สมองเสื่อม

7 ปัจจัยใกล้ตัว ทำเสี่ยง สมองเสื่อม

มาลองเช็ก 7 ปัจจัยใกล้ตัว ที่ทำให้เสี่ยงโรค สมองเสื่อม กันเถอะ

มาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำร้ายสมองของเรา หากรู้แล้วก็อาจช่วยเตะเบรกชะลอการเกิด สมองเสื่อม ให้คุณได้

เภสัชกรหญิงอาสาฬาเปิดเผยว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สมองเสื่อมช้าหรือเร็วพบว่ามีอยู่หลายสาเหตุ มีทั้งปัจจัยภายในที่ควบคุมไม่ได้ เช่น เรื่องของอายุที่เพิ่มมากขึ้น มีสถิติว่าเพศหญิงเป็นอัลไซเมอร์มากกว่าเพศชาย รวมถึงยีนหรือพันธุกรรม

อย่างไรก็ตาม สมองเสื่อม ยังมีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ปัจจัยใกล้ตัว ทำเสี่ยง สมองเสื่อม

1. การอดนอน นอนน้อย หรือนอนหลับไม่ดี

เป็นเรื่องสำคัญที่ทำร้ายสมอง เพราะอย่างที่รู้กันโดยทั่วไปว่า สมองเป็นอวัยวะที่ทำงานตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย และในกระบวนการทำงานของสมอง เมื่อเกิดของเสียขึ้นจะถูกกำจัดออกทางน้ำไขสันหลัง ซึ่งจะทำงานได้ดีตอนที่ นอนหลับลึก เรียกว่าระบบ Glymphatic System ดังนั้นการนอนหลับดีจึงทำให้สมองสะอาด เพราะคราบโปรตีนพิษของเสียในสมองจะถูกชะออกไปทุกวัน ไม่ติดเป็นคราบเหยวในสมอง หลับดี…จึงทำให้สมองดี

2. โรคประจำตัวต้องคุมให้ดี อาจทำ สมองเสื่อม ได้ง่าย

โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับการไหลเวียนเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เพราะถ้าการไหลเวียนของเลือดมีปัญหา ออกซิเจนในกระเสเลือดจะไปเลี้ยงสมองไม่ดี รวมถึงโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง โรค อ้วน และโรคซึมเศร้า

3. ผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน

เนื่องจากสมองส่วนเกี่ยวกับความจำอยู่ตรง บริเวณทัดดอกไม้ ดังนั้นคนที่มีปัญหาการได้ยิน แย่ลงมีส่วนทำให้การทำงานของสมองแย่ลงได้

4. สารพิษ โลหะหนัก สารปรอท ตะกั่ว

ความเป็นพิษของสภาพแวดล้อมส่งผลต่อความเป็นพิษของเซลล์ในร่างกาย รวมถึงสมองด้วย

5. อาหารไม่ดีต่อสุขภาพ

จำพวกน้ำตาล อาหารปิ้งย่าง ทอด ทำให้เซลล์สมองเสื่อมง่าย

6. ยาบางชนิด

ยาก็ทำให้สมองเสื่อมได้ ถ้าใช้นาน ๆ เช่น ยา แก้แพ้ Hydroxyzine, Diphenhydramine ยานอนหลับ เช่น Diazepam ยาต้านซึมเศร้า และแก้ปวดแก้ชา เช่น Amitriptyline

7. โลฟ์สไตล์ทำร้ายสุขภาพ

เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และความ เครียดเรื้อรัง

5 อาหารช่วยสมอง ป้องกัน สมองเสื่อม

ป้องกันสมองเสื่อม เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่อาการสมองเสื่อมจะเป็นปัญหาใหญ่ของชีวิต เพราะไม่เพียงสร้างความทุกข์ให้กับผู้ป่วย แต่ผู้ที่ดูแลก็ทรมานไม่ต่างกัน ซึ่งการดูแลสมอง ก็มีวิธีที่หลากหลายค่ะ อย่างวันนี้ที่แอดจะแชร์ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ทำได้ง่าย ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีสรรพคุณช่วย ป้องกันสมองเสื่อม

ขมิ้น

ในเครื่องเทศของอินเดียเช่น ผงกะหรี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าเคอร์คูมิน  (Curcumin) มีผลในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ชาวอินเดียรับประทานสารนี้ในอาหารสม่ำเสมอ พบว่า อัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในคนอินเดียต่ำที่สุดในโลก

สารเคอร์คูมินช่วยชะลอการสะสมหรือขจัดคราบพลัคที่ทำให้เกิดโรคอัลไชมอร์ โดยการลดปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระจากโปรตีนอินเตอร์ลูคิน-1 เบต้าและไซโตไคน์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย

เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันอุดมไปด้วยวิตามินอีซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระที่ทำลายโครงสร้างสมอง เพียงกินเมล็ดทานตะวันวันละ 1/4  ถ้วย ก็จะให้วิตามินอีสูงถึง 90.5 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการวิตามินอีในแต่ละวัน

เมล็ดดอกทานตะวันยังเป็นแหล่งของแมกนีเซียมที่ดี มีสารอาหารที่ช่วยป้องกันไมเกรน มีหลักฐานการวิจัยพบว่า ระดับแมกนีเซียมมีผลต่อตัวรับและสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับไมเกรน แมกนีเชืยมจะทำงานตรงกันข้ามกับแคลเชียม เวลาที่ระดับแมกนีเซียมต่ำ แคลเซียมจะวิ่งไปที่เซลล์ประสาทและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทมากเกินไป ทำให้เซลล์ประสาทเกิดการหดตัวมากกว่าปกติ แต่หากระดับแมกนีเชียมเพียงพอ จะช่วยให้เซลล์ประสาทคลายตัวผ่อนคลาย เมล็ดทานตะวัน 1/4 ถ้วยให้แมกนีเซียมประมาณ  1/3 ของความต้องการประจำวัน เราอาจจะกินเมล็ดทานตะวันในรูปอาหารว่าง หรือผสมใส่สลัด โยเกิร์ต โรยไข่ตุ๋น พาสต้า

องุ่น

มีสารพฤกษเคมีสำคัญหลายชนิด เช่น เรสเวอราทรอล (Resveratrol) เควอร์ซิดิน (Quercetin) คาเทชิน และมีสารพฤกษเคมีอื่นๆ ซึ่งให้ผลในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แนนชี เบอร์แมน แห่งโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแคนซัส ได้เปรียบเทียบหนูที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีองุ่นและไม่มีองุ่น พบว่าอาหารที่มีองุ่นช่วยการทำงานของยืนที่ยับยั้งการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ลดการอักเสบและความเครียดจากอนุมูลอิสระในสมองได้ การอักเสบนี้เองที่ทำให้นักวิจัยเชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคที่ทำให้สมองเสื่อม

ผลการวิจัยของเบอร์แมนยังแสดงให้เห็นว่าอาหารที่เสริมองุ่นจะเพิ่มการทำงานของทรานส์ไทเรดิน(Transthyretin) ถึง 246 เท่า ทรานส์ไทเรติน คือตัวที่ต่อต้านแอมีลอยด์-เบต้าพลัค ช่วยลดการเกิดพลัคอันเป็นสาเหตุหนึ่งของอัลไซเมอร์

นักวิจัยยังพบว่า สารพฤกษเคมีในองุ่นช่วยยับยั้งการทำงานของยีนซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบที่ส่งผลให้แก่ก่อนวัยและเร่งการเกิดสมองเสื่อม เช่นโรคอัลไซเมอร์

บลูเบอร์รี่

บลูเบอร์รี่มีสารกลุ่มฟลาโวนอล (Flavonal) ชนิดแอนโทไซยานินและพลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดการอักเสบ สามารถช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่กลไกการทำงานของฟลาโวนอยด์ต่อสมองยังไม่ชัดเจน

การวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า สารดังกล่าวสามารถผ่านเขตแดนเลือดและสมองได้หลังจากที่บริโภคเข้าไปและจากการให้ดื่มน้ำบลูเบอร์รี่ทุกวัน วันละ 500 มิลลิลิตร ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าสารฟลาโวนอยด์จะส่งเสริมการทำงานของเชลล์ประสาทที่เชื่อมโยงกันให้สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และกระตุ้นการสร้างเชลล์ประสาท ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำดีขึ้น ทั้งยังลดอาการซึมเศร้า รวมถึงซะลอความเสื่อมของสมองได้อีกด้วย

ชาเขียว

มีข้อมูลการวิจัยว่า การดื่มชาเขียวสม่ำเสมอให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ป้องกันโรคตับ เพิ่มภูมิต้านทาน และยังให้ประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกและฟัน รวมถึงการทำงานของสมอง

ปัจจุบันมีการวิจัยชาเขียวมากขึ้น โดยเฉพาะชาเขียวสกัด พบว่ามีผลด้านการป้องกันความจำเสื่อมเช่น อัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน แต่กลไกการทำงานยังไม่สามารถอธิบายได้

ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 590

บทความอื่นที่น่าสนใจ

รวม ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ปีใหม่นี้ ต้องผอม+สตรอง!!

น้ำประปา ปลอดภัยจริงไหม

เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ติดตามชีวจิตได้ที่
https://www.instagram.com/cheewajitmedia/

https://www.facebook.com/CheewajitMagazine

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.