ไลฟ์สไตล์ต้องเปลี่ยน พร้อมสู้ วัยทอง
หมอ (ร้อยเอก นายแพทย์สุรชา ลีลายุทธการ) ต้องเกริ่นก่อนว่า ผู้หญิงจะเข้าสู่ วัยทอง หลังจากที่มีประจำเดือนปีแรกไปแล้ว 30 ปี เช่นถ้ามี ประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุ 14 – 16 ปี การตกไข่ ก็ จะหยุดที่ ช่ วงอายุ ประมาณ 45 – 50 ปี ดังนั้นร่างกายของผู้หญิงจึงขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเป็นส่วนใหญ่เลย สังเกตได้จากอวัยวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง เส้นผม หรือรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ทั้งหมดล้วนมีผลมาจากฮอร์โมน
ฮอร์โมนหลักๆ ที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยทองคือ เอสโทรเจนกับโพรเจส- เทอโรน โดยเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผิวชุ่มชื้น อารมณ์แจ่มใส ร่าเริง ส่วนโพรเจสเทอโรนคือฮอร์โมนความสงบ ถ้าฮอร์โมนชนิดนี้ลดระดับลงมากๆ ก็จะทำให้เกิดความไม่สงบ ฟุ้งซ่าน ซึ่งฮอร์โมนสองชนิดนี้มีการขึ้นลงสวนทางกันตลอดในรอบเดือนหนึ่งๆ เป็นเหมือน หยิน – หยาง
เมื่ออายุมากขึ้นฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ก็จะลดลง โดยลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปี ประมาณปีละ ร้อยละ 1.5 เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงๆ ฮอร์โมนเอสโทรเจนจะลดลงไปเหลือเพียงร้อยละ 50 ส่วน โพรเจสเทอโรนจะตกฮวบเกือบเป็น 0 เลย ดังนั้นเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ผิวเริ่มย่น ไม่ชุ่มชื้น ผมร่วง เพราะระดับเอสโทรเจนน้อยลง ส่วนระดับโพรเจสเทอโรนที่น้อย ดังที่กล่าวมาจะทำให้มีอาการวิตกจริตง่าย ขี้หงุดหงิด ขี้กังวล คิดไปไกลเกินเหตุ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของฮอร์โมน
ถ้าถามว่าอะไรเป็นปัจจัยให้ฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ลดลงได้ขนาดนี้เมื่อเข้าสู่วัยทอง ทำไมบางคน ถึงยังดูอ่อนกว่าวัย ในขณะที่บางคนดูแก่มาก หลักๆ แล้วก็มีปัจจัย 5 ข้อต่อไปนี้