ขันติกถา (แปล)
ขันติกถา คือบทสวดที่บรรยายอานิสงส์ของการมีขันติหรือความอดทนไว้ทั้งหมด 14 ประการ หากสวด เข้าใจ และนำมาปฏิบัติตามแล้ว ชีวิตก็จะมีแต่สิ่งดี ๆ เกิดขึ้น
โย ปะนะ ภิกขุ ภิกษุรูปใด
ธัมมานุธัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่
สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี เป็นผู้ปฏิบัติชอบ เป็นผู้ปฏิบัติตามธรรมเป็นปรกติ
โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่า ได้สักการะบูชาในพระตถาคตเจ้า
ปะระมายะ ปูชายะ ปะฏิปัตติปูชายะ ด้วยการปฏิบัติบูชา อันเป็นการบูชาอย่างสูงสุด
สีละสะมาธิคุณานัง ขันตี ปะธานการะณัง ความอดทนเป็นที่ตั้งแห่งศีลสมาธิ
สัพเพปิ กุสะลา ธัมมา ขันตะยาเยวะ วัฑฒันติเต กุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญเพราะความอดทนโดยแท้
เกวะลานังปิ ปาปานัง ขันตี มูลัง นิกันตะติ ความอดทนย่อมตัดเสียได้ ซึ่งรากเหง้าแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
คะระหะกะละหาทีนัง มูลัง ขะนะติ ขันติโก ผู้อดทนย่อมขุดเสียได้ซึ่งหายนะเหตุทั้งหลาย มีการติเตียนการทะเลาะกัน เป็นต้น
ขันตี ธีรัสสะ ลังกาโร ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
ขันตี ตะโป ตะปัสสิโน ความอดทนเป็นตบะของนักปฏิบัติ
ขันตี พะลัง วะ ยะตีนัง ความอดทนเป็นกำลังของผู้บำเพ็ญพรตทั้งหลาย
ขันตี หิตะ สุขาวะหา ความอดทนนำประโยชน์และความสุขมาให้
ขันติโก เมตตะวา ลาภี ยะสัสสี สุขะสีละวา ผู้อดทน ชื่อว่าเป็นผู้มีมิตร มีลาภ มียศ มีความสุข เป็นปรกติ
ปิโย เทวะมะนุสสานัง มะนาโป โหติ ขันติโก ผู้อดทน ชื่อว่าเป็นที่รักที่เจริญใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
อัตตะโนปิ ปะเรสัญจะ อัตถาวะโห วะ ขันติโก ผู้อดทน ชื่อว่าเป็นผู้นำประโยชน์มาให้ตนและชนเหล่าอื่นด้วย,
สัคคะโมกขะคะมัง มัคคัง อารุฬโห โหติ ขันติโก ผู้อดทน ชื่อว่า เป็นผู้เข้าสู่เส้นทางที่ไปสวรรค์และพระนิพพาน
สัตถุโน วะจะโนวาทัง กะโรติเยวะ ขันติโก ผู้อดทน ชื่อว่า เป็นผู้ทำตามโอวาทของพระศาสดานั่นเทียว,
ปะระมายะ จะ ปูชายะ ชินัง ปูเชติ ขันติโก ผู้อดทน ชื่อว่าได้บูชาพระชินเจ้า ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด
สุขา สังฆัสสะ สามัคคี, ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ย่อมนำความสุขมาให้,
สะมัคคานัง ตะโป สุโข, ความเพียรของผู้พร้อมเพรียงกัน ย่อมนำความสุขมาให้
สุโข วิเวโก ตุฏฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต ความสงัดของผู้ยินดีในธรรมที่เห็นปรากฎแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้,
อัพยาปัชฌัง สุขัง โลเก ปาณะ ภูเตสุ สัญญะโม ความไม่เบียดเบียน ความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุขในโลก,
สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกกะโม ความปราศจากกำหนัด ความก้าวล่วงกามทั้งหลายในโลกเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข,
อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง การนำอัสมิมานะออกหมดเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
กิจโฉ มะนุสสะปะฏิลาโภ การได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นของยาก,
กิจฉัง มัจจานะ ชีวิตัง การดำรงชีวิตอยู่อย่างสะดวกสบาย เป็นของยาก,
กิจฉัง สัทธัมมัสสะวะนัง การได้ฟังพระสัทธรรม เป็นสิ่งหาได้ยาก,
กิจโฉ พุทธานะมุปปาโท ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก,
อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย,
ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย,
อัปปะมัตตา นะ มิยยันติ ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่ายังไม่ตาย
เย ปะมัตตา ยะถา มะตา ผู้ประมาทแล้ว ชื่อว่าตายแล้ว,
เอตัง วิเสโส ญัตวา อัปปะมาทัมหิ ปัณฑิตา บัณฑิตทั้งหลาย ทราบความข้อนี้โดยทั่วกันแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในความไม่ประมาท,
อัปปะมาเท ปะโมทันติ อะริยานัง โคจะเร ระตา ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นที่ไปของพระอริยเจ้าทั้งหลาย.