อ่านฉลากผลิตภัณฑ์, สารประกอบอาหาร, ฉลาก, สารให้ความหวาน, สารปรุงแต่งกลิ่น, น้ำเชื่อมฟรักโทส, ไขมันทรานส์, สารกันบูด

5 สารอันตราย อ่านจากฉลากอาหาร

ฉลาก จำเป็นมาก อย่าละเลยการอ่าน

อาหารการกิน คือ 1ใน 5 ปัญจกิจ หรือหลักปฏิบัติซึ่งที่เป็นรากฐานสำคัญของชีวิต อันได้แก่ กิน นอน พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำงาน ที่ชีวจิตให้ความสำคัญ วันนี้จึงขอชวนคุณมาสังเกต “ฉลาก” มองหาสารอันตราย ด้วยวิธีการจากนิตยสาร Eat This Not That! Magazine ซึ่งแนะนำให้คุณรู้จักสารประกอบ ที่หากกินมากไปอาจเป็นอันตรายได้

1. สารให้ความหวาน (Aspartame)

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ถูกใช้แทนในอาหารชนิดต่างๆ ไม่สามารถให้พลังงาน และมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 180 เท่า มักพบในขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่งและเครื่องดื่มประเภทโซดา

Did you know : จากรายงานของเอฟดีเอ (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกา หากกินสารให้ความหวานมากเกินไปจะทำให้ส่งผลต่อระบบประสาท เช่น อาการปวดหัว คลื่นไส้ ความจำลดลง กรณีรุนแรงอาจจะทำให้ชักได้ และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้

สารประกอบอาหาร, ฉลาก, สารให้ความหวาน, สารปรุงแต่งกลิ่น, น้ำเชื่อมฟรักโทส, ไขมันทรานส์, สารกันบูด

2. สารปรุงแต่งกลิ่น

สารเคมีที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเลียนแบบกลิ่น และรสธรรมชาติ ซึ่งสามารถพบได้มากมายในกระบวนการผลิตอาหาร เช่น ซีเรียล เครื่องดื่ม และขนมคุกกี้

Did you know : ถึงแม้ว่าเอฟดีเอ (FDA) จะมีการอนุมัติให้สามารถใส่สารปรุ่งแต่งกลิ่นได้ในอาหาร แต่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นสารเคมีชนิดใดเนื่องจากเป็นความลับของทางบริษัท และถูกปกปิดไว้ในฉลาก ทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้บริโภคจะสามารถประเมินผลจากการกินได้

3. น้ำเชื่อมฟรักโทส (High Fructose Corn Syrup : HFCS)

สารให้ความหวานจากการสังเคราะห์ข้าวโพด แม้มีให้เห็นอยู่บนฉลากโดยยังไม่มีคำเตือนใดๆในอาหาร เช่น ไอศครีม ซีเรียลบางชนิด ขนมปังบางประเภท โยเกิร์ต และ จำนวน 1 ใน 3 ของเครื่องดื่มบางประเภท

Did you know : งานวิจัยที่ตีพิมพ์โดยสมาคมต่อมไร้ท่อ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ใหญ่ที่บริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรักโทสในปริมาณสูง เพียงแค่ 2 สัปดาห์จะทำให้ระดับของไขมันเลว (LDLCholesterol)เพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

4. ไขมันทรานส์ (Trans Fat)

ไขมันแปรรูปที่เกิดจากการนำก๊าซไฮโดรเจนเติมลงในไขมันไม่อิ่มตัว เช่นการแปรสภาพน้ำมันพืชเป็นเนยเทียม (Margarine) เพื่อให้ไขมันนั้นแข็งตัว มีจุดหลอมเหลวสูงขึ้น ไม่เป็นไข มีอายุการเก็บรักษานานขึ้น และมีรสชาติพบมากในอาหารจำพวกเบเกอรี่ เค้ก ครีมเทียม และอาหารแช่แข็ง

Did you know : หลายงานวิจัยพบว่าการกินไขมันทรานส์จะทำให้ระดับของไขมันเลวเพิ่มสูงขึ้น (LDL Cholesterol) นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจมากกว่าไขมันอิ่มตัว

5. สารกันบูด (BHT and BHA)

สารเจือปนอาหารใช้ป้องกันการหืนของไขมันและน้ำมันจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (lipid oxidation) เพื่อเสริมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นพบใน น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ขนมอบ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น

Did you know : จากการศึกษาพบว่าสารกันบูด (BHT and BHA) ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลอง โดยที่กระทรวงสาธารณสุข ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดสารกันบูดประเภทนี้อยู่ในกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง

ฉลาดซื้อ ฉลาดกิน ด้วยการอ่านฉลากก่อนนะครับ                 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.