เมื่อเผชิญเหตุ ‘เพลิงไหม้’ ต้องรู้!
10 วิธีเอาตัวรอดรับมือ-อพยพให้ปลอดภัย
หลังจากเกิดเหตุการณ์ ‘ เพลิงไหม้ ‘ เมาน์เทน บี (Mountain B) สถานบันเทิงที่ตั้งอยู่บนอำเภอสัตหีบ ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยที่ผู้ประสบเหตุนั้นไม่ทันได้ตั้งตัว และเหตุการณ์นี้ถือเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงเป็นครั้งแรกของอำเภอสัตหีบและเป็นเหตุการณ์สะเทือนใจของใครหลายคน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ตระหนักรู้ว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดเมื่อเกิดเหตุไม่ใช่เปลวเพลิงที่ลุกโชน займ безработным онлайн без отказа แต่เป็นความตื่นตระหนกโกลาหนวุ่นวาย และเป็น “ควันไฟ” ที่ทำให้คนส่วนใหญ่สำลักจนหายใจไม่ออกจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นมาฉับพลันแบบนี้เราควรรับมือกับสถาณการณ์ยังไงบ้างเพื่อพาตัวเองออกมาจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย
เมื่อเกิดเหตุการณ์ “เพลิงไหม้” ฉับพลันขึ้นมา สิ่งแรกที่คนเราจะทำคือ ช่วยเหลือตัวเองให้รอดปลอดภัยและออกจากสถานที่เสี่ยงภัยให้เร็วที่สุด ซึ่งบางคนก็อาจยังไม่รู้วิธีการที่ถูกต้องจนเผลอทำตามสัญชาตญาณไปแบบผิดๆ ทำให้เกิดผลเสียต่อตัวเอง ดังนั้นวันนี้ Goodlife จึงนำวิธีรับมือและอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้อย่างปลอดภัยกันมาบอกทุกคนกันค่ะ
1. ตั้งสติให้ดีก่อนเป็นอันดับแรก
พยายามอย่าตื่นตระหนก และประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้นว่าเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงแค่ไหน และอยู่ใกล้ตัวมากแค่ไหน ในสถานการณ์ตอนนั้นต้องทำอย่างไรเป็นอันดับแรก แนะนำว่าก่อนเข้าไปในสถานที่ไหนก็ตามควรมองหาและจำทางออกเสมอว่าอยู่ตรงบริเวณไหนบ้าง เพื่อลดความแพนิคเมื่อหาทางออกไม่เจอ
2.รับมือตามระดับความรุนแรง
กรณีเกิดเพลิงไหม้เล็กน้อยให้ดับเพลิงด้วยตนเองเบื้องต้นโดยใช้อุปกรณ์ใกล้ตัวหรือถังดับเพลิงฉีดบริเวณที่มีเพลิงไหม้ แล้วจึงค่อยโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาควบคุมเพลิงในบางส่วนที่อาจหลงเหลืออยู่ แต่หากเป็นกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ระดับรุนแรง และกินพื้นที่เป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ในบ้านเรือน ในชุมชน หรือในสำนักงาน หลังจากกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้แล้ว ให้เตรียมพร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เบอร์ 199 ทันที
3.ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก
ขั้นตอนนี้เป็นการเริ่มอพยพออกจากพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากและจมูก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ พร้อมหมอบคลานต่ำไปตามเส้นทางที่ปลอดภัยสู่บันไดหนีไฟหรือแล้วอพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้อย่างปลอดภัยที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต หมอบคลานเพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกายที่อาจจะทำให้หมดสติและเสียชีวิต
4.กรณีไฟลุกลามติดเสื้อผ้า
หากมีสะเก็ดไฟมาติดตามตัวห้ามวิ่งเด็ดขาด เพราะการวิ่งผ่านลมจะทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ให้รีบถอดเสื้อผ้าออกหรือใช้วิธีนอนราบไปกับพื้นและกลิ้งตัวไปมาเพื่อให้ไฟดับ
5.ห้ามใช้ลิฟต์ในการหนีไฟเด็ดขาด
เนื่องจากไฟฟ้าอาจดับได้ ทำให้เราติดอยู่ในลิฟต์ เสี่ยงขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตได้ แต่ให้ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย และไม่ควรใช้บันไดภายในอาคารเป็นเส้นทางอพยพหนีไฟ เพราะบันไดมีลักษณะเป็นปล่อง ทำให้ควันไฟและเปลวเพลิงลอยขึ้นมาปกคลุม จึงเสี่ยงต่อการสำลักควันไฟและถูกไฟคลอกเสียชีวิต
6.ห้ามอพยพหนีไฟขึ้นไปชั้นดาดฟ้าอาคารหรือจุดอับของอาคาร
เนื่องจากไฟจะลุกลามจากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบนทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย และไม่ควรอพยพไปบริเวณจุดอับของอาคารอย่างเช่น ห้องใต้ดิน เพราะจะทำให้การช่วยเหลือเป็นไปได้ยาก
7.ห้ามอพยพเข้าไปอยู่ในห้องน้ำ
คนส่วนใหญ่มักคิดว่าควรรีบหาน้ำเพื่อมาดับไฟ แต่ความเป็นจริงไฟสามารถลุกลามเร็วกว่าที่เราคิดมาก ดังนั้นปริมาณน้ำจึงไม่เพียงพอต่อการดับไฟแน่นอน และอาจทำให้เราเสียเวลาในการวิ่งไป จนขาดอากาศหายใจหรือถูกไฟคลอกจนเสียชีวิตได้
8.อย่าเปิดประตูทันที
หากเกิดไฟไหม้ข้างนอกและติดอยู่ในห้อง ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อนให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย แต่หากสัมผัสผนังหรือลูกบิด พบว่า มีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะจะตกอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง วิธีการเอาตัวรอด คือ ให้ใช้ผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอยเข้ามาได้ ปิดพัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟ พร้อมโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งที่ติดอยู่ และส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด
9.กรณีติดอยู่ในอาคารที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
ใช้โทรศัพท์แจ้งเหตุ พร้อมระบุตำแหน่งที่ติด หรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือให้ผู้อื่นทราบ เช่น เป่านกหวีด ใช้ไฟฉาย หรือโบกผ้า เป็นต้น กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้รุนแรงและไม่มีอุปกรณ์ดับเพลิงให้ตะโกนบอกผู้คนในท้องที่หรือกดสัญญาณแจ้งให้ผู้อื่นทราบพร้อมรีบอพยพออกจากที่เกิดเหตุทันที จากนั้นรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาควบคุมเพลิง
10.กรณีมีคนติดภายในอาคารให้แจ้งเจ้าหน้าที่
ควรแจ้งตำแหน่งที่เห็นผู้ประสบเหตุให้ชัดเจนเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้โดยเร็วที่สุด
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) , bangkokbiznews
อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม
https://cheewajit.com/uncategorized/243188.html