“สังคมแบ่งปัน” สิ่งดีๆ ที่แฝงมากับ “ วัฒนธรรมจักรยาน ”
ม.ธรรมศาสตร์วางหมากหนึ่งในองค์ประกอบเดินสู่เป้าหมาย “สมาร์ทซิตี้”
หากเอ่ยถึงประโยชน์ของการใช้ “จักรยาน” คำตอบทั่วๆ ไป น่าจะเป็น เรื่องสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ เรื่องของการออกกำลังกาย ช่วยดูแลสุขภาพ เป็นต้น แต่สำหรับการใช้จักรยานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องราวในเชิงสร้างสรรค์สังคมแอบแฝงอยู่อีกด้วย นอกเหนือจากจากนำพามหาวิทยาลัยแห่งนี้ไปสู่เป้าหมายการเป็น “สมาร์ท ซิตี้” หรือ “สมาร์ท ยูนิเวอร์ซิตี้” ด้วยการสร้าง วัฒนธรรมจักรยาน ขึ้นมา
“ยรรยง อัครจินดานนท์” ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา สำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล่าว่า จักรยานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสร้างสมาร์ทซิตี้ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนกว่า
เรื่องอื่นๆ เพราะจับต้องได้ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้มาก จึงมีความพยายามทำให้กระแสการใช้จักรยานเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย มีการสร้างเลนจักรยานจำนวนมาก มีบริการเช่ารถจักรยาน และสนับสนุนให้นักศึกษาซื้อจักรยานแบบ
ไม่คิดดอกเบี้ย แถมเรียนจบนำมาขายคืนได้ โดยพยายามทำให้จักรยานเป็นทางเลือกในการเดินทางที่ดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด และที่สำคัญการบริหารจัดการมีปัญหามากมาย ทำให้ยังไม่สามารถก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายได้ ซึ่งการพยายามนำจักรยานมาเป็นทางเลือกในการเดินทาง เพราะมีความเชื่อว่าจักรยานเป็นเรื่องของวัฒนธรรมของคนที่เจริญแล้ว คือ เป็นการเดินทางที่สมาร์ท ได้ออกกำลังกาย จอดง่าย ไม่สร้างมลภาวะ จึงมีการคิดโมเดลคาร์ฟรีในมหาวิทยาลัย จัดโซนให้รถยนต์วิ่งได้เฉพาะพื้นที่ เพิ่มเลนสำหรับจักรยานมากขึ้นให้เหมือนในประเทศเนเธอร์แลนด์
การเริ่มต้นของวัฒนธรรมจักรยานในมหาวิทยาธรรมศาสตร์มีมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่เมื่อครั้งอาจารย์ปริญญา
เทวานฤมิตรกุล ดูแลฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา แต่ตอนนั้นตัวเลือกที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการบริหารจัดการไม่มี ติดขัดหลายเรื่อง แต่ปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์อย่างโอโฟ่ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการจักรยานสาธารณะแบบไร้สถานี หรือ dockless bike sharing จากประเทศจีน โดยให้บริการเช่าจักรยานผ่านแอปพลิเคชั่นมือถือรายแรกและรายใหญ่ที่สุดของโลกเข้ามาให้บริการ ถือเป็นตัวช่วยที่มาปลุกกระแสให้ก้าวหน้าได้เร็วมาก สะท้อนจากอัตราการใช้จักรยานของนักศึกษามีสูงขึ้น
“จักรยานเป็นความเชื่ออย่างหนึ่ง หากเราทำได้จะเป็นต้นแบบของเอเชีย ธรรมศาสตร์เริ่มวัฒนธรรมจักรยานมา 3-4 ปี เดิมเปิดให้เช่า แต่พบว่าค่าซ่อมอย่างเดียวกับไม่ไหวแล้ว เรื่องระบบจัดการก็ไม่ง่าย แต่จากระบบของโอโฟ่ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นบริษัทระดับเวิลด์คลาสด้วย จะทำให้ไม่เกิน 4 ปีจะเห็นผลที่ดีตาม
