โรคซึมเศร้า

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

ปัจจุบันข้อมูลจากการศึกษาทางการแพทย์ระบุชัดว่า ปัจจัยหลักของ โรคซึมเศร้า เกิดจาก การเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น นอกจากรับการรักษาด้วยยา จากจิตแพทย์แล้ว การปรับพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย และพักผ่อน จะช่วยให้มีผล การรักษาดีขึ้นด้วย

ชีวจิต มีโอกาสได้พูดคุยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อนำเสนอแนวทางในการ ฟื้นฟูสุขภาพกาย – ใจ ดังนี้

 

ซึมเศร้า – นอนไม่หลับ บำบัดได้ด้วยเทคนิคซีบีที

คุณหมอทานตะวันอธิบายว่า เทคนิคซีบีที สามารถนำไปใช้ใน การบำบัดอาการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยซึมเศร้า เช่นกัน

“ตามปกติเมื่อร่างกายของเราเข้าสู่สภาวะผ่อนคลายจะนอนหลับ ได้ตามธรรมชาติ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ เมื่อสอบถามและ ซักประวัติแล้วพบว่า มีหลายคนที่ตั้งใจเข้านอนและอยากนอน ให้หลับมากเกินไป ยิ่งบังคับตัวเองให้หลับก็ยิ่งเครียด ร่างกาย ก็ไม่ผ่อนคลาย แบบนี้ย่อมทำให้นอนไม่หลับแน่นอน”

คุณหมอทานตะวันแนะนำว่า ควรรู้เท่าทันความคิดลบของ ตนเองให้ได้ว่า สาเหตุที่นอนไม่หลับเพราะเกิดความกลัวและความเครียด จากนั้นให้มองหาทางแก้ปัญหาความเครียดที่เกิดขึ้น เช่น ไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาถึงปัญหาโรคนอนไม่หลับ

ทั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่เมื่อผู้ป่วยได้รับคำแนะนำและปรับพฤติกรรม ให้ถูกต้องแล้ว ร่างกายจะเกิดความผ่อนคลายมากขึ้น จนสามารถ หลับได้ตามปกติในที่สุด

“เทคนิคนี้ทำให้ผู้เข้ารับการทำจิตบำบัดทราบว่า ความคิด ที่เกิดขึ้นอาจไม่ตรงกับความจริง จากนั้นจะสามารถมองเห็นโอกาส และความเป็นไปได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น ทำให้หันไปใช้วิธีแก้ไขปัญหาได้ ถูกทาง เช่น หาวิธีผ่อนคลายความเครียด รวมถึงควรพึงพอใจ กับการนอนหลับ 5 – 6 ชั่วโมงตามความต้องการของร่างกายตนเอง ลดความกังวลว่าตนเองนอนหลับได้ไม่ครบตามเกณฑ์ 8 ชั่วโมง”

ในกรณีที่มีปัญหาการนอนหลับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ แพทย์จะทำการรักษาด้วยยาและมีปรับยาเป็นระยะ ๆ ควบคู่กับ การปรับพฤติกรรมด้านอื่นๆ เช่น เพิ่มการออกกำลังกาย เป็นต้น

เทคนิคซีบีที บำบัดโรคซึมเศร้า
เทคนิคซีบีที ช่วยบำบัดอาการนอนไม่หลับ ที่พบได้ในผู้ป่วยซึมเศร้า

KEY FACTOR ปัจจัยหลักก่อโรคซึมเศร้า

คุณหมอทานตะวันอธิบายถึงที่มา ของโรคเพื่อนำไปสู่กระบวนการรักษา ที่ถูกต้องว่า

“ข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบัน ชี้ชัดว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากสารเคมี ในสมอง ได้แก่ เซโรโทนิน (Sero-tonin) นอร์อะดรีนาลิน (Noradrenaline) และโดพามีน (Dopamine) เสียสมดุล

“ดังนั้น การบอกให้คนไข้ต้อง เข้มแข็งขึ้นสิ จึงไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา ที่ถูกต้อง เมื่อสารเคมีในสมองเสีย สมดุลไป หรือเป็นโรคนี้ปุ๊บ จะเหมือน กับโลกทั้งใบเปลี่ยนไป ทั้งๆ ที่ผ่านมา เขามีจิตใจเข้มแข็ง สดชื่น ก็เปลี่ยนเป็น ซึมเศร้า

“แต่ถ้าคนไข้เข้าสู่กระบวนการรักษา ที่ถูกต้อง เมื่อสารเคมีทั้ง 3 ประเภท กลับสู่สมดุลก็จะกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ ได้ โดยหลังจากได้รับยาปรับสารเคมี ในสมองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ คนไข้จะ เริ่มมีอาการดีขึ้น”

นอกจากนี้กรรมพันธุ์ก็มีความสัมพันธ์ กับการเป็นโรคได้เช่นกัน ในกรณีของ ผู้ที่มีอาการกลับเป็นซ้ำๆ ปัจจัยถัดมา คือ ลักษณะนิสัยบางประเภท เช่น มองโลกแง่ร้าย ทำให้มีวิธีจัดการกับ ปัญหาที่ไม่เหมาะสม หรือผู้ที่มีทักษะ ชีวิต (Life Skills) ไม่เข้มแข็งนั่นเอง

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.