น้ำหมากเม่าสกลนคร เครื่องดื่มสุขภาพสมญานาม ทองคำสีดำแห่งเทือกเขาภูพาน

ex6a4069

น้ำหมากเม่าสกลนคร เป็นน้ำผลไม้ที่ทำจากผลหมากเม่า ซึ่งเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน บริเวณเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร ต้นหมากเม่าเป็นไม้ยืนต้นที่มีมานานกว่า 2,000 ปี คนสมัยโบราณมักนิยมกินสด หรือนำมาคั้นน้ำ ดื่มเพื่อใช้เป็นยาแก้ร้อนใน หรือถอนพิษไข้ จากการวิจัยพบว่าน้ำหมากเม่ามีสรรพคุณมากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารทั้ง วิตามินบี 1 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม เหล็ก และยังมีกรดอะมิโนอีก 28ชนิด สารแอนโทไซยานินที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเส้นเลือด และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์

นอกจากนี้ยังมีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสและไข้หวัด น้ำหมากเม่าจึงเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย โดยควรดื่มครั้งละ 30 – 50 ซีซี ก่อนรับประทานอาหารเช้า เย็น และก่อนนอน แล้วดื่มน้ำตาม น้ำหมากเม่าสกลนคร ยังเป็นผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมียมที่ได้รับการรับรองจาก BEDO และยังได้รับตราคุ้มครองGI ที่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในเรื่องคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

untitled-session0114

คุณเกรียงไกร นาคสวัสดิ์  ประธานชมรมน้ำหมากเม่าสกลนคร
“หมากเม่าสกลนครถือว่าเป็นหมากเม่าที่มีคุณภาพดีที่สุด เนื่องจากสกลนครนั้นตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาภูพาน ที่มีดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ส่งผลให้หมากเม่าเจริญเติบโตได้มีคุณภาพ มีความหวาน เปรี้ยว ฝาด และกลิ่นหอมเฉพาะตัว ต่างจากหมากเม่าจากพื้นที่อื่น ปัจจุบันทางชมรมมีกลุ่มผลิตหมากเม่าทั้งหมด 15 กลุ่ม ซึ่งมี3 กลุ่มที่ได้คุณภาพ ผ่านมาตรฐานได้รับตรา GI และ BioEconomy Promotion Mark ทางชมรมฯ กำลังผลักดันให้ได้มาตรฐานเพิ่มอีก 8 กลุ่ม เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ และทำให้น้ำหมากเม่าสกลนครเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ส่วนกระบวนการผลิต ผลหมากเม่าที่เรานำมาใช้คั้นน้ำจะต้องเป็นผลสีดำเท่านั้น เพราะจะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เจือฝาด และเข้มข้นกว่า ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งหนึ่งต้องใช้การคัดสรรอย่างพิถีพิถัน โดยคั้นเป็นน้ำหมากเม่าแท้ 100% ไม่ผสมน้ำ ไม่ใส่น้ำตาล ไม่แต่งสีและกลิ่น อาจจะมีผลึกตกตะกอนเล็กน้อย เนื่องจากใช้ผลหมากเม่าสดที่มีความเข้มข้นสูง สามารถดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องแช่เย็น เพิ่มความสดชื่น แก้กระหายน้ำ และรู้สึกชุ่มคอ

untitled-session0041

Stephane Passeri, Project Coordinator logo-100x40 logoafd2010_hd-100x86
Promotion of Rural Development through Development of Geographical Indications at Regional Level in Asia (GCP/RAS/281/FRA)

“ผมได้รับทุนจาก FAO องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่ได้ร่วมมือกับทางฝรั่งเศสในการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งผลิตอยู่ในพื้นที่ภูมิศาสตร์ หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI (Geographical Indication) โดยแสดงถึงลักษณะเฉพาะของ “น้ำหมากเม่าสกลนคร” ที่มีคุณภาพและคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าชนิดเดียวกันแต่ผลิตในแหล่งภูมิศาสตร์อื่น ทางเราจะเข้าไปช่วยชุมชนพัฒนาตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การผลิต และการจัดจำหน่าย ช่วยส่งเสริมให้แต่ละชุมชนสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง

ตรา GI นี้จะเป็นตรารับรองที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่ผลิตสินค้าปลอมที่ใช้ชื่อเดียวกัน แต่ไม่มีตรารับรอง นอกจากนี้ตรา GI ยังสามารถช่วยส่งเสริมการขายในระดับสากลได้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้าทั้งคนไทยและต่างประเทศจดจำชื่อสินค้าว่ามาจากแหล่งใด โดยมักจะเอ่ยชื่อแหล่งผลิตได้แม่นยำ ทั้งยังสามารถต่อยอดไปในเชิงการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับชุมชนแบบยั่งยืนได้อีกด้วย”

untitled-session0145

คุณวรวิทย์ วิทยเกียรติ  ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน index
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจ จากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO
“BEDO จะเป็นฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งจะมอบตรา BioEconomy Promotion Mark ให้กับกลุ่มหรือองค์กรที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น โดยต้องผ่านคุณสมบัติ 3ประการ คือ 1. Local Content การใช้ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนเป็นวัตถุดิบ 2. Eco-Friendly Product การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3. Future of The Origin การปันรายได้บางส่วนไปอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรชีวภาพ

ตราส่งเสริมผลิตภัณฑ์จากฐานทรัพยากรชีวภาพ หรือ BioEconomy Promotion Mark นั้นจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ ทั้งการสร้างโอกาสทางการตลาด และภาพลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ อย่าง น้ำหมากเม่าสกลนคร ที่ได้รับตรา BioEconomy Promotion Mark ควบคู่ไปกับตรา GI ซึ่งสามารถการันตีคุณภาพว่าเป็นผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียม และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล”

 

ข้อมูลเพิ่มเติม ชมรมน้ำหมากเม่าสกลนคร
คุณเกรียงไกร นาคสวัสดิ์
โทร.08-9278-7930, Line ID 08-3407-8423
E-mail : phuphan.bev@hotmail.com

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.