด แต่ถ้าหางเสียงไม่ปลอดภัย ก็อันตราย อย่าให้มัน ทำร้ายตัวเอง

หางเสียงจึงสำคัญมากสำหรับการพูดคุย เวลาจะคุยกับใคร ขอให้ระมัดระวังคำพูด สุดท้ายของแต่ละประโยค ลงให้นุ่ม ๆ ลงให้อ่อนโยน

คนไทยเราชอบความอ่อนโยน ถ้าพูดจาดี ก็มีภาษีในการเจรจาต่อรองมิตรภาพก็จะเกิดขึ้นง่าย ในทางตรงกันข้ามแม้เราจะมีเหตุผล ข้อมูลดีเพียงใด ถ้าพูดจาไม่ดี พูดไม่มีหางเสียง มิตรภาพก็ไม่เกิด และจะทำให้เสียผลประโยชน์หลายอย่าง

 

ในการวินิจฉัยคน ท่านบอกว่าปากเป็นเอก เลขเป็นโท หมายความว่าคำพูดนี่แหละคือประตูที่จะทำให้เราก้าวไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลว จะเห็นได้ว่าบางคนไม่ได้เล่าเรียนวิชาความรู้อะไรมากมายแต่เพราะเจรจาพาทีเก่ง ฉลาดในการพูดอะไรควรไม่ควรพูดเวลาไหน พูดเข้าใจง่ายและฟังคนอื่นพูดแล้วเข้าใจเร็ว เรียกว่ามีจิตวิทยาในการพูดและการฟัง เสน่ห์ของคนนั้นจะเกิดขึ้นทันที

บางคนพูดจาสนุกสนาน เป็นที่ถูกใจของคน ในขณะที่บางคนพูดไม่เก่ง บุคลิกของคนก็ต่างกันออกไป ฉะนั้น การพูดจึงเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ต้องศึกษาให้ดีหัดสังเกตนักเจรจา นักพูด สังเกตให้เห็นความแตกต่างของแต่ละคน แล้วเก็บเอาสิ่งดี ๆ มาใส่ตัว

บางคนพูดเป็นเงินเป็นทอง พูดแล้วคนฟังเชื่อถือและทำตาม คำพูดจะอธิบายความรู้และความคิด การอ่านหนังสือที่คน ๆ นั้นเขียนอาจแตกต่างจากการฟังเขาพูดโดยตรง

หากวันนี้ท่านผู้อ่านมีโอกาสจะพูดกับใคร จะต้องมั่นใจว่าเราเตรียมพร้อมคำพูดสำคัญคืออะไร สิ่งที่เราจะชื่นชมจุดเด่นของเขาอยู่ตรงไหน เรื่องสาระกับเรื่องไร้สาระแต่สนุกสนาน มีพร้อมแล้วหรือยังเมื่อเตรียมคำพูดพร้อม ลมปากก็หอมหวน

 


บทความน่าสนใจ

พูดแบบไหนให้ชีวิต เข้าใกล้ความสำเร็จ 4 เทคนิคดีๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

4 ประโยค ห้ามพูด กับคู่ชีวิตและคนใกล้ชิด ถ้าไม่อยากมีเรื่อง!

 “ เอาบุญมาฝาก  ”  วาจาเปล่งแห่งบุญ ทำไมต้องกล่าวแบบนี้ ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

“รักษากาย วาจา ใจ” เคล็ดลับการใช้ชีวิตของ หน่อง อรุโณชา ภาณุพันธุ์

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: การ ปิดวาจา ขณะปฏิบัติธรรม คืออะไร

กุมภโฆสก เศรษฐีผู้ประกอบด้วยธรรม

คำพูดแบบไหน เข้าข่าย มุสา – พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต มีคำตอบ

โกหกบาปแค่ไหน สงสัยจัง !? พระอาจารย์มีคำตอบ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.