วิศวะฯ มธ. เตรียมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทย

วิศวะฯ มธ. เตรียมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทย พร้อมแนะ 5 ทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็ก Gen Z ด้วยส่วนผสมที่ลงตัวกับโลกอนาคต

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE เตรียมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทย บุกตลาด Gen Z เน้นเปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพ ชูจุดเด่นไลฟ์สไตล์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี พร้อมเปิดไอเดียการพัฒนาเด็ก Gen Z ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่อยากเรียนด้านวิศวกรรมยุคใหม่ ด้วย 5 ทักษะสำหรับผู้เรียนด้านวิศวกรรม อาทิ

1.)  เชี่ยวชาญการเขียน Coding  2.) มีวินัยต่อการเรียนและการทำงาน 3.) การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ รับฟังผู้อื่น 4.) ฝึกทักษะอื่น ๆ อาทิ อีสปอร์ต (E-Sports) เพื่อฝึกทักษะการวางแผนและการทำงานเป็นทีม 5.) มีความซื่อสัตย์ที่ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือ ตั้งเป้าปลดล็อกความเชื่อของนายจ้าง เกี่ยวกับปัญหาช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) มุ่งโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่และส่งเสริมให้องค์กรเติบด้วยแนวคิดแบบร่วมสมัย เป็นพื้นที่ของคนทุกวัย

ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทยของ TSE กำลังจะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่เว็บไซต์  www.engr.tu.ac.th และ Facebook Fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT     

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering) หรือ TSE กล่าวว่า TSE เตรียมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทย ต้อนรับ #Dek66 กับโฉมใหม่ด้านการเรียนวิศวกรรม โดย TSE มุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงศักยภาพ และชูไลฟ์สไตล์ที่เป็นจุดเด่นของ Gen Z ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นปฐมบทการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านการเรียนของเด็ก Gen Z เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และความท้าทายของโครงสร้างประชากรโลกที่มีเด็กเกิดใหม่น้อยลง ที่ส่งผลให้เกิดภาวะการณ์ขาดแคลนวัยทำงานในอนาคต

วัตถุประสงค์ของไอเดียการปรับโฉมด้านการเรียนวิศวกรรม เกิดจากสถานการณ์เด็กเกิดใหม่ลดลงและการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงบริบทการจ้างงานที่เปลี่ยนไปโครงสร้างประชากรดังกล่าว ซึ่ง TSE มองว่าปัจจุบันนายจ้าง สถานประกอบการ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างให้ความสำคัญกับการเรียนรู้แบบมิติที่กว้างขึ้น จากเดิมที่เน้นการเรียนรู้เชิงลึกที่ทำให้มีความเชี่ยวชาญเพียงสาขาเดียว ซึ่งเมื่อโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านไปยังยุคใหม่ ที่เป็นยุคแห่งความสร้างสรรค์ และประยุกต์ทักษะเพื่อสร้างชิ้นงานด้านนวัตกรรม โดย TSE มีคำแนะนำเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นของเด็ก Gen Z เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่มีความพร้อมในทุกมิติของโลกยุคใหม่

ซึ่งประกอบด้วยทักษะ 5 ด้าน ดังนี้

  1. เชี่ยวชาญด้าน Coding ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการเข้าใจเทคโนโลยีและการควบคุมต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
  2. มีวินัยต่อการเรียนและการทำงาน ทั้งในด้านการจัดการเวลา การจัดลำดับความสำคัญ
  3. สื่อสารอย่างสร้างสรรค์และเพิ่มการรับฟังผู้อื่น เพราะการสื่อสารและการนำเสนอถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน และการรับฟังผู้อื่นมากขึ้น จะช่วยให้เข้าใจเพื่อนร่วมงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานด้วย
  4. ฝึกทักษะอื่น ๆ กระตุ้นการเรียนรู้ใหม่อยู่เสมอ อาทิ อีสปอร์ต (E-Sports) ที่มีความสร้างสรรค์ เพื่อฝึกทักษะการวางแผน การทำงานเป็นทีม และอยู่ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ไม่เกินวันละ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ในวันหยุด
  5. มีความซื่อสัตย์ ต่อหน้าที่การงานและต่อสังคม ช่วยทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่

