พระโกกาลิกะ ผู้ไปสู่ขุมนรกเพราะอาฆาต พระอัครสาวก ของพระพุทธเจ้า
เหตุใดพระโกกาลิกะจึงอาฆาตพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ ผู้เป็น พระอัครสาวก ของพระพุทธเจ้า ด้วยการกล่าวหาพระอรหันต์ผู้ประเสริฐที่ทำให้พระเถระรูปนี้ต้องตกมหานรกอย่างไม่ทันตั้งตัว
เรื่องราวของพระภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อว่า “โกกาลิกะ” พระภิกษุรูปนี้กล่าวหาว่าพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเป็นผู้กล่าวลามก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตักเตือนไม่ให้พระโกกาลิกะกล่าวเช่นนั้นถึง 3 ครั้งด้วยกัน แต่ทันใดนั้นเองแผ่นดินได้แยกออก (ในอรรถกถา ธรรมบทใช้คำว่า “แผ่นดินได้ให้ช่องแล้ว” หมายถึงแผ่นดินได้แยกเป็นช่อง อาจตรงกับธรณีสูบ) พระโกกาลิกะจึงตกลงไปสู่มหานรกที่มีชื่อว่า “ปทุมนรก” ทันที
หลังจากนั้นบรรดาพระภิกษุที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์พระโกกาลิกะตกนรกพากันจับกลุ่มสนทนาถึงเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านมาจึงตรัสถามบรรดาพระภิกษุว่า “พวกเธอทั้งหลายจับกลุ่มสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน” พระภิกษุตอบพระองค์ว่า “กำลังสนทนาถึงเรื่องกรรมของพระโกกาลิกะพระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์จึงตรัสถึงอดีตชาติของพระโกกาลิกะว่า ครั้งพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเกิดเป็นหงส์ทองอาศัยอยู่บนภูเขามีชื่อว่า “จิตตกูฎ”
หงส์ทองสองตัวนี้มักไปหาอาหารที่สระน้ำแห่งหนึ่งในหิมวัตประเทศ (ป่าหิมพานต์) ซึ่งสระน้ำแห่งนั้นมีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่ หงส์ทั้งสองสนิทสนมกับเต่าตัวนี้มาตั้งแต่เด็กทำให้กลายเป็นเพื่อนกัน หงส์ทองทั้งสองอยากพาเต่าไปเที่ยวบ้านของตน จึงให้เต่าคาบกิ่งโดยหงส์ทั้งสองจะคาบกิ่งไม้คนละข้างแล้วบินพาเต่าไปยังเขาจิตตกูฎ
เด็ก ๆ เห็นเต่าคาบกิ่งไม้โดยมีหงส์สองตัวคาบไม้ตัวละข้างก็พยายามตามคนอื่นมาดู เจ้าเต่าไม่พอใจจึงกล่าวว่าเด็ก ๆ ว่า “เจ้าเด็กเวร ไม่เคยเห็นเต่ากันหรืออย่างไร” ปรากฏว่าขณะที่เต่าต่อว่าเด็ก ๆ อยู่นั้น ปากก็ปล่อยออกจากกิ่งไม้ ทำให้มันร่วงตกลงมาตายในที่สุด
เรื่องของพระโกกาลิกะทำให้เห็นว่านอกจากพระเทวทัต พระเจ้าสุปปพุทธะ นันทมานพ นางจิญจมาณวิกา และนันทยักษ์แล้ว ยังมีพระโกกาลิกะที่ทำกรรมหนักจนถูกธรณีสูบลงไปสู่มหานรก แต่ที่แตกต่างออกไปคือ กลับเป็นมหานรกที่มีชื่อว่า “ปทุมนรก” มิใช่อเวจีมหานรก
ที่มา :
อรรถกถา ธรรมบท เรื่อง พระโกกาลิกะ
พระโกกาลิกภิกษุอาฆาตพระอัครสาวก
ภาพ :
บทความน่าสนใจ
เหตุผลที่พระเทวทัตเกลียดพระพุทธเจ้าตั้งแต่แรกพบ
5 บุคคลบาปหนาจนหนักแผ่นดินในสมัยพุทธกาล
ธรรมเทพบุตร เทวดาผู้ยกย่องคุณแห่งความไม่โกรธ
เส้นทางสู่อรหัตตผลของพระอุบลวรรณาเถรี : สตรีผู้ทำบุญด้วยดอกบัวมาหลายชาติ