เป้าหมาย เรามองไปถึงการจัดระบบฟรีคาร์ มีการจัดโซนการใช้รถยนต์ทำให้กลายเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยในเมืองไทย”
นอกเหนือจากการเดินสู่เป้าหมายสมาร์ท ซิตี้ ได้ง่ายขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ได้จากการนำจักรยานเข้ามาใช้คือ เรื่องของการปลูกจิตสำนึกเรื่องของการแบ่งปัน การมีจิตสาธารณะ รวมถึงการมีระเบียบวินัย ยอมรับในกฎกติกา เช่น ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยทำเลนจักรยานไว้ ขณะที่คนใช้จักรยานน้อยก็ถูกยึดไปเป็นของมอเตอร์ไซค์และคนเดิน ตอนนี้มีจักรยานมาปั่นมากขึ้นเข้าไปยึดครองพื้นที่กลับมาแล้ว ช่วงแรกก็มีคนต่อต้านเหมือนกันว่าไปแย่งทางเดิน แต่เมื่อเป็นเลนจักรยานจึงถือเป็นความชอบธรรมของผู้ปั่นมากกว่า กลายเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดพลังขึ้นมาได้
“ตอนนี้เราพยายามสร้างเรื่องวัฒนธรรมเข้าไปด้วย ซึ่งผมคิดว่าคงเจอกันทั้งโลก บางคนใช้แล้วจอดทิ้งขว้าง ซึ่งเราพยายามโปรโมทการใช้จักรยานว่า ไบค์กี้ anywhere, anytime, anyone ใครอยากใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ กลายเป็นตีความสนุกๆ ไปว่าจะเอาไปไหนก็ได้ แต่ตอนนี้ใครนำออกไปข้างนอก จอดผิดที่เกะกะ ก็เจอถ่ายรูปประจาน
ฟ้องว่าไม่มีอารยธรรม เป็นการควบคุมในสังคมไปอีกแบบ ทำให้สังคมเข้าใจว่าการแบ่งปันกับสาธารณะเป็นอย่างไร เราจะพยายามสร้างคนกลุ่มนี้ให้มากขึ้น เพื่อช่วยกันดูแล”
อาจารย์ยรรยง บอกว่า ตอนนี้ผู้ดูแลฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาทำหนังสือออกมาเลยว่าใครเอาจักรยานไปนอกมหาวิทยาลัยถือเป็นการทำผิด และในคลาสเรียนของนักศึกษาปีหนึ่งก็จะมีหนึ่งชั่วโมงเรียนที่สอนเรื่องการใช้จักรยานแบบแบ่งปัน เรื่องการแบ่งปันในสังคม หรือ แชร์ริ่งโซไซตี้ เป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามสร้างให้สังคมแห่งการแบ่งปัน ทำให้นักศึกษาเข้าใจว่าต้องแบ่งปันอย่างไร บอกให้รู้ว่าการแบ่งปันแบบไหนถูกต้อง อันนี้คือ เรื่องวัฒนธรรม
ดังนั้น การสนับสนุนให้โอโฟ่เข้ามาในมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องเชิงบวกชัดเจน โดยมีคนหันมาใช้จักรยานมากขึ้น สร้างการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้กับนักศึกษา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาว่าต้องค่อยๆ เรียนรู้กันไป เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อาจพูดได้ว่าไม่ใช่แค่เรื่องการใช้จักรยาน แต่เป็นการปลูกจิตสำนึกในการรับผิดชอบทรัพย์สิน
ส่วนรวมด้วย เพื่อสร้างคนออกไปดูแลสังคมในอนาคต ซึ่งในยุโรปมีเรื่องไบค์แชร์ริ่งมานานแล้ว ในบ้านเราก็อยากทำ แต่เมื่อคิดถึงปัญหาเยอะแยะก็ไม่เกิด ตอนนี้มีแรงสนับสนุนเกิดขึ้นทำให้เดินหน้าได้ ซึ่งมหาวิทยาลัยก็มีแผนขยาย
เส้นทางจักรยานเพิ่มเติมเพื่อรองรับ