ทั้งนี้ TSE เชื่อมั่นว่าทักษะทั้ง 5 ด้าน จะกลายเป็นทักษะของเด็ก Gen Z ที่ต้องมีติดตัว โดยเฉพาะผู้ที่เรียนด้านวิศวกรรม ซึ่งที่ผ่านมา TSE ให้ความสำคัญกับกลุ่มทักษะ Soft Skill ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเปิดรับองค์ความรู้ที่หลากหลาย และยังสอดคล้องกับความต้องการของอนาคต ที่เน้นการผสมผสานและการบูรณาการทักษะ อาทิ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (EEC) ที่เน้นด้านการเติบโตทางอุตสาหกรรมยานยนต์และนวัตกรรมของประเทศ ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน S-Curve ที่ต้องอาศัยระบบบริหารจัดการอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ระบบหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robotics) และระบบอัตโนมัติ (Automation) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ระบบอัตโนมัติ (Automation) กลุ่มเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และ ไอโอที (IoT) ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์นวัตกรรมของยุคใหม่

อีกทั้งทักษะดังกล่าวจะช่วยปลดล็อกความเชื่อของนายจ้าง เกี่ยวกับปัญหาช่องว่างระหว่างวัย (Generation Gap) ที่มักเกิดขึ้นในการทำงานที่มีคนหลากหลายวัย ซึ่งมีวิธีคิดและความเชื่อที่แตกต่างกัน และส่วนโดยใหญ่มักแก้ปัญหานี้ด้วยการหลีกเลี่ยงการหาสรรหาคนทำงานที่มีความต่างของช่วงวัยมากจนไป ซึ่ง TSE เชื่อว่า หากน้อง Gen Z ใส่ใจที่จะพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้านและให้ความสำคัญกับ Soft Skill มากขึ้น รวมถึงนายจ้างและสถานประกอบการต่าง ๆ ควรเปิดโอกาสให้ผู้คนในทุก Generation และใช้วิธีค้นหาจุดเด่นของแต่ละ Gen มาใช้เพื่อเรียนรู้และส่งต่อองค์ความรู้ให้กับคนในองค์กร ซึ่งจะทำให้การว่างงานในภาพรวมเกิดความสมดุลของช่วงวัยอย่างเหมาะสม และช่วยให้องค์กรเติบได้ด้วยแนวคิดแบบร่วมสมัยอีกด้วย

“Soft Skill เป็นหนึ่งในทักษะที่ TSE ให้ความสำคัญในทุกคลาสของนักศึกษา และบัณฑิตที่จบการศึกษาจาก TSE คือผลลัพธ์ของความพยายามในการต่อแนวคิดที่เป็นมากกว่าวิศวกร และนับจากนี้ TSE มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างพลิกโฉมประวัติศาสตร์หน้าใหม่ด้านการศึกษาวิศวกรรมของไทย เพื่อต้อนรับ Dek66 ที่จะเริ่มเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่ง TSE เตรียมจัดกิจกรรมเปิดตัวและเผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อสาธารณะ เร็ว ๆ นี้ ซึ่ง TSE มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะส่งผลต่อการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ให้มีโอกาสและทางเลือกที่ตอบโจทย์อนาคตได้อย่างแน่นอน อยากให้ทุกคนคอยติดตาม” รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร กล่าวเสริมในตอนท้าย

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเปิดตัวปฐมบทยุคใหม่ของการเรียนวิศวกรรมแห่งแรกในไทยของ TSE กำลังจะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่เว็บไซต์  www.engr.tu.ac.th และ Facebook Fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT     

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.